รายงาน How Southeast Asia Buys and Pays 2025 ในปีนี้ ชี้ให้เห็นว่า การเติบโตของระบบชำระเงินแบบ Digital Payment ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEA) ตลอดช่วงที่ผ่านมากำลังสร้างโอกาสสำคัญใหม่ ๆ ให้กับธุรกิจการค้าข้ามพรมแดนที่มีการพัฒนาของระบบ Cross-Border Payment ที่มีประสิทธิภาพและคุ้มต้นทุนมากยิ่งขึ้น
สะท้อนให้เห็นว่า ระบบการชำระเงินไม่ได้เป็นเพียงโครงสร้างพื้นฐาน แต่เป็นตัวเร่งการเติบโตของธุรกิจ ซึ่งช่วยขับเคลื่อนรายได้มหาศาล อีคอมเมิร์ซอาเซียนโตแรง
อินโดนีเซียนำโด่ง ไทย-เวียดนาม-ฟิลิปปินส์เร่งเครื่องตาม ปัจจุบัน ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEA) ก้าวขึ้นเป็นเศรษฐกิจใหญ่อันดับที่ 5 ของโลก ด้วยอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ 4.3% ในปี 2023 และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 4.6% ในปี 2024 โดยมีอินโดนีเซียครองส่วนแบ่งตลาดสูงสุด ขณะที่ไทย เวียดนาม และฟิลิปปินส์ กำลังเร่งขยายตัวอย่างก้าวกระโดดจากแรงหนุนของระบบชำระเงินดิจิทัล การค้าในประเทศ และการท่องเที่ยว
ภายใน 4 ปี ตลาดอีคอมเมิร์ซอาเซียนจะมีมูลค่าสูงถึง 11 ล้านล้านบาท มูลค่าตลาดสูงถึง 11.21 ล้านล้านบาท หรือราว 325,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ภายใน 2571 ด้วยแรงหนุนจากการชำระเงินดิจิทัลและการค้าข้ามพรมแดนที่เติบโตการเติบโตของการชำระเงินดิจิทัล คาดการณ์ว่าภายใน 2571 การชำระเงินดิจิทัลจะมีสัดส่วนถึง 94% ของการชำระเงินทั้งหมดในตลาดอีคอมเมิร์ซในอาเซียน โดยการเติบโตที่สำคัญที่สุดจะเป็นช่องทางการชำระเงินภายในประเทศ (97.9%) และกระเป๋าเงินดิจิทัล (94.9%) ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการขยายตัวของอีคอมเมิร์ซในภูมิภาคที่มีการใช้บัตรเครดิตน้อยกว่าการเพิ่มขึ้นของการชำระเงินแบบเรียลไทม์ (RTPs) การชำระเงินแบบเรียลไทม์จะเติบโตอย่างก้าวกระโดดในปี 2571 โดยคาดว่าจะมีมูลค่ามากกว่า 379.5 ล้านล้านบาท (หรือราว 11 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ) ซึ่งเริ่มเห็นการเติบโตของ RTPs อย่างชัดเจนแล้วในสิงคโปร์ เช่น PayNow เป็นวิธีการชำระเงินที่ได้รับความนิยมสูงสุดเป็นอันดับสาม จากผลสำรวจผู้ค้าในปี 2567 การเติบโตของการชำระแบบเรียลไทม์ในอาเซียน หลังได้รับแรงผลักดันจากโครงการริเริ่มของรัฐบาลที่มุ่งลดการพึ่งพาเงินสดและส่งเสริมวิธีการชำระเงินที่รวดเร็วและมีต้นทุนต่ำ ซึ่งตอบสนองความต้องการของทั้งผู้บริโภคและผู้ค้ากระเป๋าเงินดิจิทัลและช่องทางการชำระเงินภายในประเทศครองความนิยม กระเป๋าเงินดิจิทัลและช่องทางการชำระเงินภายในประเทศเป็นที่นิยมในภูมิภาคนี้ โดยในปี 2566 กระเป๋าเงินดิจิทัลเป็นตัวเลือกที่ได้รับความนิยมสูงสุดในอินโดนีเซีย มาเลเซีย และเวียดนาม ขณะที่ ช่องทางการชำระเงินภายในประเทศครองความนิยมในสิงคโปร์ และไทย โดยแนวโน้มนี้ยังคงดำเนินต่อไปในปี 2567 โดยกระเป๋าเงินดิจิทัลเป็นวิธีการชำระเงินที่ได้รับการยอมรับเป็นอันดับสองจากผลสำรวจผู้ค้าในสิงคโปร์ และฟิลิปปินส์ และเป็นอันดับสามในอินโดนีเซียและไทย นอกจากนี้ ยังมีโอกาสสำคัญอีกมากมายจากธุรกิจการค้าข้ามพรมแดนภายในภูมิภาคอาเซียน
โอกาสในตลาดของธุรกิจการค้าข้ามพรมแดน คาดว่าธุรกิจการค้าข้ามพรมแดนภายในอาเซียนจะมีมูลค่าสูงถึง 5.04 แสนล้านบาท (หรือราว 14.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) ภายในปี 2571 ซึ่งนับว่าเติบโตขึ้น 2.8 เท่าจากปี 2566 อีกสิ่งที่น่าสนใจ คือ มูลค่าเฉลี่ยของการทำธุรกรรมข้ามพรมแดนในต่อผู้บริโภค 1 คนมักจะมีมูลค่าสูงกว่าการทำธุรกรรมภายในประเทศ ยกเว้นที่เวียดนามและอินโดนีเซีย สะท้อนให้เห็นถึงโอกาสทางธุรกิจที่สำคัญในภูมิภาคนี้การขับเคลื่อนธุรกิจการค้าข้ามพรมแดนด้วยโครงการ Regional Payment Connectivity (RPC) ธุรกิจการค้าข้ามพรมแดนได้รับการสนับสนุนเพิ่มเติมจากโครงการ RPC ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างประเทศทั้ง 6 ประเทศ (อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม) โดยมีเป้าหมายเพื่อเสริมสร้างและปรับปรุงระบบชำระเงินระหว่างประเทศให้มีความคล่องตัว มีประสิทธิภาพ และคุ้มต้นทุนยิ่งขึ้นธุรกรรมข้ามพรมแดนให้ผลตอบแทนที่สูงขึ้น จากการสำรวจพบว่า 62% ของผู้ค้าที่ทำธุรกิจการค้าข้ามพรมแดนสามารถทำรายได้จากธุรกรรมดังกล่าวสูงกว่าธุรกรรมภายในประเทศ โดยเฉลี่ย 21% ดังนั้น ผู้ค้าที่ต้องการขยายธุรกิจสามารถสร้างผลตอบแทนที่คุ้มค่าได้จากการมองหาตลาดในประเทศเพื่อนบ้านIDC บริษัทวิจัยข้อมูลตลาดและ 2C2P แพลตฟอร์มการชำระเงินระดับโลก ร่วมกับแอนทอม (Antom) จัดทำรายงานฉบับนี้ขึ้นเพื่อสำรวจภูมิทัศน์การชำระเงินดิจิทัลในภูมิภาค จากผู้ตอบแบบสอบถาม 600 รายในตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 6 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม ประกอบด้วยข้อมูลเกี่ยวกับแนวโน้มการชำระเงินในแต่ละตลาด รวมถึงข้อมูลเชิงลึกว่าแนวโน้มต่าง ๆ ที่มีส่วนช่วยพัฒนากลยุทธ์ทางธุรกิจและวางรากฐานสำหรับโอกาสการเติบโตในอนาคต อ่านเพิ่มเติม How Southeast Asia Buys and Pays 2025
ติดตามเพจ Facebook : Thairath Money ได้ที่ลิงก์นี้ -