ลงทุน “พลังงานหมุนเวียน” พุ่ง แต่อาจใช้การไม่ได้ เพราะระบบจ่ายไฟไม่พอ รวมถึงระบบกักเก็บพลังงานน้อย

Sustainability

Tech For Sustainability

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

ลงทุน “พลังงานหมุนเวียน” พุ่ง แต่อาจใช้การไม่ได้ เพราะระบบจ่ายไฟไม่พอ รวมถึงระบบกักเก็บพลังงานน้อย

Date Time: 16 ก.ย. 2567 15:35 น.

Video

แก้เกมหุ้นไทยตกต่ำ ประธานตลาดหลักทรัพย์ฯ เปิดแผนฟื้นความเชื่อมั่น | Money Issue

Summary

  • แม้การลงทุนใน "พลังงานหมุนเวียน" จะเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่องในทุกปี แต่การพัฒนาด้าน Power Grid และ Storage ยังคงตามไม่ทันการเติบโตด้านพลังงาน ทำพลังงานที่ไม่ได้นำมาใช้งานพุ่งสูง เทียบเท่ากับพลังงานที่ผลิตจากเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ถึง 480 เครื่อง

Latest


ปัจจุบัน การลงทุนใน “พลังงานหมุนเวียน” หรือ “Renewable Energy” เพิ่มขึ้นจำนวนมาก จนสูงกว่าที่ลงทุนในพลังงานฟอสซิลเป็นเท่าตัวในปี 2024 ด้วยความเชื่อมั่นขององค์กรธุรกิจและนักลงทุนที่ต้องการจะผลักดันให้เกิดการพัฒนาในด้านความยั่งยืนมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม กลับมีข้อกังวลที่ตามมาคือ แม้จะมีการลงทุนในพลังงานหมุนเวียนจำนวนมหาศาล แต่การลงทุนในด้านโครงสร้างพื้นฐานด้านระบบจ่ายไฟฟ้าและระบบกักเก็บพลังงานยังคงน้อย คาดว่า ปัจจุบันมีการผลิตไฟฟ้าจากระบบพลังงานและไม่ได้จ่ายออกมาใช้งานสูงกว่าเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ถึง 480 เครื่อง

จากข้อมูลของ IEA พบว่า เมื่อปี 2023 ที่ผ่านมา มีพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้จากพลังงานหมุนเวียนเพิ่มขึ้น 560 กิกะวัตต์ หรือเพิ่มขึ้น 64% จากปี 2022 แต่กลับพบว่า มีหลายโปรเจกต์ที่ยังขาด Power Grid และระบบกักเก็บ เนื่องจากบางพื้นที่ยังขาดโรงผลิตกำลัง (Power Plants) และขาดโครงสร้างพื้นฐานระบบจ่ายไฟฟ้า ส่งผลให้มีปริมาณพลังงานมหาศาลที่ยังไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้

ภาพจาก Nikkei Asia
ภาพจาก Nikkei Asia

พลังงานหมุนเวียนที่ได้รับความนิยม อย่างเช่น โซลาร์เซลล์ พลังงานลม พลังงานน้ำ ซึ่งจากข้อมูลของปี 2023 พบว่า มีการลงทุนทั่วโลกในพลังงานเหล่านี้ไปแล้วทั้งสิ้น 670,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และหากเทียบกับช่วงปี 2015 จะเห็นว่า เพิ่มมากขึ้นเป็นเท่าตัว

แต่ในฝั่งของโครงสร้างพื้นฐานระบบจ่ายไฟฟ้า หรือ Power Grid ในปี 2023 มีการลงทุนอยู่ที่ประมาณ 330,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้เกิดข้อกังวลในด้านนี้ เนื่องจากการสร้างโรงผลิตไฟฟ้าใช้ระยะเวลาไม่นาน แต่การจะพัฒนา Power Grid ที่มีขนาดใหญ่ ๆ นั้นจะต้องใช้ระยะเวลายาวนานเป็นสิบปีเลยทีเดียว

นอกจากนี้ จากข้อมูลของ IEA ก่อนหน้านี้ได้มีการคาดการณ์ออกมาว่า ภายในปี 2050 สัดส่วนการลงทุนในพลังงานหมุนเวียนจะอยู่ที่ 60% แต่หากยังไม่สามารถหาทางออกให้กับประเด็น Power Grid นี้ได้ คาดว่า สัดส่วนจะลดลงเหลือเพียง 40% เนื่องจากบางประเทศจะเลือกที่จะใช้งานพลังงานฟอสซิลแบบดั้งเดิม อย่างแก๊สธรรมชาติหรือถ่านหินมากกว่า

ที่ผ่านมา รัฐบาลเกาหลีใต้ก็เพิ่งปฏิเสธการเข้ามาลงทุนของ BlackRock ที่จะสร้างทุ่งกังหันลม เนื่องจากประเทศยังขาดด้านโครงสร้างพื้นฐานระบบจ่ายไฟอยู่ ในขณะที่ประเทศญี่ปุ่นก็หันมาแก้ปัญหาดังกล่าว ด้วยการเปิดให้มีการลงทุนด้านพลังงานหมุนเวียน แต่ให้ใช้การเชื่อมต่อผ่านระบบจ่ายไฟที่มีเดิมอยู่แล้วแทน

ที่มา: Nikkei AsiaIEA

ติดตามเพจ Facebook : Thairath Money ได้ที่ลิงก์นี้ - https://www.facebook.com/ThairathMoney


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ