อัปเดตเทรนด์เทคโนโลยีจัดการอสังหาฯ ปี 67 มาแรงแข่งขันสูง ไทย ผู้นำตลาดSmart Securityในหมู่อาเซียน

Tech & Innovation

Digital Transformation

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

อัปเดตเทรนด์เทคโนโลยีจัดการอสังหาฯ ปี 67 มาแรงแข่งขันสูง ไทย ผู้นำตลาดSmart Securityในหมู่อาเซียน

Date Time: 30 ม.ค. 2567 00:09 น.

Video

บุกโรงงาน PANDORA ช่างไทยผลิตจิวเวลรี่ แบรนด์โลกแสนล้าน | On The Rise

Summary

  • อัปเดต 5 เทรนด์ Smart Facility Management ปีนี้ ระบบปลอดภัยอัจฉริยะ, หุ่นยนต์อัจฉริยะ , Digital Twin, Green Technology และ ระบบบริหารจัดการงานบำรุงรักษาด้วยคอมพิวเตอร์ (Computerized Maintenance Management System: CMMS)

ปีนี้ ธุรกิจการบริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่อยู่ในกระแสและเป็นที่จับตามอง เนื่องจากความต้องการที่อยู่อาศัยและพื้นที่เชิงพาณิชย์ที่เพิ่มขึ้นทั่วโลก โดยข้อมูลจาก Global Market Insights ชี้ว่าธุรกิจการบริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์นั้นมีมูลค่าตลาดรวมประมาณ 1 ล้านล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐในปี 2566 และคาดการณ์ว่าอัตราการเติบโตรายปีจะไม่น้อยกว่า 13% ในช่วง 9 ปีนี้ (2566-2575) 

ทั้งนี้ภาพรวมตลาดบริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทยนั้น มีมูลค่ารวมหลายหมื่นล้านบาท และมีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และภาคอุตสาหกรรมอื่นๆ เช่น อาคารสำนักงาน โรงงานอุตสาหกรรม โรงพยาบาล หรือศูนย์สุขภาพ

สำหรับเทรนด์ของ Smart Facility Management ในปี 2567 จะมีการต่อยอดและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีไม่ว่าจะเป็น Artificial Intelligence (AI), Big Data หรือ Internet of Things (IoT) ในหลากหลายรูปแบบมากขึ้น โดยเทรนด์หลักที่น่าสนใจมีดังนี้ 

Autonomous Robotics

หุ่นยนต์อัจฉริยะ กำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญในการบริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่ เช่น อาคาร สำนักงาน โรงแรม และสนามบิน หุ่นยนต์เหล่านี้ไม่ได้เข้ามาเพื่อทดแทนแรงงานมนุษย์ แต่จะเข้ามาเสริมประสิทธิภาพการทำงาน เพิ่มความปลอดภัย และลดความเสี่ยงให้กับพนักงาน 

โดยเฉพาะในงานที่ต้องสัมผัสกับสารเคมี อันตราย หรือต้องอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม เช่น หุ่นยนต์ทำความสะอาด ที่สามารถทำงานได้อย่างรวดเร็ว แม่นยำ และครอบคลุม โดยใช้ระบบนำทางด้วยเลเซอร์และกล้องสัญญาณ สามารถทำงานได้ 24 ชั่วโมง ทำให้ลดระยะเวลาในการทำความสะอาดได้อย่างมาก 

ปัจจุบันหุ่นยนต์เหล่านี้ได้ถูกพัฒนาไปถึงจุดที่สามารถทำงานได้เอง รวมถึงชาร์จไฟตัวเองได้ ซึ่งเทคโนโลยี Autonomous Robotics กำลังเปลี่ยนโฉมหน้าของธุรกิจบริหารจัดการสถานที่ขนาดใหญ่ และสร้างโอกาสใหม่ๆ ให้กับธุรกิจในอนาคต

Digital Twin

เทคโนโลยีฝาแฝดดิจิทัล กำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เป็นการต่อยอดจาก Digital Mapping และ 3D Visualization โดยมีการนำมาประยุกต์ใช้ในการประเมินการใช้พื้นที่แบบเรียลไทม์ สามารถที่จะป้อนข้อมูลและประเมินผลลัพธ์จำลองได้ทันที 

เทคโนโลยีนี้จึงมีส่วนช่วยในกระบวนการตัดสินใจและบริหารจัดการข้อมูลให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตได้อย่างมีนัยสำคัญ โดยสามารถประเมินทุกอย่างได้บนหน้าจอคอมพิวเตอร์ ไม่ต้องลงพื้นที่จริง ช่วยประหยัดเวลา ลดต้นทุน และตอบโจทย์คนทำงานในยุคนี้ได้เป็นอย่างดี Digital Twin จึงเป็นอีกหนึ่งกุญแจหลักในการยกระดับและทรานส์ฟอร์มการบริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์ทั้งในส่วนของการบริหารคน ระบบ และพื้นที่ให้เข้าสู่ยุคดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ

Smart Security

ประเทศไทยถือว่าเป็นหนึ่งในผู้นำตลาด Smart Security ในกลุ่มประเทศอาเซียนทั้งในเรื่องมูลค่าตลาดและความล้ำของเทคโนโลยีที่นำมาใช้ ในธุรกิจบริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์มีการนำเทคโนโลยี Smart Security เข้ามาใช้ในหลายส่วน ไม่ว่าจะเป็นการควบคุมคนเข้า-ออกอาคารด้วยเทคโนโลยีการจดจำใบหน้า กล้องวงจรปิดอัจฉริยะ หรือแม้แต่การอ่านป้ายทะเบียนรถอัจฉริยะ 

แม้ว่าเทคโนโลยีเหล่านี้จะมีมาหลายปีแล้ว แต่ก็ยังถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เช่น จากการอ่านใบหน้าคนหรืออ่านป้ายทะเบียนรถเพื่อควบคุมการเข้าออกอาคารนั้น เริ่มมีการใช้ AI เข้ามาตรวจจับใบหน้าหรือเลขทะเบียนรถในอาคาร และเชื่อมโยงระบบของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ระบบรักษาความปลอดภัย 

Green Technology

เทคโนโลยีสีเขียวถือเป็นหัวข้อที่ยังมาแรงและคนให้ความสนใจเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะเรื่องของสิ่งแวดล้อมไม่ได้เป็นแค่กระแสอีกต่อไป แต่เป็นเรื่องที่ผู้ประกอบการต้องหันมาให้ความสำคัญอย่างจริงจัง โดยต้องคำนึงถึงแนวคิด “เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม” เป็นสำคัญ ซึ่งพิจารณาจากกระบวนการผลิต การเลือกใช้วิธีการจัดการในแต่ละขั้นตอน และอุปกรณ์ต่างๆ ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างคุ้มค่า

นอกจากนี้ Green Technology ยังเป็นอีกหนึ่งตัวเร่งให้เกิด Smart Facility Management ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการประหยัดพลังงานโดยใช้ IoT เข้ามาช่วยบริหารจัดการ หรือการคำนวณการปล่อยคาร์บอนตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบ การเลือกใช้วัสดุจนถึงการบริหารจัดการภายในอาคารเพื่อลดการปล่อยคาร์บอนให้ได้มากที่สุด สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถทำธุรกิจได้อย่างยั่งยืนและลดต้นทุนในการประกอบการได้หากมีการวางแผนที่ดีและเลือกใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสม

ระบบบริหารจัดการงานบำรุงรักษาด้วยคอมพิวเตอร์ (Computerized Maintenance Management System: CMMS)

ในอนาคต CMMS จะเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในวงการ Smart Facility Management โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการจัดการสภาวะแวดล้อมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นศูนย์ข้อมูล โรงงานอุตสาหกรรม โรงพยาบาล ห้องไฟฟ้า ห้องเครื่อง หรือในที่อื่นๆ ที่ไม่สามารถให้เกิดการผิดพลาดได้ เพราะอาจจะเกิดความเสียหายสูงทั้งในเรื่องของเม็ดเงิน ความปลอดภัย หรือผลกระทบต่อสุขภาพประชาชนตลอดจนความไว้วางใจ

นายขยล ตันติชาติวัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เมทเธียร์ จำกัด (Metthier) เปิดเผยว่า ธุรกิจการบริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์เริ่มมีการแข่งขันสูง โดยเฉพาะเรื่องการนำเทคโนโลยีเข้ามาประยุกต์ใช้เพื่อยกระดับการให้บริการ อย่างไรก็ตาม ปัญหาการขาดแคลนแรงงานยังถือเป็นความท้าทายหลักในธุรกิจนี้ ทำให้ความต้องการในการจ้างงานบริษัทที่มีความเชี่ยวชาญด้านนี้โดยเฉพาะสูงขึ้นในฝั่งของผู้ให้บริการจึงมีการพัฒนาเทคโนโลยีและโซลูชันต่างๆ มาปรับใช้เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพ การลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน หรือตอบรับมาตรการรัฐด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งหากแบ่งตามประเภทของการบริการ ความต้องการในด้านการทำความสะอาดยังครองส่วนแบ่งสูงสุดในตลาดผู้ให้บริการการบริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทย ตามด้วยการให้บริการด้านการรักษาความปลอดภัย

“ธุรกิจ Smart Facility Management ในประเทศไทยยังมีโอกาสเติบโตได้อีกมาก ทั้งในภาคอุตสาหกรรม ภาคที่อยู่อาศัย หรือธุรกิจอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นอาคารสำนักงาน อาคารมิกซ์ยูส หรือธุรกิจโรงพยาบาลที่อัตราการเติบโตยังดี นอกจากนี้ จะยังมีการพูดถึงกันมากเรื่องของการบูรณาการ CMMS เข้ากับระบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ซอฟต์แวร์ทางการเงิน การบริหารจัดการข้อมูล ระบบธุรกิจอัจฉริยะ ระบบการบริหารจัดการพลังงาน และแพลตฟอร์ม PropTech"

ติดตามเพจ Facebook : Thairath Money ได้ที่ลิงก์นี้ - https://www.facebook.com/ThairathMoney 


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ