ปี 66 ไทยยังครองอันดับ 43  ความสามารถด้านนวัตกรรมโลก อว.ชี้ ต้องอาศัยเอกชน แล้วรัฐเป็นกองหนุน

Tech & Innovation

Digital Transformation

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

ปี 66 ไทยยังครองอันดับ 43 ความสามารถด้านนวัตกรรมโลก อว.ชี้ ต้องอาศัยเอกชน แล้วรัฐเป็นกองหนุน

Date Time: 29 ก.ย. 2566 13:29 น.

Video

วิธีเอาตัวรอดของ Wikipedia ไม่พึ่งโฆษณา ไม่มีค่าสมาชิก แต่อยู่มาได้ 23 ปี | Digital Frontiers

Summary

  • กระทรวงอว. โดยสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA เปิดผลการจัดอันดับดัชนีนวัตกรรมโลก เพื่อวัดระดับความสามารถด้านนวัตกรรมของ 132 ประเทศทั่วโลก ภายใต้ธีม “ผู้นำนวัตกรรมท่ามกลางความไม่แน่นอน” พบ ไทยยังครองอันดับที่ 43 คงเดิมกับปีที่แล้ว

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) โดยสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA เปิดผลการจัดอันดับดัชนีนวัตกรรมโลก ประจำปี 2566 พบ ไทยยังครองอันดับที่ 43 เช่นเดียวกับปีที่แล้ว

การจัดอันดับดัชนีนวัตกรรมโลก หรือ Global Innovation Index 2023 (GII 2023) จัดทำขึ้นภายใต้ธีม “ผู้นำนวัตกรรมท่ามกลางความไม่แน่นอน” (Innovation in the face of uncertainty) โดยองค์การทรัพย์สินทางปัญญาแห่งโลก (WIPO) เพื่อวัดระดับความสามารถทางด้านนวัตกรรมของ 132 ประเทศทั่วโลก

สำหรับประเทศที่มีดัชนีนวัตกรรมโลกดีที่สุด 10 อันดับ ได้แก่ 1.สวิตเซอร์แลนด์ 2.สวีเดน 3.สหรัฐฯ 4.สหราชอาณาจักร 5.สิงคโปร์ 6.ฟินแลนด์ 7.เนอเธอร์แลนด์ 8.เยอรมัน 9.เดนมาร์ก และ 10.เกาหลีใต้

ด้าน ศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เผยว่า อว. เห็นความสำคัญของการนำงานวิจัยและนวัตกรรมมาเป็นเครื่องมือขับเคลื่อนประเทศไทย
สู่ประเทศรายได้สูง และสร้างความพร้อมเพื่อแข่งขันในเวทีโลก แต่การที่นวัตกรรมไทยจะสามารถเติบโตอย่างก้าวกระโดดได้นั้น ต้องอาศัยความเข้มแข็งของภาคเอกชน โดยมีภาครัฐเป็นกองหนุนสำคัญที่จะสร้างการรับรู้ ส่งเสริมการทำงานร่วมกัน และก้าวสู่อันดับที่ 30 ภายในปี 2573 และถือเป็นวาระแห่งชาติที่ต้องเร่งดำเนินการ โดยมุ่งเน้น 6 แนวทาง ได้แก่

  • รัฐจะต้องเป็น Sandbox และ Accelerator ของนวัตกรรม
  • เร่งการเติบโตในการลงทุนทางนวัตกรรมเชื่อมกับการใช้ประโยชน์จากงานวิจัย
  • กระตุ้นกิจกรรมด้านตลาดการเงินนวัตกรรมและตลาดทุนทางเทคโนโลยี
  • เพิ่มจำนวนวิสาหกิจฐานนวัตกรรมเพื่อการปฏิรูปโครงสร้างทางธุรกิจ 
  • กระตุ้นการจดทะเบียนสิทธิบัตรและใช้ประโยชน์สิทธิบัตรเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าและบริการ
  • เพิ่มจำนวนนวัตกรรมฐานความคิดสร้างสรรค์และวัฒนธรรม

ทาง ดร.กริชผกา บุญเฟื่อง ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA กล่าวว่า ดัชนีนวัตกรรมโลกเป็นการจัดอันดับความสามารถทางนวัตกรรมของประเทศ
ต่างๆ ทั่วโลก ผ่านการประเมินตัวชี้วัดทั้งสิ้น 80 ตัวชี้วัด ซึ่งผลการจัดอันดับ GII สะท้อนให้เห็นว่า ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาประเทศไทยมีพัฒนาการความสามารถทางนวัตกรรมที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ด้วยการขับเคลื่อนของทุกภาคส่วนที่มีความพยายามจะพัฒนาและยกระดับความสามารถเพื่อก้าวเป็นประเทศชั้นนำที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม

ขณะเดียวกัน กลุ่มปัจจัยที่มีอันดับดีขึ้น ได้แก่ กลุ่มปัจจัยด้านโครงสร้างพื้นฐานดีขึ้น 5 อันดับ มาอยู่อันดับที่ 49 และกลุ่มปัจจัยด้านผลผลิตจากความคิดสร้างสรรค์ ที่ภาพรวมปรับตัวดีขึ้น 5 อันดับ มาอยู่ในอันดับที่ 44 โดยมีจุดแข็งด้านการส่งออกสินค้าสร้างสรรค์ (อันดับที่ 1) 

ส่วนกลุ่มปัจจัยที่ปรับอันดับลดลง ได้แก่ กลุ่มปัจจัยด้านสถาบัน กลุ่มปัจจัยด้านทุนมนุษย์และการวิจัย โดยปัจจัยด้านสถาบันอันดับลดลงมากที่สุดถึง 7 อันดับ อย่างไรก็ตามประเทศไทยยังคงรักษาประสิทธิภาพทางนวัตกรรมที่สะท้อนความคาดหวังตามระดับรายได้ (GDP per capita) คงอยู่ในระดับบวก มีความก้าวหน้าทางด้านนวัตกรรมที่สูงกว่าความคาดหมาย

นอกจากนี้ WIPO ยังได้เปิดผลการจัดอันดับ เมืองคลัสเตอร์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (GII Science and Technology Clusters) ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีนักวิจัย นักวิชาการ นักประดิษฐ์ นวัตกร ยื่นคำขอสิทธิบัตรและเผยแพร่บทความเป็นจำนวนมาก 100 อันดับแรกของโลก โดย 5 อันดับแรกอยู่ในทวีปเอเชียตะวันออก ได้แก่ 1.โตเกียว-โยโกฮาม่า 2.เซินเจิ้น-ฮ่องกง-กว่างโจว 3.โซล 4.ปักกิ่ง 5.เซี่ยงไฮ้-ซูโจว ส่วนประเทศไทย มีกรุงเทพฯืเป็นพื้นที่กลุ่มคลัสเตอร์ที่มีการขยายตัวที่สุด แต่ยังไม่ติดอันดับท็อป 100


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ