ศูนย์รวบรวมผู้เชี่ยวชาญด้านยางพารา พร้อมสนับสนุนถ่ายทอดเทคโนโลยี แก่ชาวสวนยางพาราใน จ.บึงกาฬ รวมทั้งโรงงานยาง ในการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ พร้อมแนะ เกษตกรให้หันไปขายยาง EUDR ชี้เป็นอนาคต ชูราคาดี ส่งออกตลาดโลกได้ ไม่ถูกกีดกัน

นายพายับ นามประเสริฐ ผู้ช่วยผู้บริหารจัดการ ศูนย์รวบรวมผู้เชี่ยวชาญด้านยางพารา สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ หรือ วช. กล่าวถึงการพัฒนายางพาราของจังหวัดบึงกาฬว่า จังหวัดบึงกาฬถือเป็นหนึ่งในจังหวัดภาคอีสานที่ปลูกยางพารามากที่สุด ที่ผ่านมามีการผลักดันบึงกาฬให้เป็นเมืองแห่งยางพารา ตั้งแต่เมื่อครั้งสมัยนายพินิจ จารุสมบัติ อดีตรองนายกรัฐมนตรี ประธานสภาวัฒนธรรมไทย-จีน และส่งเสริมความสัมพันธ์ ในฐานะแกนนำผู้บุกเบิกอาชีพปลูกยางพาราในจังหวัดบึงกาฬมากว่า 20 ปี มีการจัดประชุมด้านยางพารา เมื่อ 4-5 ปีก่อน ต่อมา สำนักประสานงานโครงการงานวิจัยด้านยางพารา ก็ได้มาเอางานวิจัยของวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือ ววน. ที่ประสบผลสำเร็จแล้ว มาจัดแสดงในงานด้วยหลายครั้ง

...

ผู้ช่วยผู้บริหารจัดการ ศูนย์รวบรวมผู้เชี่ยวชาญด้านยางพารา กล่าวต่อว่า จากที่ผ่านมา เป็นที่ทราบอยู่แล้วว่า บึงกาฬมีความพร้อมและมีการปลูกยางพาราเป็นจำนวนมาก แต่ก็มีหลายๆ สิ่งที่สมควรจะมีการพัฒนายิ่งขึ้น ปัจจุบันนี้ โรงงานยางที่เป็นโรงงานกลางน้ำ เช่น มีโรงงานรับเบอร์แลนด์ ที่เป็นโรงงานผลิตยางแท่ง เป็นโรงงานในเครือศรีตรัง อยู่เพียงโรงเดียว ส่วนโรงงานที่ใช้น้ำยางมาผลิตเป็นน้ำยางข้นยังไม่มี ถัดไปที่ยังขาด คือ โรงงานทำผลิตภัณฑ์จากยางพารา ที่ตรงนี้เป็นสิ่งสำคัญมาก ที่จะช่วยเพิ่มมูลค่ายางให้มากขึ้น

นายพายับ กล่าวอีกว่า จาการวิจัยที่ผ่านมา ในส่วน ววน.สามารถนำเอามาใช้ได้มากมายหลายเรื่อง โดยเฉพาะต้นน้ำ เรื่อง FSC หรือ การทำยางพาราโดยไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ไม่มีการตัดป่า ซึ่งทางเราได้มีการให้ทุนไปวิจัยออกมาจนสำเร็จ และเอามาถ่ายทอดให้กับเกษตรกรหลายๆ กลุ่ม เพื่อให้สามารถผ่านกฎระเบียบตรงนี้ ทำให้สามารถขายยางพาราได้โดยที่ไม่ถูกกีดกันทางการค้า โดย ขณะนี้ มีกฎระเบียบตัวใหม่ที่เขามา คือ EUDR  ที่เป็นกฎระเบียบของอียูที่จะไม่ให้มีการทำลายป่า ฉะนั้น หากชาวสวนยางฯ ได้มีการปฏิบติตามระเบียบ EUDR หรือ FSC มาใช้ก็ย่อมทำให้ยางพารามีมูลค่าเพิ่มขึ้น ขายได้ราคามากขึ้นไม่ถูกกีดกันทางการค้าในตลาดยุโรป และอเมริกา

ผู้ช่วยผู้บริหารจัดการ ศูนย์รวบรวมผู้เชี่ยวชาญด้านยางพารา กล่าวว่า นอกจาก 2 เรื่องนี้ เรายังมีองค์ความรู้ที่จะมาถ่ายทอด เช่น การปลูกสวนยางให้ได้มาตรฐาน GAP หรือ แม้แต่ ทำผลิตภัณฑ์กลางน้ำ ทำนยางแท่งและยางแผ่น เาก็มีองค์ความรู้เทคโนโลยีมาช่วยในการพัฒนายางให้มีคุณภาพ ส่วนปลายน้ำอาจจะต้องรอเวลาซักระยะ เพราะทางท่านผู้ว่าฯ บึงกาฬ ไปชวนมาหลายโรงงานแต่ยังไม่มีการตอบรับพร้อมมาลงทุน เนื่องจาการเดินทางมาบึงกาฬ ทำให้ต้องขนส่งที่ระยะไกลมาก ส่วนใหญ่โรงงานไปตั้งแถบอีอีซีเสียมากกว่า

...

นายพายับ กล่าวด้วยว่า นอกจากน้ำยาง เรายังมีเทคโนโลยีเกี่ยวกับไม้ยาง เรามีเทคโนโลยีดิจิทัล ที่เป็น “ดรายวูด” สามารถควบคุมการอบไม้ยาง ที่ประหยัดพลังงาน แม่นยำ ไม้เสียน้อย ที่ผ่านมา เอามาถ่ายทอดที่บึงกาฬ 2 โรงงาน สามารถช่วยให้ประหยัดพลังงานนับแสนๆ บาทต่อปี ฉะนั้นศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญทางยางพารามีความพร้อม ที่จะนำเทคโนโลยีมาถ่ายทอดให้เกษตรกร ชาวสวนยางบึงกาฬ โรงงานยางแท่ง หรือ ถ้าจะให้ดีก็ คือ มีโรงงานน้ำยางข้นมาตั้งที่จังหวัดด้วยก็จะยิ่งดี.