กรมวิชาการเกษตรขับเคลื่อนงานตามนโยบาย รมว.เกษตร นำร่อง 5 โครงการ “พัฒนาพะเยาโมเดล” สร้างชุมชนต้นแบบผลิตถั่วเหลือง/เขียว และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์แบบคาร์บอนต่ำ ส่งเสริมปลูกไผ่พลังงาน ซอฟต์พาวเวอร์กาแฟพะเยา และ ปรับปรุงกว๊านพะเยา

จากการที่ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานในการประชุมร่วมกับส่วนราชการในจังหวัดพะเยา และหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง “การพัฒนาพะเยาโมเดล” ณ ห้องประชุมอเนกประสงค์ลานค้าชุมชนหนองระบู อาคารสโมสรพนักงานเทศบาลเมืองพะเยา อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา

...

ในโอกาสนี้ นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ได้เข้าร่วมประชุมติดตามความก้าวหน้าโครงการขับเคลื่อนงานตามนโยบายกระทรวงเกษตรฯ และผลการดำเนินงาน ในระดับพื้นที่ด้วยในการนี้กรมวิชาการเกษตรได้นำเสนอโมเดล และโครงการเพื่อนำมาใช้กับจังหวัดพะเยาทั้งหมด 5 โครงการด้วยกัน คือ

1. โครงการชุมชนบูรณาการ “ชุมชนต้นแบบ” ในการผลิตถั่วเหลือง/ถั่วเขียว แบบ Low Carbons เพื่อส่งเสริมสำหรับการปลูกพืชหลังนา ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมกรมวิชาการเกษตร เพิ่มผลผลิตถั่วเหลืองให้สูงถึง 400 กิโลกรัม/ไร่ เน้นการสร้างศูนย์การผลิตเมล็ดพันธุ์ คัดเลือกพื้นที่ ขยายพื้นที่ปลูก นำร่อง ในพื้นที่ อ.ปง จ.พะเยา โดยสามารถเริ่มในฤดูการปลูกพืชหลังนา (พฤศจิกายน 2566) โครงการนี้เป็นการบูรณาการร่วมกับ กรมส่งเสริมสหกรณ์ กรมส่งเสริมการเกษตร สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) กรมชลประทาน และภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง อาทิเช่น สมาคมผู้ผลิตน้ำมันถั่วเหลืองและรำข้าว สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย เป็นต้น

2. โครงการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ แบบ Low Carbons เพื่อลด PM 2.5
- จัดทำแปลงต้นแบบ 10 หมู่บ้าน ในพื้นที่ อ.ปง จ.พะเยา
- ใช้จุลินทรีย์เร่งการย่อยสลายตอซัง เพิ่มไนโตรเจน ปุ๋ยอินทรีย์ในดิน
- บูรณาการร่วมกับ กรมส่งเสริมสหกรณ์ กรมส่งเสริมการเกษตร สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) และภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง อาทิเช่น สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย และ CPF เป็นต้น
3. โครงการส่งเสริมการปลูก “ไผ่พลังงาน” ไผ่ซางหม่น ส่งเข้าโรงงานไฟฟ้าชีวมวล หาพื้นที่ที่เหมาะสมและอยู่ใกล้โรงงานชีวมวลในจังหวัดพะเยา


4. โครงการ Soft Power สุดยอดกาแฟจังหวัดพะเยา สู่สุดยอดกาแฟไทย ปีนี้ สุดยอดกาแฟไทย กาแฟโรบัสตา เป็นของเกษตรกร นายนพรัตน์ ไชยมงคล เกษตรกรในพื้นที่ จ.พะเยา ซึ่งจะได้รับ ถ้วยรางวัลพระราชทาน จากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในวันที่ 20 พฤศจิกายนนี้ แสดงให้เห็นว่าจังหวัดพะเยาเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพในการผลิตกาแฟคุณภาพสูง สามารถเพิ่มมูลค่าเพิ่มรายได้ให้เกษตรกรในอนาคต
5. โครงการปรับภูมิทัศน์หน้ากว๊านพะเยา ถนนรอบกว๊านพะเยา โดยการปลูกพืชเมืองหนาว พืชไม้ดอก ไม้ประดับในช่วงต้นฤดูหนาว โดยเป็นการบูรณาการร่วมกับ กรมส่งเสริมสหกรณ์ กรมส่งเสริมการเกษตร สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)

...

อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวด้วยว่า 5 โครงการนำร่อง ที่กรมวิชาการเกษตรได้นำเสนอ ในการพัฒนา “พะเยาโมเดล” จะเป็นการมุ่งมั่นที่จะเดินหน้าในการสร้างรายได้ สร้างโอกาส และสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี ให้กับเกษตรกรในจังหวัดพะเยา โดยใช้หลักการ “ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้” ขับเคลื่อนสร้าง “พะเยาโมเดล” ให้จังหวัดพะเยา ได้เป็นจังหวัดต้นแบบ เพื่อขยายผลไปยังจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ.