Huawei ยก “เอเชียแปซิฟิก” ภูมิภาคแห่งโอกาส แบบอย่างด้านการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล

Tech & Innovation

Digital Transformation

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

Huawei ยก “เอเชียแปซิฟิก” ภูมิภาคแห่งโอกาส แบบอย่างด้านการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล

Date Time: 30 เม.ย. 2567 08:39 น.

Video

"CINDY CHAO The Art Jewel" สองทศวรรษอัญมณีศิลป์ | Brand Story Exclusive EP.4

Summary

  • หัวเว่ย (Huawei) และมูลนิธิอาเซียน (ASEAN Foundation) ร่วมจัดงานประชุม “Huawei Digital and Intelligent APAC Congress” เป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลและระบบอัจฉริยะชั้นนำ พร้อมทั้งร่วมกันหาแนวทางเพื่อพัฒนาภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกให้มีความเป็นดิจิทัลและอัจฉริยะ

หัวเว่ย (Huawei) และมูลนิธิอาเซียน (ASEAN Foundation) เป็นเจ้าภาพร่วมจัดงานประชุม “Huawei Digital and Intelligent APAC Congress” โดยมีเจ้าหน้าที่ภาครัฐ ผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ พันธมิตร และนักวิเคราะห์มากกว่า 1,500 คนจาก 15 ประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเข้าร่วมงานซึ่งจัดขึ้นที่กรุงเทพฯ 

โดยผู้เข้าร่วมงานได้ร่วมกันอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลและระบบอัจฉริยะพร้อมร่วมกันมองหาแนวทางเพื่อพัฒนาภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกให้มีความเป็นดิจิทัล

ซาบรีนา เมิ่ง รองประธาน ประธานหมุนเวียนตามวาระ และประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน หัวเว่ย
ซาบรีนา เมิ่ง รองประธาน ประธานหมุนเวียนตามวาระ และประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน หัวเว่ย

เริ่มต้นจาก ซาบรีนา เมิ่ง รองประธาน ประธานหมุนเวียนตามวาระ และประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน หัวเว่ย ที่ได้กล่าวในช่วงเปิดงานว่า "เอเชียแปซิฟิกไม่เพียงเป็นหนึ่งในภูมิภาคที่เต็มไปด้วยโอกาสมากที่สุดของโลก แต่ยังเป็นแบบอย่างสำหรับภูมิภาคอื่นๆ ที่กำลังพยายามขับเคลื่อนไปสู่ยุคดิจิทัลและพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลของตนเอง ซึ่งหัวเว่ยได้รับเกียรติให้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการขับเคลื่อนนี้ และมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมงานกับเหล่าลูกค้าและพันธมิตรที่มีส่วนในการขับเคลื่อนการพัฒนาด้านการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลให้กับภูมิภาค"

ขณะที่ นารายา เอส ซูปราปโต รองเลขาธิการแห่งสำนักงานเลขาธิการอาเซียน กล่าวว่า "ด้วยวิสัยทัศน์ที่มุ่งเน้นอนาคตของกรอบความตกลงเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน (ASEAN Digital Economy Framework Agreement: DEFA) เอื้อให้สังคมและชุมชนธุรกิจของเราได้มีกำลังขับเคลื่อนในการปลดล็อกศักยภาพด้านบริการดิจิทัลและเทคโนโลยีใหม่ๆ ได้อย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็น AI หรือการประมวลผลคลาวด์” 

“ทั้งนี้ ในการที่จะสร้างอนาคตแห่งความสำเร็จด้านดิจิทัลให้ทั่วทั้งภูมิภาค รัฐบาล เอกชน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่ายจำเป็นจะต้องนำแนวทางที่สอดคล้องกันมาใช้ส่งเสริมให้เกิดการเชื่อมต่อด้านดิจิทัล พร้อมลดความเหลื่อมล้ำด้านการพัฒนาในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน รวมถึงพัฒนาทักษะ และผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล"

ประเสริฐ จันทรรวงทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
ประเสริฐ จันทรรวงทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

ทางด้าน ประเสริฐ จันทรรวงทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ในฐานะตัวแทนจากประเทศไทยได้เผยถึงความเคลื่อนไหวในประเทศไทยว่า ประเด็นที่เราให้ความสำคัญเป็นอันดับต้นคือการเร่งการพัฒนาด้านดิจิทัลและเทคโนโลยีอัจฉริยะภายใต้แผนงาน "The Growth Engine of Thailand" เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลในฐานะกลไกการขับเคลื่อนหลักที่จะช่วยยกระดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย ตลอดจนเสริมประสิทธิภาพด้านความปลอดภัยสำหรับการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ และพัฒนาบุคลากรด้านดิจิทัลโดยรวมของประเทศ 

ทั้งนี้ โครงการสำคัญภายใต้แผนงานริเริ่มนี้ ได้แก่ 1.โครงการ Cloud First Policy 2.การพัฒนา AI สำหรับการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล (Digital ID) 3.การพัฒนาบุคลากรด้านดิจิทัล 4.การแก้ไขปัญหาการหลอกลวงทางออนไลน์ และ 5.โครงการความร่วมมือที่หลากหลายกับภาคเอกชน เพื่อพัฒนาและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลที่สอดคล้องกับทิศทางด้านดิจิทัลในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก" นายประเสริฐ กล่าว

ลีโอ เฉิน รองประธานอาวุโสของหัวเว่ย และประธานฝ่ายธุรกิจการขายหัวเว่ย เอ็นเตอร์ไพรส์
ลีโอ เฉิน รองประธานอาวุโสของหัวเว่ย และประธานฝ่ายธุรกิจการขายหัวเว่ย เอ็นเตอร์ไพรส์

และ ลีโอ เฉิน รองประธานอาวุโสของหัวเว่ย และประธานฝ่ายธุรกิจการขายหัวเว่ย เอ็นเตอร์ไพรส์ กล่าวว่า ปัจจุบัน ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกอยู่ในฐานะผู้นำในด้านเศรษฐกิจดิจิทัลและความอัจฉริยะ เราเชื่อว่าโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลและเทคโนโลยีอัจฉริยะซึ่งครอบคลุมทั้งด้านโครงข่าย การจัดเก็บ การประมวลผล และระบบคลาวด์ คือกุญแจสำคัญสู่การปลดล็อกด้านประสิทธิภาพ 

หัวเว่ย มีความเข้าใจเชิงลึกในอุตสาหกรรมที่หลากหลาย จึงมีความพร้อมและยินดีที่จะนำเทคโนโลยีและโซลูชันต่างๆ มาใช้ประโยชน์ รวมทั้งร่วมมือกับพันธมิตรในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับลูกค้า และเป็นผู้นำขับเคลื่อนความเป็นอัจฉริยะทางอุตสาหกรรมในระดับโลกและพัฒนาภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกให้เป็นศูนย์รวมด้านโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัลและเทคโนโลยีอัจฉริยะ 

ไซมอน หลิน ประธานกรรมการบริหาร หัวเว่ย ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
ไซมอน หลิน ประธานกรรมการบริหาร หัวเว่ย ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

ไซมอน หลิน ประธานกรรมการบริหาร หัวเว่ย ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ระบุ “ขณะที่เราเดินหน้ารับมือกับสภาวะที่เปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องในระหว่างการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล เป็นที่ประจักษ์ว่าสิ่งที่ทำนั้นจะต้องเป็นมากกว่าแค่การนำโซลูชันมาใช้ แต่คือการผนวกเทคโนโลยีเข้าเป็นส่วนหนึ่งของภาคเศรษฐกิจและสังคมในเชิงลึก” 

“ในขณะที่ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกได้เข้าสู่ยุคทองของการพัฒนาด้านเศรษฐกิจดิจิทัล หัวเว่ยมุ่งมั่นที่จะเป็นทั้งผู้สร้างสรรค์นวัตกรรมเทคโนโลยี ผู้บุกเบิกอุตสาหกรรม และผู้สนับสนุนประจำแต่ละพื้นที่ และด้วยความร่วมมือจากองค์กรธุรกิจและพันธมิตรด้านคลาวด์กว่า 10,000 ราย เราพร้อมที่จะขับเคลื่อนให้เกิดความสำเร็จและเร่งพัฒนาให้ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเปลี่ยนผ่านไปสู่เทคโนโลยีดิจิทัลและมีความอัจฉริยะอย่างแท้จริง”

อาเซียนร่วมมือ Huawei ลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำ ด้านเทคโนโลยี

ด้าน รองศาสตราจารย์ ดร.ปิติ ศรีแสงนาม ผู้อำนวยการบริหาร มูลนิธิอาเซียน ระบุถึงความสำคัญของ Digital Transformation ที่ไม่ใช่ทางเลือกแต่กลายมาเป็นสิ่งที่จำเป็น และการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลของอาเซียนก็จำเป็นจะต้องอาศัยความสามารถของเทคโนโลยีที่จะทำให้ทุกคนสามารถเข้าถึงโอกาสในยุคดิจิทัล 

ซึ่งมีการคาดการณ์ว่า ภายในปี 2030 เศรษฐกิจดิจิทัลในอาเซียนมีแนวโน้มจะเติบโตจาก 3 แสนล้านดอลลาร์มาอยู่ที่ 1 ล้านล้านดอลลาร์ 

ขณะเดียวบรรดาประเทศสมาชิกอาเซียนก็ได้ร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดเพื่อสร้างระบบนิเวศที่เชื่อมถึงกันภายใต้แผนแม่บทอาเซียนด้านดิจิทัล (ASEAN Digital Masterplan 2025) ซึ่งเป็นกรอบในการผลักดันให้อาเซียนเป็นภูมิภาคที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมด้วยดิจิทัล และกรอบความตกลงเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน

ซึ่งมูลนิธิอาเซียน หรือ ASEAN Foundation มุ่งมั่นที่จะส่งเสริมให้ทุกคนมีโอกาสในเศรษฐกิจดิจิทัลผ่านการดำเนินงานในโครงการที่มีเป้าหมายเพื่อเชื่อมช่องว่างความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศ 

หนึ่งในนั้นคือโครงการ “ASEAN Seeds for the Future” ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างมูลนิธิอาเซียนและหัวเว่ยที่เปิดโอกาสให้เยาวชนจากทั่วอาเซียนได้พัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยีดิจิทัล นอกจากนี้ รศ.ดร.ปิติ ก็ได้ระบุถึงความสำคัญของความร่วมมือกับหัวเว่ยที่มีส่วนสำคัญยิ่งในการบ่มเพาะ Talent และมีส่วนในการทรานส์ฟอร์มดิจิทัลในภูมิภาคอาเซียนที่จะเข้าถึงคนมากขึ้น

ติดตามเพจ Facebook : Thairath Money ได้ที่ลิงก์นี้ - https://www.facebook.com/ThairathMoney


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ