บล็อกเชน เอาไปใช้ทำอะไรได้อีกบ้าง มากกว่าแจกเงินผ่าน Digital Wallet?

Tech & Innovation

Digital Transformation

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

บล็อกเชน เอาไปใช้ทำอะไรได้อีกบ้าง มากกว่าแจกเงินผ่าน Digital Wallet?

Date Time: 19 ส.ค. 2566 08:01 น.

Video

3 มาตรการใหม่ ตลาดหลักทรัพย์ฯ คุมหุ้นร้อนผิดปกติ | Money Issue

Summary

  • บล็อกเชน (Blockchain) เทคโนโลยีเบื้องหลังนโยบาย Digital Wallet ที่กำลังเป็นที่สนใจของประชาชน ซึ่งมีความปลอดภัยสูงเหมาะสำหรับใช้ในธุรกรรม ขณะเดียวกันก็ยังมีประโยชน์สำหรับใช้บริหารจัดการข้อมูลอีกมากมาย

เป็นที่รู้กันว่าบล็อกเชน (Blockchain) คือการใช้เทคโนโลยีบัญชีแยกประเภทแบบกระจายศูนย์ หรือ Distributed Ledger Technology (DLT) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่มีความปลอดภัยสูง และได้ถูกนำมาใช้ใน Digital Wallet ของพรรคเพื่อไทย หรือนโยบายแจกเงิน 10,000 บาท แก่ประชาชนเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ 

อีกทั้งบล็อกเชนยังเป็นเทคโนโลยีที่จะเป็นประโยชน์กับโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินอย่างยิ่งในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล และการใช้บล็อกเชนเป็นเทคโนโลยีเบื้องหลังนโยบาย Digital Wallet ก็จะทำให้สามารถกำหนดเงื่อนไขการใช้เงินก้อนนี้ได้ ต่างจากการแจกเงินรูปแบบเดิมที่ไม่สามารถตรวจสอบการใช้จ่ายได้

อย่างไรก็ตามความสามารถของบล็อกเชนไม่ได้เป็นประโยชน์เพียงแค่สำหรับ Digital Wallet หรือ การทำธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ดิจิทัล อย่างคริปโต และ NFT เพียงเท่านั้น แต่ยังสามารถนำไปใช้เป็นเทคโนโลยีพื้นฐานสำหรับภาคส่วนต่างๆ ได้อีกมาก

แล้วบล็อกเชนทำอะไรได้อีกบ้าง

Smart Contract หรือ สัญญาอัจฉริยะ เป็นโปรแกรมบนบล็อกเชนที่ทำให้การดำเนินการตามสัญญาเป็นไปโดยอัตโนมัติ เมื่อเกิดการกระทำที่ตรงตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ เพื่อเป็นการรับประกันการดำเนินการตามที่ระบุไว้ในสัญญานั้นๆ 

จัดเก็บข้อมูลสุขภาพบนบล็อกเชน ซึ่งการจัดเก็บข้อมูลผู้ป่วยบนบล็อกเชนจะมีความปลอดภัยสูง และพร้อมสำหรับการใช้งาน เพราะสามารถส่งต่อได้โดยไร้ตัวกลาง และใช้สำหรับติดตามโรคและการระบาด ตลอดจนช่วยในการวิจัยและพัฒนายาที่เข้ากับผู้ป่วย

ใช้ในการทำงานภาครัฐ โดยนอกจากใช้ในการขับเคลื่อนนโยบาย Digital Wallet ยังเป็นประโยชน์กับสร้างความโปร่งใสเมื่อมีการลงคะแนนเสียงอะไรก็ตาม เนื่องจากไม่มีตัวกลาง และไม่สามารถแก้ไขข้อมูลบนบล็อกเชนได้

นอกจากนี้ ยังสามารถใช้เป็นพื้นที่จัดเก็บข้อมูลของประชาชน ซึ่งรวมไปถึงเอกสารและใบรับรองต่างๆ และเชื่อมข้อมูลทั้งประเทศเข้าไว้ด้วยกัน โดยประชาชนสามารถตรวจสองข้อมูลตนเอง รวมถึงทราบประวัติการใช้ข้อมูล ขณะเดียวกันก็ปลอดภัยจากการเข้าถึงข้อมูลของกลุ่มมิจฉาชีพอย่างในปัจจุบัน

ใช้บริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน เนื่องจากห่วงโซ่อุปทานทั่วโลกมีความซับซ้อนการใช้บล็อกเชนจึงเป็นการสร้างความโปร่งใส ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับบริษัทที่อยู่ในห่วงโซ่อุปทาน ทั้งยังช่วยรักษาข้อมูลที่เป็นความลับทางการค้า ตลอดจนเก็บประวัติการทำธุรกรรมในห่วงโซ่อุปทานโดยไม่สามารถแก้ไขได้

นี่เป็นเพียงตัวอย่างเล็กน้อยสำหรับกรณีการใช้งานบล็อกเชนในด้านต่างๆ เพราะยังมีพื้นที่อีกมากที่สามารถนำบล็อกเชนเข้าไปยกระดับให้มีมาตรฐานสูงขึ้น แต่ท้ายที่สุดก็ยังคงต้องดูว่าเหมาะสมหรือไม่ เพราะไม่ใช่ทุกปัญหาที่จะสามารถแก้ได้ด้วยบล็อกเชน 

อ้างอิง

ติดตามข่าวสารเทคโนโลยีและนวั ตกรรม ข่าวสารสตาร์ทอัพ บริษัท Tech Company รวมถึงสินทรัพย์ดิจิทัล คริปโต BTC ราคาบิทคอยน์ กระแสเหรียญคริปโต ธุรกิจและตลาดคริปโตเคอเรนซี่ ข่าวสารการเงินการลงทุนคริปโตล่ าสุด ได้ที่นี่

เทคโนโลยีและนวัตกรรม : https://www.thairath.co.th/money/tech_innovation 

ข่าวสารสตาร์ทอัพ : https://www.thairath.co.th/money/tech_innovation/startup 

สินทรัพย์ดิจิทัล คริปโต ข่าวคริปโต : https://www.thairath.co.th/money/tech_innovation/digital_assets


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการไทยรัฐออนไลน์