ตื่นเต้น .. พบอินทรีย์สารสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตบนดวงจันทร์เอนเซลาดัส ดาวบริวารดาวเสาร์ อีกทั้งยังเป็นครั้งแรกที่ตรวจพบโมเลกุลที่ซับซ้อนบนดาวเคราะห์อื่น ไม่ใช่โลกที่เต็มไปด้วยน้ำ
เมื่อ 30 มิ.ย. 61 สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐฯ (นาซา) เผยแพร่รายงานที่ได้ข้อมูลจากยานสำรวจอวกาศ แคสสินี ของนาซา ที่ถูกส่งไปสำรวจดาวเสาร์ และยานแคสซินีได้บินผ่านดวงจันทร์เอนเซลาดัส ก่อนยานแคสสินีจะทำลายตัวเอง เมื่อ ก.ย.60 เสร็จสิ้นภารกิจสำรวจดาวเสาร์ซึ่งกินเวลายาวนาน 20 ปี โดยข้อมูลที่ได้จากยานแคสสินี พบว่า ดวงจันทร์เอนเซลาดัส (Enceladus) บริวารดวงหนึ่งของดาวเสาร์ มีโมเลกุลอินทรีย์สารสำคัญทุกอย่างต่อสิ่งมีชีวิต
รายงานการค้นพบดังกล่าว ซึ่งถูกตีพิมพ์ลงในวารสาร Nature เปิดเผยว่า ดวงจันทร์เอนเซลาดัสได้ปล่อยละอองโมเลกุลอินทรีย์วัตถุออกมาจากบริเวณแกนของดวงจันทร์ โดยสารอินทรีย์ดังกล่าวประกอบด้วย คาร์บอน ไฮโดรเจน ออกซิเจน และอาจรวมถึงไนโตรเจน ที่มีความซับซ้อนยิ่งกว่ากรดอะมิโนหลายชนิด และหนักว่ามีเทนราว 10 เท่า
...
ในขณะที่เชื่อว่าใต้พื้นผิวดวงจันทร์เอนเซลาดัส เป็นมหาสมุทรทั้งหมด โดยมีแกนกลางที่ร้อนและเป็นรูพรุนซ่อนอยู่ใต้มหาสมุทรที่ลึกถึง 50 กิโลเมตร ซึ่งความร้อนที่แร่ธาตุบริเวณก้นมหาสมุทรได้รับอาจทำให้เกิดสารอินทรีย์ขึ้นได้
‘นี่เป็นครั้งแรกที่มีการตรวจพบโมเลกุลของอินทรีย์วัตถุที่ซับซ้อนครั้งแรก จากดาวเคราะห์อื่นที่ไม่ใช่โลกที่เต็มไปด้วยน้ำ’ แฟรงก์ โพสต์เบิร์ก แห่งมหาวิทยาลัยไฮเดลเบิร์ก ระบุในรายงาน.
อ่านข่าว