เงินที่คนไทยร่วมใจกันบริจาคคนละเล็กละน้อย เข้าสู่โครงการ “ก้าวคนละก้าว” นั้น สุดท้ายแล้วเงินก้อนนี้ก็กลับมาสู่ตัวเราเอง ด้วยการดูแลรักษาของแพทย์และพยาบาล แต่สิ่งที่สำคัญที่สุด ที่จะทำให้โครงการของพี่ตูนประสบผลสำเร็จอย่างแท้จริง นั่นคือ การที่ “คนไทย” ลุกขึ้นมาออกกำลังกาย เพื่อรักษาสุขภาพไม่ให้เจ็บป่วย

นี่แหละคือ เป้าหมายแท้จริงของโครงการนี้...

สำหรับรายงานพิเศษตอนที่ 2 ทีมข่าวเฉพาะกิจไทยรัฐออนไลน์ ได้ประสานงานไปยังโรงพยาบาลศูนย์ทั้ง 3 แห่ง ว่า มีความต้องการจัดซื้อเครื่องมือหรืออุปกรณ์การแพทย์อะไรบ้าง และเปิดใจผู้อำนวยการโรงพยาบาลถึงการพัฒนาศักยภาพในการรักษาผู้ป่วย จะมีอะไรบ้างนั้น ติดตามได้ตั้งแต่บรรทัดนี้ เป็นต้นไป...

- โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ -

ขอบคุณภาพจาก รพ.เชียงรายประชานุเคราะห์
ขอบคุณภาพจาก รพ.เชียงรายประชานุเคราะห์

...

นพ.ไชยเวช ธนไพศาล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ เรียงลำดับเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่โรงพยาบาลมีความต้องการมากที่สุด 5 อันดับ ได้แก่...

1. เตียง ICU จำนวนที่ต้องการ 16 หลัง ราคาต่อหน่วย 100,000 บาท 
2. เตียงผ่าตัดไฟฟ้า จำนวนที่ต้องการ 6 เตียง ราคาต่อหน่วย 1,760,000 บาท
3. โคมไฟผ่าตัด จำนวนที่ต้องการ 8 เครื่อง ราคาต่อหน่วย 1,450,000 บาท
4. ชุดเครื่องมือผ่าตัดผ่านกล้อง จำนวนที่ต้องการ 2 ชุด ราคาต่อหน่วย 4,120,000 บาท
5. เครื่องจี้ไฟฟ้า จำนวนที่ต้องการ 8 เครื่อง ราคาต่อหน่วย 500,000 บาท

นพ.ไชยเวช กล่าวต่อว่า ทางโรงพยาบาลมีแผนจะจัดซื้อระบบรถส่งผู้ป่วยฉุกเฉิน เป็นระบบชั้นสูงที่เมื่อรถพยาบาลเข้าไปรับผู้ป่วยฉุกเฉินมาแล้วจะมีการส่งสัญญาณชีพ ส่งภาพ ส่งข้อมูลของคนไข้ ที่อาจจะกำลังช็อกมายังศูนย์ควบคุมของโรงพยาบาล เพื่อให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบ และให้คนที่ไปช่วยสามารถทำการรักษาคนไข้ได้อย่างทันท่วงที

นอกเหนือจากนี้ ระบบดังกล่าวยังสามารถดูได้ว่ารถพยาบาลวิ่งไปที่ไหนบ้าง และวิ่งไปด้วยความเร็วเท่าไร ประมาณการถึงที่เกิดเหตุภายในกี่นาที จะมาถึงห้องฉุกเฉินภายในกี่นาที โดยจะติดตั้งให้กับรถพยาบาลทั้งจังหวัด 17 อำเภอ

สำหรับราคาแบบชั้นสูงก็จะมีราคาสูงประมาณ 5 แสนบาท แต่ถ้าแบบธรรมดา ประมาณ 1.5 แสนบาท นอกจากนี้ ยังมีคอนโทรลเซ็นเตอร์ ซึ่งเป็นศูนย์รวมควบคุมคอยประสานงานในการช่วยชีวิตคนไข้ทั้งจังหวัด

“ระบบการส่งต่อข้อมูลคนไข้ผ่านอินเตอร์ไม่เคยมีมาก่อน และอยากให้มีด้วยกันทั้งจังหวัดไม่ใช่แค่เฉพาะโรงพยาบาลใดโรงพยาบาลหนึ่ง ซึ่งจะสามารถช่วยชีวิตคนไข้ได้เยอะมากครับ” ผอ.รพ.เชียงรายประชานุเคราะห์ กล่าว

นพ.ไชยเวช ธนไพศาล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์
นพ.ไชยเวช ธนไพศาล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์

นพ.ไชยเวช เผยต่อว่า จากนั้น จะมีการพัฒนาอาคารอุบัติเหตุ 14 ชั้น ของโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ ซึ่งสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้วโดยใช้งบประมาณแผ่นดิน และกำลังจะเปิดใช้เร็วๆ นี้ ทางโรงพยาบาลจึงมีแผนพัฒนาระบบห้องฉุกเฉิน ระบบห้องผ่าตัด และห้องไอซียู ซึ่งทั้งหมดต้องใช้งบประมาณ 180 ล้านบาท เพราะเครื่องมืออุปกรณ์การแพทย์แต่ละอย่างมีราคาแพงทั้งนั้น แต่เป็นอุปกรณ์ช่วยชีวิตทั้งสิ้น ซึ่งอาจจะได้งบมาไม่ถึงก็คงจะนำงบที่ได้มาไปพัฒนารถฉุกเฉินก่อน จากนั้น ไปพัฒนาห้องฉุกเฉิน ห้องไอซียู และห้องผ่าตัดเป็นลำดับถัดไป

...

“โรงพยาบาลเราก็ถือเป็นศูนย์ระดับสูง เราสามารถผ่าตัดหัวใจได้ ผ่าตัดเปลี่ยนไตได้ อุบัติเหตุ มะเร็ง เราทำได้หมด เครื่องมือเราก็มีพอสมควร แต่ถามว่าปริมาณคนไข้ที่มาก พอเครื่องมือเสียก็ต้องเสียเวลาสั่งซื้อ เราก็อยากจะมีให้เต็มที่ ซึ่งเครื่องมือการแพทย์หากต้องการคุณภาพดีจริงๆ มันแพงครับ เราก็ต้องพยายามหาให้ประชาชนให้ดีที่สุด งบประมาณก็มีทุกปี แต่ต้องค่อยเป็นค่อยไป แต่ถ้ามีการอุดหนุนจากภายนอกได้เราก็สามารถเร่งพัฒนาได้ครับ” ผอ.รพ.เชียงรายประชานุเคราะห์ ระบุ

ขอบคุณภาพจาก รพ.เชียงรายประชานุเคราะห์
ขอบคุณภาพจาก รพ.เชียงรายประชานุเคราะห์

สำหรับรายการต่างๆ ที่ต้องการจัดสรรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาผู้ป่วย 24 รายการ มีดังนี้...

ครุภัณฑ์ทางการแพทย์ซื้อเข้าตึกอุบัติเหตุฯ

1. เตียง ICU ราคา 100,000 บาท จำนวน 16 หลัง 
2. เตียงผู้ป่วยวิกฤติ (burn) ราคา 270,000 บาท จำนวน 8 หลัง
3. เตียงผู้ป่วยไฟฟ้า (ห้องพิเศษ) ราคา 50,000 บาท จำนวน 24 หลัง
4. เตียงผู้ป่วยแบบปรับด้วยมือหมุน (ผู้ป่วยสามัญ) ราคา 35,000 บาท จำนวน 90 หลัง
5. เตียงออร์โธปิดิกส์ ราคา 45,000 บาท จำนวน 30 หลัง
6. เตียงเคลื่อนย้ายผู้ป่วย Luxurious Stretcher Cart ราคา 25,000 บาท จำนวน 20 หลัง
7. ที่นอนป้องกันแผลกดทับ รุ่น Simuflex ราคา 15,000 บาท จำนวน 186 เบาะ
8. เตียงผ่าตัดออร์โธปิดิกส์ ราคา 1,850,000 บาท จำนวน 2 เตียง
9. เตียงผ่าตัดไฟฟ้า ราคา 1,760,000 บาท จำนวน 6 เตียง
10. เครื่องจี้ไฟฟ้า ราคา 500,000 บาท จำนวน 8 เครื่อง
11. เครื่องดมยาสลบชนิดสามแก๊ส ราคา 1,760,000 บาท จำนวน 8 เครื่อง
12. เครื่องตรวจคลื่นหัวใจ EKG 12 leads ราคา 150,000 บาท จำนวน 10 เครื่อง
13. เครื่องกระตุกกล้ามเนื้อหัวใจ ราคา 380,000 บาท จำนวน 8 เครื่อง
14. เครื่องใส่สารอาหารทางสายยาง ราคา 43,000 บาท จำนวน 16 เครื่อง
15. โคมไฟผ่าตัด ราคา 1,450,000 บาท จำนวน 8 เครื่อง
16. ชุดเครื่องมือผ่าตัดผ่านกล้อง ราคา 4,120,000 บาท จำนวน 2 ชุด

...

ขอบคุณภาพจาก รพ.เชียงรายประชานุเคราะห์
ขอบคุณภาพจาก รพ.เชียงรายประชานุเคราะห์

ระบบติดตามรถพยาบาลโรงพยาบาลศูนย์

1. จัดซื้อรถพยาบาลทดแทนที่ชำรุด (งบค่าเสื่อม) 1 คัน ราคา 2,400,000 บาท
2. จัดซื้อรถพยาบาลสำหรับภารกิจ VVIP 1 คัน ราคา 8,500,000 บาท
3. ระบบศูนย์รับแจ้งเหตุและระบบควบคุมรถพยาบาล โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ ราคา 2,140,000 บาท
4. ระบบควบคุมรถและ Telemedicine สำหรับโรงพยาบาลเชียงราย 5 คัน ราคา 1,800,000 บาท
5. ระบบติดตามและกล้องสำหรับรถพยาบาล จำนวน 2 คัน ราคา 139,100 บาท

ระบบติดตามรถพยาบาลโรงพยาบาลทั่วไป
1. ระบบ Telemedicine และระบบติดตามรถพยาบาลโรงพยาบาลชุมชน จำนวน 28 คัน (advance) ราคาคันละ 360,000 บาท รวม 10,080,000 บาท
2. ระบบ Telemedicine และระบบติดตามรถพยาบาลโรงพยาบาลชุมชน จำนวน 17 คัน (17 โรงพยาบาล) ราคาระบบละ 64,200 บาท รวม 1,091,400 บาท
3. ระบบติดตามและกล้องสำหรับรถพยาบาล จำนวน 48 ชุด ราคาชุดละ 69,550 บาท รวม 3,338,400 บาท

...

รวมค่าใช้จ่ายที่ต้องจัดสรรเพื่อเพิ่มศักยภาพในการรักษาผู้ป่วย ทั้งสิ้น 99,646,900 บาท

ขอบคุณภาพจาก รพ.เชียงรายประชานุเคราะห์
ขอบคุณภาพจาก รพ.เชียงรายประชานุเคราะห์

- โรงพยาบาลน่าน -

ด้าน นพ.วสันต์ แก้ววี รองผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ โรงพยาบาลน่าน เปิดเผยว่า ห้องผ่าเป็นอันดับแรกที่โรงพยาบาลน่านต้องการมากที่สุด และต้องพัฒนาทั้งโครงสร้าง ซึ่งโรงพยาบาลใช้เงินบำรุงของโรงพยาบาลแล้วจำนวน 25 ล้านบาท ส่วนที่จะใช้เงินในโครงการก้าว จะมีดังนี้

1. เครื่องดมยาสลบ เครื่องดมยาสลบชนิดซับซ้อน 3 แก๊สพร้อมเครื่องช่วยหายใจและเครื่องติดตามการทำงานของหัวใจและวิเคราะห์แก๊สระหว่างดมยาสลบ จำนวนที่ต้องการ 1 เครื่อง ราคาต่อหน่วย 2,000,000 บาท  
2. เตียงผ่าตัดทั่วไประบบไฟฟ้าพร้อมรีโมตคอนโทล จำนวนที่ต้องการ 1 เครื่อง ราคาต่อหน่วย 1,760,000 บาท
3. โคมไฟผ่าตัดใหญ่โคมคู่ขนาดไม่น้อยกว่า 130,000 ลักซ์หลอดแอลอีดี จำนวนที่ต้องการ 1 เครื่อง ราคาต่อหน่วย 1,450,000 บาท
4. กล้องส่องตรวจกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้นแบบคมชัดสูงพร้อมชุดควบคุมสัญญาณภาพ จำนวนที่ต้องการ 1 เครื่อง ราคาต่อหน่วย 3,060,000 บาท
5. กล้องส่องตรวจและรักษาในข้อ จำนวนที่ต้องการ 1 เครื่อง ราคาต่อหน่วย 2,500,000 บาท
6. เครื่องถ่ายภาพภายในหลอดเลือดด้วยความถี่ใกล้เคียงแสงอินฟราเรด (Optical Coherence Tomography : OCT) จำนวนที่ต้องการ 1 เครื่อง ราคาต่อหน่วย 6,000,000 บาท
7. เครื่องตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง (Echocardiogram) ที่สามารถทำ Transesophageal จำนวนที่ต้องการ 1 เครื่อง ราคาต่อหน่วย 5,000,500 บาท
8. เครื่องวัดการแข็งตัวของเลือด (ACT) จำนวนที่ต้องการ 1 เครื่อง ราคาต่อหน่วย 110,500 บาท

“สิ่งที่โรงพยาบาลต้องการเป็นการแสดงถึงการพัฒนางานในการดูแลประชาชนในพื้นที่ ที่อยู่ห่างไกลโดยเฉพาะปัญหาโรคที่เป็นภาวะฉุกเฉินเร่งด่วนที่ต้องรับการรักษาด้วยการผ่าตัดและการใส่สายสวนหัวใจ” นพ.วสันต์ กล่าว

สำหรับแผนการจัดซื้อครุภัณฑ์และแผนการปรับปรุงสิ่งก่อสร้างอื่นๆ มีรายละเอียดดังนี้

ห้องผ่าตัด

1. เครื่องดมยาสลบชนิดซับซ้อน 3 แก๊สพร้อมเครื่องช่วยหายใจและเครื่องติดตามการทำงานของหัวใจและวิเคราะห์แก๊สระหว่างดมยาสลบ ราคา 2,000,000 จำนวน 1 เครื่อง
2. เตียงผ่าตัดทั่วไประบบไฟฟ้าพร้อมรีโมตคอนโทล ราคา 1,760,000 จำนวน 1 เครื่อง
3. โคมไฟผ่าตัดใหญ่โคมคู่ขนาดไม่น้อยกว่า 130000 ลักซ์หลอดแอลอีดี ราคา 1,450,000 จำนวน 1 เครื่อง
4. กล้องส่องตรวจกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้นแบบคมชัดสูงพร้อมชุดควบคุมสัญญาณภาพ ราคา 3,060,000 จำนวน 1 เครื่อง
5. กล้องส่องตรวจและรักษาในข้อ ราคา 2,500,000 จำนวน 1 เครื่อง
6. เครื่องกำเนิดแสงพร้อมระบบวีดิทัศน์ ราคา 1,715,000 จำนวน 1 เครื่อง
7. เครื่องนึ่งฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ด้วยไอน้ำระบบอัตโนมัติขนาดไม่น้อยกว่า 850 ลิตร (Pre-Post Vac) ห้องนึ่งทรงสี่เหลี่ยม ชนิด 1 ประตู ราคา 2,500,000 จำนวน 1 เครื่อง

ขอบคุณภาพจาก รพ.น่าน
ขอบคุณภาพจาก รพ.น่าน

หลอดเลือด

1. เครื่องถ่ายภาพภายในหลอดเลือดด้วยความถี่ใกล้เคียงแสงอินฟราเรด (Optical Coherence Tomography : OCT) ราคา 6,000,000 จำนวน 1 เครื่อง
2. เครื่องตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง (Echocardiogram) ที่สามารถทำ Transesophageal ราคา 5,000,500 จำนวน 1 เครื่อง
3. เครื่องวัดการแข็งตัวของเลือด (ACT) ราคา 110,500 จำนวน 1 เครื่อง
4. เครื่องวัดความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดสำหรับการตรวจสวนหัวใจ (Whole blood oximeter) ราคา 480,000 จำนวน 1 เครื่อง
5. เครื่องดมยาสลบชนิดซับซ้อน 3 แก๊สพร้อมเครื่องช่วยหายใจและเครื่องติดตามการทำงานของหัวใจและวิเคราะห์แก๊สระหว่างดมยาสลบ ราคา 2,000,000 จำนวน 1 เครื่อง
6. เครื่องช่วยพยุงหัวใจโดยใช้บอลลูนในหลอดเลือดแดงใหญ่ (IABP) ราคา 2,500,000 จำนวน 1 เครื่อง
7. รถ Emergency สำหรับใช้ในห้องตรวจสวนหัวใจ ราคา 100,000 จำนวน 1 คัน
8. Laryngoscope ราคา 40,000 จำนวน 2 อัน
9. กระจกตะกั่วกันรังสีแบบเคลื่อนที่ได้ ราคา 300,000 จำนวน 1 ชุด
10. แว่นตากันรังสีชนิดครอบถึงหางตาและครอบแว่นสายตาได้ ราคา 15,000 จำนวน 5 อัน
11. Transfer Stretcher ราคา 200,000 จำนวน 1 ชุด
12.เตียงไฟฟ้าชนิด 3 ไกพร้อมโต๊ะคร่อมเตียง ราคา 100,000 จำนวน 5 ชุด
13. เครื่องติดตามการทำงานของหัวใจและสัญญาณชีพระบบรวมศูนย์ไม่น้อยกว่า 8 เตียง ราคา 4,200,000 จำนวน 1 ชุด
14. ตู้เย็นเก็บเวชภัณฑ์พร้อมตู้แช่แข็ง ราคา 100,000 จำนวน 1 เครื่อง

ขอบคุณภาพจาก รพ.น่าน
ขอบคุณภาพจาก รพ.น่าน

งานโครงสร้าง

1. โครงการปรับปรุงห้องผ่าตัดระบบอากาศปลอดเชื้อและระบบแก๊สทางการแพทย์ ราคา 25,000,000 จำนวน 1
2. โครงการก่อสร้างอาคารเอกซเรย์ ราคา 40,000,000 จำนวน 1
3. โครงการก่อสร้างห้องทันตกรรม 8 ยูนิต ราคา 9,000,000 จำนวน 1

รวมค่าใช้จ่ายที่ต้องจัดสรรเพื่อเพิ่มศักยภาพในการรักษาผู้ป่วย ทั้งสิ้น 110,131,000 บาท

ขอบคุณภาพจาก รพ.น่าน
ขอบคุณภาพจาก รพ.น่าน

- โรงพยาบาลนครพิงค์-

นพ.ธำรง หาญวงศ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลนครพิงค์ เผยว่า รายการที่ประสงค์จะจัดซื้อ จะเกี่ยวกับเครื่องที่ใช้ในห้องฉุกเฉิน เช่น เครื่องมือเกี่ยวกับเครื่องช่วยหายใจ ราคาเครื่องละประมาณ 1 ล้านบาท เครื่องมอนิเตอร์สัญญาณชีพ เครื่องละประมาณ 1 ล้านบาท เครื่องตรวจเลือดบางอย่าง ขึ้นอยู่กับว่าเครื่องอยู่ในระดับที่ดีขนาดไหน แต่ได้ขอจัดซื้อในระดับปานกลางไป ก็ตามราคากลางของกระทรวง ของจำเป็นที่ใช้ ซึ่งได้จัดซื้อหลายเครื่อง

และในอีก 3 ปีข้างหน้าจะเปิดอาคารรังสีรักษา ซึ่งทางโรงพยาบาลยังไม่มีเครื่องที่จะฉายรังสีรักษา และเมื่อเปิดอาคารคงจะต้องใช้เครื่องมืออีกประมาณ 100 กว่าล้านบาท ซึ่งได้ของบประมาณไว้หากได้มาเยอะก็จะนำไปบริหารในส่วนของอาคารรังสีรักษา ถ้าไม่เพียงพอก็ต้องตัดออกไปก่อน

ส่วนรายการที่ต้องการมากที่สุด 5 อันดับ ได้แก่...

1. เครื่องติดตามการทำงานของหัวใจและสัญญาณชีพแบบรวมศูนย์ 24 ยูนิต จำนวนที่ต้องการ 1 เครื่อง ราคาต่อหน่วยไม่สามารถระบุได้
2. เครื่องช่วยหายใจชนิดควบคุมด้วยปริมาตรและความดัน จำนวนที่ต้องการ 1 เครื่อง ราคาต่อหน่วยไม่สามารถระบุได้
3. เครื่องช่วยหายใจทารกแรกเกิดชนิดความถี่สูง จำนวนที่ต้องการ 2 เครื่อง ราคาต่อหน่วยไม่สามารถระบุได้
4. เครื่องช่วยหายใจ Home Ventilator จำนวนที่ต้องการ 10 เครื่อง ราคาต่อหน่วยไม่สามารถระบุได้
5. เครื่องตรวจ ABG (arterial blood gas) จำนวนที่ต้องการ 1 เครื่อง ราคาต่อหน่วยไม่สามารถระบุได้

และยังมีรายการอื่นๆ ที่มีแผนจะจัดซื้ออีก ดังนี้...

โครงการขยาย ER

1. เครื่องติดตามการทำงานของหัวใจไร้สาย แบบรวมศูนย์ 24 ยูนิต จำนวน 1
2. เครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจชนิดไบเฟสิคแบบจอสีพร้อมภาควัดคาร์บอนไดออกไซด์และออกซิเจน จำนวน 1
3. เครื่องช่วยกระบวนการปั๊มและฟื้นคืนชีพผู้ป่วย Automatic CPR จำนวน 1
4. เตียงเคลื่อนย้ายผู้ป่วยปรับระดับมือหมุน จำนวน 12
5. เตียงเคลื่อนย้ายผู้ป่วยปรับระดับไฮโดรลิก จำนวน 12
6. เตียงเคลื่อนย้ายผู้ป่วยปรับระดับไฮโดรลิกพร้อมเอกซเรย์ผ่านได้ จำนวน 2
7. เครื่องตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจพร้อมระบบประมวลผล จัดเก็บภาพ dicom หรือส่งเข้าระบบ Pacs จำนวน 1
8. เครื่องช่วยหายใจชนิดควบคุมด้วยปริมาตรและความดันเคลื่อนย้ายได้ จำนวน 1
9. เครื่องเอกซเรย์เคลื่อนที่ขนาดไม่น้อยกว่า 300 mA.ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า จำนวน 1
10. เครื่องตรวจ ABG จำนวน 1
11. เครื่องตรวจอวัยวะภายในด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง ชนิดหิ้วถือ 2 หัวตรวจ จำนวน 1
12. Vdo assisted laryngoscope จำนวน 1
13. Medical pendant จำนวน 10
14. รถเข็นชุดอุปกรณ์ช่วยชีวิตฉุกเฉิน Emergency Cart จำนวน 1

ขอบคุณภาพจาก รพ.นครพิงค์ www.nkp-hospital.go.th
ขอบคุณภาพจาก รพ.นครพิงค์ www.nkp-hospital.go.th

โครงการเปิด ICU CVT

1. เครื่องช่วยหายใจชนิดควบคุมด้วยปริมาตรและความดันพร้อมระบบการจ่ายอากาศตามสภาพปอด จำนวน 8
2. เตียงผู้ป่วยสำหรับไอซียูปรับด้วยไฟฟ้าชนิด 4 motor จำนวน 8
3. เครื่องตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงชนิดความคมชัดสูงแบบหิ้วถือ จำนวน 1
4. เครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจชนิดไบเฟสิคแบบจอสีพร้อมภาควัดคาร์บอนไดออกไซด์และออกซิเจน จำนวน 1
5. เครื่องช่วยหายใจชนิดควบคุมด้วยปริมาตรและความดันเคลื่อนย้ายได้ จำนวน 1
6. เครื่องบำบัดทดแทนการทำงานของไตอย่างต่อเนื่อง Continuous Renal Replace Therapy (CRRT) จำนวน 1
7. IABP จำนวน 1
8. เครื่องตรวจ ABG จำนวน 1
9. ผ้าห่มปรับอุณหภูมิ จำนวน 1
10. เครื่องควบคุมการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ ชนิด 3 สาย จำนวน 2
11. เครื่องควบคุมการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำชนิด 1 สาย จำนวน 10
12. เครื่องควบคุมการให้สารละลายโดยใช้กระบอกฉีด จำนวน 8
13. รถเข็นชุดอุปกรณ์ช่วยชีวิตฉุกเฉิน Emergency Cart จำนวน 1
14. Vdo assisted laryngoscope จำนวน 1

โครงการปรับปรุง OR เก่า (ใช้งาน 20++ปี) และเพิ่มศักยภาพ

1. จ้างเหมาปรับปรุง OR 4 ห้อง จำนวน 1
2. เครื่องตรวจอวัยวะภายในด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง ชนิดใช้ในห้องผ่าตัด จำนวน 1
3. เครื่องอุ่นเลือดควบคุมอุณหภูมิ จำนวน 1
4. ชุดเครื่องมือคว้านโพรงกระดูก Flexible Reamer set จำนวน 1
5. เครื่องมือเจาะ ตัด กระดูก ขนาดเล็ก Air Pendrive จำนวน 1
6. เครื่องจี้ห้ามเลือด เลาะเนื้อเยื่อและเชื่อมปิดหลอดเลือด จำนวน 1
7. Vdo assisted laryngoscope จำนวน 1
8. กล้องส่องตรวจและผ่าตัดภายในช่องท้องและลำไส้ใหญ่พร้อมระบบวีดิทัศน์ จำนวน 1
9. เครื่องนึ่งฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ด้วยไอน้ำระบบอัตโนมัติขนาดไม่น้อยกว่า 890 ลิตร (Pre-Post Vac) ชนิด 2 ประตู จำนวน 1
10. เครื่องล้างเครื่องมืออัตโนมัติขนาดไม่น้อยกว่า 350 ลิตร จำนวน 1

ขอบคุณภาพจาก Facebook : ก้าว
ขอบคุณภาพจาก Facebook : ก้าว

โครงการปรับปรุง ICU MED และขยายเป็น 32 เตียง

1. เครื่องช่วยหายใจชนิดควบคุมด้วยปริมาตรและความดันพร้อมระบบการจ่ายอากาศตามสภาพปอด จำนวน 7
2. เตียงผู้ป่วยสำหรับไอซียูปรับด้วยไฟฟ้าชนิด 4 motor จำนวน 32
3. เครื่องตรวจอวัยวะภายในด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง ชนิดหิ้วถือ 2 หัวตรวจ จำนวน 1
4. เครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจชนิดไบเฟสิคแบบจอสีพร้อมภาควัดคาร์บอนไดออกไซด์และออกซิเจน จำนวน 2
5. เครื่องตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจพร้อมระบบประมวลผล จัดเก็บภาพ dicom หรือส่งเข้าระบบ Pacs จำนวน 2
6. ผ้าห่มปรับอุณหภูมิ จำนวน 2
7. เครื่องช่วยหายใจชนิดควบคุมด้วยปริมาตรและความดันเคลื่อนย้ายได้ จำนวน 1
8. เครื่องติดตามวัดปริมาณเลือดออกจากหัวใจชนิด Non-Invasive จำนวน 1
9. เครื่องควบคุมการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ ชนิด 3 สาย จำนวน 8
10. เครื่องควบคุมการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำชนิด 1 สาย จำนวน 10
11. เครื่องควบคุมการให้สารละลายโดยใช้กระบอกฉีด จำนวน 2
12. รถเข็นชุดอุปกรณ์ช่วยชีวิตฉุกเฉิน Emergency Cart จำนวน 2
13. Vdo assisted laryngoscope 1

โครงการรองรับระบบส่งต่อผู้ป่วย

1. รถพยาบาลโครงสร้างปลอดภัยเคลือบสารต้านจุลชีพขนาดใหญ่พร้อมระบบการแพทย์ฉุกเฉินทางไกล และเครื่องมือตรวจหัวใจ สมองและเครื่องพยุงชีพชั้นสูง จำนวน 1
2. Home ventilator จำนวน 10

โครงการพัฒนา NICU

1. เครื่องช่วยหายใจสำหรับทารกแรกเกิดชนิดความถี่สูง จำนวน 2
2. ตู้อบเด็ก จำนวน 2

โครงการในอนาคต เมื่ออาคารรังสีรักษาแล้วเสร็จ

1. เครื่องจำลองและวางแผนการรักษา จำนวน 1
2. เครื่องฉายรังสีรักษา (Linacacclerator) ชนิด 3 มิติและเทคนิครังสีเข้มข้น พร้อมแขนเครื่องหมุน จำนวน 1

รวมค่าใช้จ่ายที่ต้องจัดสรรเพื่อเพิ่มศักยภาพในการรักษาผู้ป่วย ทั้งสิ้น 100 ล้านบาท

อย่างไรก็ตาม ยังเหลืออีก 4 โรงพยาบาลภายใต้โครงการก้าวคนละก้าว แฟนๆ ไทยรัฐออนไลน์ สามารถติดตามได้ในสกู๊ปซีรีส์ตอนที่ 3 

ทีมข่าวเฉพาะกิจไทยรัฐออนไลน์ รายงาน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง