สถานีโทรทัศน์อินเดีย เปิดตัว ‘ลิซ่า’ ผู้ประกาศข่าว AI แต่ยังถูกวิจารณ์ห่างชั้นเรื่องทักษะจากมนุษย์

Tech & Innovation

Digital Transformation

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

สถานีโทรทัศน์อินเดีย เปิดตัว ‘ลิซ่า’ ผู้ประกาศข่าว AI แต่ยังถูกวิจารณ์ห่างชั้นเรื่องทักษะจากมนุษย์

Date Time: 31 ก.ค. 2566 17:51 น.

Video

วิธีเอาตัวรอดของ Wikipedia ไม่พึ่งโฆษณา ไม่มีค่าสมาชิก แต่อยู่มาได้ 23 ปี | Digital Frontiers

Summary

  • สถานีโทรทัศน์ของอินเดีย เปิดตัวผู้ประกาศข่าว AI คนแรกของช่อง โดยมีเป้าหมายในการนำเทคโนโลยีเข้ามาลดงานซ้ำซ้อนของพนักงาน เพื่อให้สามารถทำงานที่ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ได้อย่างเต็มที่ แต่ยังคงพบกับข้อถกเถียงว่า การรายงานข่าวโดย AI จะสามาถทำงานได้ดีเทียบเท่ามนุษย์หรือไม่

สถานีโทรทัศน์ Odisha TV ของอินเดีย เปิดตัวผู้ประกาศ AI คนแรกของช่องที่ชื่อว่า “Lisa” ซึ่งก็มีคำวิพากษ์วิจารณ์ในหลายแง่มุม ทั้งชื่นชมและตั้งคำถามถึงภาพลักษณ์ของการนำหุ่นยนต์มารายงานข่าว

ทางด้าน Jagi Mangat Panda ผู้ร่วมก่อตั้งและกรรมการผู้จัดการของ Odisha Television กล่าวถึงการเปิดตัวของผู้ประกาศข่าว AI ว่าเป็นความสำเร็จครั้งสำคัญของวงการโทรทัศน์และสื่อดิจิทัล พร้อมกล่าวถึงจุดประสงค์ของการใช้ AI ที่เข้ามาช่วยลดการทำงานซ้ำซ้อนจำเจ และทำให้พนักงานมีเวลาโฟกัสกับงานที่ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ เพื่อนำเสนอข่าวที่มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น

ขณะเดียวกันก็เกิดการถกเถียงเกี่ยวกับอนาคตของสื่อในประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลกอย่างอินเดีย ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีภาษาพูดหลายร้อยภาษา และมีเทคโนโลยี AI เข้ามาเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญในการเข้าถึงผู้ชม

โดยก่อนหน้านี้ก็ได้มีผู้ประกาศข่าว AI คนแรกของประเทศอย่าง “Sana” ที่เปิดตัวภายใต้ India Today Group บริษัทสื่ออีกแห่งของอินเดีย ซึ่งนอกจากจะสามารถรายงานข่าวสามภาษา ทั้งอังกฤษ ฮินดี และเบงกาลี ยังสามารถรายงานสภาพอากาศและรายงานข่าวได้อีกถึง 75 ภาษา ซึ่งเกินความสามารถของมนุษย์ไปไกลพอสมควร

สำหรับเทคโนโลยีที่อยู่เบื้องหลังการสร้างผู้ประกาศข่าว AI จะใช้ Machine Learning ในการวิเคราะห์ข้อมูลจากบทความข่าวไปเป็นวิดีโอ ซึ่งความเห็นของคนทำงานทีวีมองว่า AI จะเป็นประโยชน์กับอุตสาหกรรม เพราะจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย ลดความยุ่งยากในการทำงานกับคน และสามารถรายงานข่าวได้หลายภาษา พร้อมทำงานกับข้อมูลขนาดใหญ่ได้ในเวลาอันสั้น 

ขณะเดียวกันก็ยังมีผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับการใช้นักข่าว AI ในการรายงานข่าว เพราะความเสี่ยงของเทคโนโลยีจะเป็นตัวทำลายความน่าเชื่อถือของสื่อ โดยหุ่นยนต์นั้นยังขาดทักษะในการสังเกต และขาดประสบการณ์ ต่างจากนักข่าวที่เป็นมนุษย์ นอกจากนี้ยังมีคำวิจารณ์ว่าหุ่นยนต์ยังขาดความเป็นธรรมชาติและไม่น่าดึงดูด ซึ่งจุดนี้เป็นสาเหตุที่กระทบต่อความเชื่อถือของผู้ชม.

อ้างอิง 


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ