กกพ.ลดค่า FT คนจ่ายเงินยิ้มค่าไฟถูกลงเหลือหน่วยละ 3.61 บาท เริ่มต้นปี 64

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

กกพ.ลดค่า FT คนจ่ายเงินยิ้มค่าไฟถูกลงเหลือหน่วยละ 3.61 บาท เริ่มต้นปี 64

Date Time: 5 พ.ย. 2563 14:28 น.

Video

นักลงทุนรุ่นใหม่ ยังเป็น VI ได้ไหมในยุคนี้กับ “เซียนมี่ ทิวา” และ ”นิ้วโป้ง อธิป“ | Money Issue

Summary

  • กกพ. เตรียมลดค่า FT งวด ม.ค. – เม.ย. 64 ลงอีก 2.89 สตางค์ เหลือ -15.32 สตางค์ เป็นของขวัญปี 64 ให้คนไทยจ่ายค่าไฟถูกลงเหลือหน่วยละ 3.61 บาท

Latest


กกพ. เตรียมลดค่า FT งวด ม.ค. – เม.ย. 64 ลงอีก 2.89 สตางค์ เหลือ -15.32 สตางค์ เป็นของขวัญปี 64 ให้คนไทยจ่ายค่าไฟถูกลงเหลือหน่วยละ 3.61 บาท

คมกฤช ตันตระวาณิชย์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน หรือ กกพ. ในฐานะโฆษก กกพ. กล่าวว่า เมื่อวันที่ 4 ก.ย. 63 ที่ผ่านมา กกพ. มีมติให้ปรับลดอัตราค่าไฟฟ้าผันแปร หรือที่เรียกว่า เอฟที สำหรับการเรียกเก็บค่าไฟฟ้าในช่วงเดือน ม.ค. – เม.ย. 2564 เหลือ -15.32 สตางค์ต่อหน่วย ลดลงจากการเรียกเก็บงวดก่อนหน้า (ก.ย. – ธ.ค. 2563) ที่ -12.43 สตางค์ต่อหน่วย

ทั้งนี้ ส่งผลให้ผู้ใช้ไฟฟ้าจ่ายค่าไฟฟ้าถูกลงอีก 2.89 สตางค์ต่อหน่วย หรืออยู่ที่ 3.61 บาทต่อหน่วย จากที่ก่อนหน้านี้ กกพ. ได้บริหารจัดการ และตรึงค่าเอฟที เพื่อช่วยบรรเทาค่าครองชีพให้กับประชาชนมาอย่างต่อเนื่อง

"แม้ว่าราคาก๊าซธรรมชาติจะมีแนวโน้มที่สูงขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากแนวโน้มความต้องการก๊าซธรรมชาติที่สูงขึ้นในตลาดโลก แต่ด้วยการบริหารจัดการ การนำเข้า LNG Spot ซึ่งมีราคาถูกกว่าราคาก๊าซในอ่าวในช่วงที่ผ่านมา และสามารถทดแทนก๊าซในอ่าวได้บางส่วน ทำให้ราคา Pool Gas มีราคาถูกลง ส่งผลให้การผลิตไฟฟ้าจากก๊าซมีราคาถูกลงกว่าที่ได้เคยประมาณการไว้"

อย่างไรก็ตาม กกพ. ได้คำนึงถึงปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เช่น ราคาเชื้อเพลิงที่มีแนวโน้มจะสูงขึ้น สภาวะเศรษฐกิจที่อาจยังไม่ฟื้นตัวในระยะสั้น ปัจจัยเสี่ยงใน เรื่องความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน รวมทั้งศักยภาพในการตรึงเอฟทีตลอดทั้งปี 64 แล้ว จึงมีมติให้เรียกเก็บค่าเอฟทีในอัตรา -15.32 สตางค์ ในรอบ ม.ค. – เม.ย. 64

สำหรับ ปัจจัยในการพิจารณาค่าเอฟที ในงวด ม.ค. – เม.ย. 64 ประกอบด้วย

1. ความต้องการพลังงานไฟฟ้าในช่วงเดือน ม.ค.– เม.ย. 64 เท่ากับประมาณ 60,685 ล้านหน่วย ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดือน ก.ย. – ธ.ค. 63 ที่คาดว่าจะมีความต้องการพลังงานไฟฟ้าเท่ากับ 58,910 ล้านหน่วย หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 3

2. สัดส่วนการใช้เชื้อเพลิงการผลิตไฟฟ้าในช่วงเดือน ม.ค. – เม.ย. 64 ยังคงใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงหลัก ร้อยละ 55.32 นอกจากนี้เป็นการซื้อไฟฟ้าจากต่างประเทศ ร้อยละ 14.92 ลิกไนต์ของ กฟผ. ร้อยละ 9.47 ถ่านหินนำเข้า ร้อยละ 8.31 และอื่นๆ อีก ร้อยละ 8.14

3. สถานการณ์ราคาเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้า โดยรวมราคาเชื้อเพลิงเฉลี่ยแต่ละประเภทเพิ่มขึ้นจากงวดที่ผ่านมา ยกเว้นราคาถ่านหินนำเข้าที่ปรับตัวลดลงจากงวด ก.ย. – ธ.ค. 2563

4. อัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ยที่ใช้ในการประมาณการ (วันที่ 1 – 31 ก.ย. 63) เท่ากับ 31.4 บาทต่อเหรียญสหรัฐ แข็งค่าขึ้นจากประมาณการในงวดเดือน ก.ย. – ธ.ค. 63 ที่ผ่านมา ที่ประมาณการไว้ที่ 32 บาทต่อเหรียญสหรัฐ

ทั้งนี้ สำนักงาน กกพ. จะดำเนินการรับฟังความคิดเห็นค่าเอฟทีสำหรับการเรียกเก็บประจำเดือนม.ค. – เม.ย. 64 ทางเว็บไซต์สำนักงาน กกพ. ตั้งแต่วันที่ 5 – 19 พ.ย.63 ก่อนที่จะมีการประกาศอย่างเป็นทางการต่อไป

(รูปประกอบจากสำนักงาน กกพ.) 


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ