อาชีพเกษตรกรรมบ้านเรายังประสบปัญหาผลผลิตยังอยู่ในเกณฑ์ต่ำ อัตรารายได้เฉลี่ยไม่สูง อันเป็นผลมาจากเกษตรกรไม่มีความรู้เพียงพอ สะท้อนอาชีพการเกษตรยังขาดการพัฒนาอย่างยั่งยืน
การพัฒนาเกษตรกรให้มีความรู้อย่างถ่องแท้ในอาชีพ สามารเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและคุณภาพผลิตผล แก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็ว กลายเป็นสมาร์ทฟาร์มเมอร์ จึงเป็นคำตอบสุดท้ายที่สอดคล้องกับนโยบายปฏิรูปภาคการเกษตรเพื่อแก้ไขปัญหาของเกษตรกร ของกระทรวงเกษตรฯ
สอดรับกับยุทธศาสตร์หลักในปีนี้ของ องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) ที่นำโดย สมพร ศรีเมือง ผู้อำนวยการฯ ในการเร่งขับเคลื่อนองค์กรให้บรรลุตามวิสัยทัศน์ ด้าน “พัฒนาอุตสาหกรรมโคนมเพื่อชีวิตที่ดีกว่า (Dairy Industrial Development for a Better Life)” การส่งเสริมการเลี้ยงโคนมให้เป็นอาชีพแก่เกษตรกรไทยอย่างมั่นคงและยั่งยืน ที่ประกอบด้วย 3 แผนงาน
1.เร่งยกระดับฟาร์มเกษตรกรให้เป็นสมาร์ทฟาร์มเมอร์ โดยการส่งเสริมและผลักดันให้เกษตรกรผ่านเกณฑ์มากยิ่งขึ้น พัฒนาฟาร์มประสิทธิภาพสูง โดยการส่งเสริมประสิทธิภาพด้านการบริหารจัดการฟาร์มไปยังฟาร์มเกษตรกรรายย่อย เช่น การเพิ่มปริมาณน้ำนมดิบระดับฟาร์ม เป็นต้น
2.บริหารจัดการซัพพลาย หรือกระบวนการจัดการการผลิตเพื่อทำให้เกิดสินค้าหรือบริการขึ้นมา ทั้งด้านการจัดหาวัตถุดิบ บริหารการผลิต การจัดเก็บสินค้า ไปจนถึงกระบวนการจัดส่งสู่มือของลูกค้า
เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าได้อย่างครบถ้วนและทั่วถึง อาทิ เพิ่มประสิทธิภาพการจัดการฟาร์มเกษตรกรรายย่อยสู่ฟาร์มประสิทธิภาพสูง เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารสินค้าคงคลัง เป็นต้น
3.สร้างความมั่นคงของอุตสาหกรรมโคนม อาทิ การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการฟาร์มเกษตรกรรายย่อยเพื่อคอนแทรกต์ฟาร์มมิง การส่งเสริมพัฒนาการเลี้ยงโคนมของเกษตรกรเพื่อเพิ่มปริมาณน้ำนมดิบระดับฟาร์ม
...
การให้สำนักงานภาคจัดทำโครงการ Eco–efficiency เพื่อสร้างประสิทธิภาพการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมทั้งใช้ทรัพยากรของ อ.ส.ค.อย่างคุ้มค่า เป็นต้น
ต้องจับตาดูลงทุนทำไปแล้ว ผลลัพธ์ output ที่ออกมาจะเป็นจริงเหมือนคำพูดหรือคำลวง หรือคำโฆษณาชวนเชื่อ.
สะ–เล–เต
คลิกอ่าน "หน้ามองฟ้า เท้าหยั่งดิน" เพิ่มเติม