กรมปศุสัตว์ เป็นเจ้าภาพงาน Global Agenda on Sustainable Livestock- Multi-Stakeholder Partnership meeting ครั้งที่ 13 ช่วง 30 ต.ค.-3 พ.ย. 66 ชูบทบาทของไทยต่อระบบอาหารโลกในฐานะการเป็นครัวโลก กับการมีระบบปศุสัตว์ที่ยั่งยืน และอาหารปลอดภัย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมปศุสัตว์ ร่วมด้วยองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) Global Agenda for Sustainable Livestock (GASL) และคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จะเป็นเจ้าภาพร่วมจัดการประชุม Global Agenda for Sustainable Livestock-Multi-Stakeholder Partnership ครั้งที่ 13 และ the Regional Conference on Sustainable Livestock Transformation ระหว่างวันที่ 30 ตุลาคม-วันที่ 3 พฤศจิกายน 2566 ณ โรงแรมเซ็นทาราริเวอร์ไซด์ จังหวัดเชียงใหม่
...
นายไชยา พรหมา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวเปิดการประชุมว่า ในนามกระทรวงเกษตรฯ รู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ต้อนรับทุกท่าน ว่าด้วยการประชุมในครั้งนี้ จะเป็นส่วนช่วยส่งเสริมความร่วมมือและความเข้าใจในการดำเนินด้านอาหารให้เกิดความยั่งยืนในทุกภาคส่วน ซึ่งเมื่อปี 2554 ประเทศไทยเคยเป็นเจ้าภาพการจัดการประชุม GASL ที่จังหวัดภูเก็ต ซึ่งวันนี้ได้มาเป็นเจ้าภาพอีกครั้งที่จังหวัดเชียงใหม่ เมืองใหญ่อันดับ 2 ของประเทศไทย ที่มีธรรมชาติที่สวยงาม และทรัพยากรธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์ผสมผสานกับวัฒนธรรมล้านนา ซึ่งจังหวัดเชียงใหม่มีความยั่งยืนด้านอาหารและด้านเกษตรเป็นของตนเอง มีระบบการศึกษาที่ช่วยสร้างเกษตรกรรุ่นใหม่ และอุตสาหกรรมภาคการเกษตรให้เติบโต รวมถึงมีการจัดการด้านปศุสัตว์ที่ดีที่จะช่วยให้การเกษตรประเทศไทยแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้นในอนาคต และหวังว่าการร่วมมือในครั้งนี้ จะสามารถพัฒนาแนวทางการปฏิบัติที่มีเป้าหมายร่วมกัน และนโยบายเผื่อการจัดการ ปศุสัตว์ได้อย่างยั่งยืน รวมถึงมุ่งสู่การดูแลทรัพยากรป่าไม้และปศุสัตว์ในปี 2026 ไปด้วยกัน
ด้าน นายสัตวแพทย์โสภัชย์ ชวาลกุล รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ เสริมว่า การมีอาหารที่เพียงพอถือเป็นส่วนสำคัญของความมีเสถียรภาพของประชาคมโลก ดังนั้น ในฐานะที่เป็นหน่วยงานรัฐหลักที่รับผิดชอบด้านอุตสาหกรรมปศุสัตว์ของประเทศไทย กรมปศุสัตว์จึงได้นำแนวคิด “ครัวโลก” มาใช้ แสดงถึงการเติบโตอย่างมีนัยสำคัญในอุตสาหกรรมการเกษตรและปศุสัตว์ ซึ่งเป็นหนึ่งในเป้าหมายของกรมปศุสัตว์ต่อการผลิตปศุสัตว์ที่ยั่งยืนและรับประกันความปลอดภัยด้านมาตรฐานอาหารในระดับโลก
...
การประชุมนี้จะเป็นพื้นที่ให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียด้านการปศุสัตว์ ได้แบ่งปันประสบการณ์และหารือปัจจัยขับเคลื่อนต่างๆ ที่ก่อการเปลี่ยนแปลงในระบบการปศุสัตว์ จากนั้น เหล่าผู้เข้าร่วมประชุมหาร่วมพิจารณาเส้นทางในการที่จะนำแผนดำเนินงานด้านการปศุสัตว์ยั่งยืนของ GASL มาปฏิบัติได้ในระดับนโยบาย.