ไทยพาณิชย์ ประกาศแผน “อยู่ อย่าง ยั่งยืน” ตั้งเป้าสินเชื่อสีเขียว 2.3 ล้านล้านบาท ภายในปี 2050

Sustainability

Green Finance

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

ไทยพาณิชย์ ประกาศแผน “อยู่ อย่าง ยั่งยืน” ตั้งเป้าสินเชื่อสีเขียว 2.3 ล้านล้านบาท ภายในปี 2050

Date Time: 3 ก.ย. 2567 16:43 น.

Video

บรรยง พงษ์พานิช แกะปมเศรษฐกิจไทยโตต่ำ ฟื้นช้า พร้อมแนะทางออก

Summary

  • ไทยพาณิชย์ เดินหน้าภารกิจ “อยู่ อย่าง ยั่งยืน” ตั้งเป้าเป็นผู้นำพันธมิตรความยั่งยืนเคียงข้างลูกค้าสู่เป้าหมาย Net Zero
  • ผสานพลังเทคโนโลยีร่วมขับเคลื่อนความยั่งยืน ตั้งเป้าสินเชื่อสีเขียว 2.3 ล้านล้านบาท ภายในปี 2050

Latest


เราเคยตั้งคำถามไหมว่า “ความยั่งยืน” คืออะไร? เชื่อว่าหลายคนก็คงจะฉุกคิดเหมือนกันเมื่อถูกถามว่า “ความยั่งยืน” ในความเข้าใจของแต่ละคนคืออะไร?

บ้างก็อาจจะตอบว่า ความยั่งยืนคือการดูแลสิ่งแวดล้อม บ้างก็มองว่า ความยั่งยืนคือการทำสิ่งต่าง ๆ ในลักษณะที่ไม่ทำให้ทรัพยากรของโลกหมดไปหรือเสียหาย โดยเป็นการรักษาสมดุลระหว่างการพัฒนาเศรษฐกิจ การปกป้องสิ่งแวดล้อม และการสร้างสังคมที่เป็นธรรมและมีความเท่าเทียม หรือแม้กระทั่งการพัฒนาสิ่งที่มีอยู่ในปัจจุบันให้คงอยู่เพื่อต่อยอดสู่อนาคตและตอบสนองต่อความต้องการของคนในปัจจุบัน โดยที่ไม่ส่งผลกระทบต่อคนรุ่นหลัง ซึ่งแต่ละคำตอบล้วน “ไม่ผิด”

แต่ทำไมทุกคนต้องให้ความสำคัญกับคำ ๆ นี้? นั่นก็เพราะนี่คือประเด็นใหญ่ระดับโลกที่ทุกประเทศทั่วโลกต้องกำหนดทิศทางตามแนวทางขององค์การสหประชาชาติ หรือที่เรารู้จักกันดีคือ Sustainable Development Goals (SDGs) หรือ "เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน"

และอีกมุมหนึ่งคือ การไม่พูดเรื่องความยั่งยืนเห็นจะทำให้ตกขบวนเอาเสียง่ายๆ นั่นก็เพราะผลการศึกษาของ Sustainability Institute of ERM พบว่านักลงทุนมองประเด็นของความยั่งยืนมากขึ้น จากเดิมที่มองในแง่ของตัวเลขผลกำไรเป็นรายปี ดังนั้น ความยั่งยืนจึง “ไม่ใช่ทางเลือก” แต่เป็น “ทางรอด” ที่ทุกคนต้องก้าวไปด้วยกัน

อยู่ อย่าง ยั่งยืน “ไม่ใช่ทางเลือก” แต่คือ “ทางรอด”

เช่นเดียวกันกับ ธนาคารไทยพาณิชย์ หรือ SCB ที่มีอายุอานามกว่า 117 ปี ถ้าหากเทียบเป็นคนหนึ่งคน ก็คงจะผ่านร้อนผ่านหนาวมาไม่น้อย แต่นั่นก็ไม่ได้ทำให้ภาพลักษณ์ของธนาคารใบโพธิ์แห่งนี้เก่าแก่ไปตามกาลเวลา เพราะจากการมีพันธกิจที่มุ่งสู่ธนาคารชั้นนำด้านความยั่งยืน (The Leading Sustainable Bank) ด้วยแนวคิด “อยู่ อย่าง ยั่งยืน” ผ่านการผสานศักยภาพเทคโนโลยีและนวัตกรรมร่วมขับเคลื่อนธุรกิจและสภาพแวดล้อมที่ยั่งยืนทั้งในระดับธนาคาร ลูกค้า และสังคม พร้อมมองความยั่งยืนเป็นเรื่องที่ทุกคนต้องให้ความสำคัญ ทำให้ภาพของธนาคารไทยพาณิชย์ หรือ SCB ดูเป็นเหมือนเด็กรุ่นใหม่ก็ไม่ผิดเพี้ยน

กฤษณ์ จันทโนทก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า ธุรกิจในปัจจุบันกำลังถูกขับเคลื่อนด้วยความท้าทายใหม่อย่างต่อเนื่อง ทั้งความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีดิจิทัล และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่ส่งผลต่อภาวะโลกร้อนอันเป็นผลต่อเนื่องมาถึงการดำเนินธุรกิจและการดำเนินชีวิตของผู้คนที่จะต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับทิศทางสังคมคาร์บอนต่ำด้วยการปรับนโยบายและกำหนดเป้าหมายด้านความยั่งยืน

เห็นได้จากโอกาสบนความท้าทาย ไม่ว่าจะเป็น 39 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ คือเม็ดเงินที่โลกจะลงทุนสู่ Net Zero รวมทั้ง 27 ล้านตำแหน่งงานใหม่ทั่วโลกในปี 2030 ที่เกิดจากการลงทุนด้านเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม รวมทั้ง 5 ล้านล้านบาท คือแนวโน้มการเติบโตของเศรษฐกิจดิจิทัลไทยในปี 2030 ทุกความท้าทายจึงล้วนนำมาซึ่งโอกาสเสมอ

ดังนั้น การที่ภาคธุรกิจทั้งระบบกำลังปรับตัวไปพร้อม ๆ กันนี้ นับเป็นโอกาสที่จะสร้างการขยายตัวให้เศรษฐกิจครั้งใหม่ได้อย่างมหาศาล ด้วยกลยุทธ์ Digital Bank with Human Touch ที่เป็นแกนหลักในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจของธนาคารซึ่งครอบคลุมถึงมิติด้านความยั่งยืนที่มีการดำเนินงานด้านนี้อย่างจริงจังและเป็นรูปธรรมมาตลอด 3 ปี โดยมุ่งมั่นเป็นธนาคารชั้นนำแห่งความยั่งยืน ธนาคารจึงได้กำหนดแนวคิด “อยู่ อย่าง ยั่งยืน” เพื่อเป็นหลักปฏิบัติที่จะนำการเปลี่ยนผ่านสู่ความยั่งยืนให้เกิดขึ้นในทุกคน

โดยธนาคารได้วางเป้าหมายสู่ความยั่งยืนใน 3 ระยะสำคัญ ได้แก่

  1. สนับสนุนลูกค้าเปลี่ยนผ่านสู่ความยั่งยืนด้วยสินเชื่อและการลงทุนเพื่อความยั่งยืนไว้จำนวน 150,000 ล้านบาท ภายในปี 2025 โดยปัจจุบัน ณ สิ้นไตรมาสที่ 2/2024 ได้สนับสนุนสินเชื่อไปแล้วกว่า 1.11 แสนล้านบาท (โดยนับตั้งแต่ปี 2023)

  2. ปรับการดำเนินงานองค์กรสู่ Net Zero ภายในปี 2030

  3. เป็นธนาคารไทยแรกที่ตั้งเป้า Net Zero 2050 จากการให้สินเชื่อและการลงทุนตามหลักการทางวิทยาศาสตร์ หรือ Science-Based Targets Initiative (SBTi) ซึ่งเป็นมาตรฐานระดับโลก ด้วยแผนการเปลี่ยนผ่านพอร์ตสินเชื่อทั้ง 2.3 ล้านล้านบาทสู่พอร์ตสินเชื่อสีเขียว

และเพื่อบรรลุผลตามเป้าหมายข้างต้น ธนาคารจึงได้วางกรอบการดำเนินงานด้านความยั่งยืนสำหรับการส่งต่อความยั่งยืนให้กับผู้เกี่ยวข้อง แบ่งเป็น 3 แกน ประกอบด้วย

  1. Sustainable Banking สนับสนุนการเงินยั่งยืนแก่ลูกค้า เพื่อสนับสนุนลูกค้าลดความเสี่ยงจากการทำธุรกิจกับคู่ค้า และมุ่งสู่เป้าหมาย Net Zero ไปด้วยกัน อีกทั้งยังเป็นการเสริมโอกาสทางธุรกิจ ลูกค้าสามารถใช้ประโยชน์จากสินเชื่อเพื่อความยั่งยืนในการสร้างสรรค์และพัฒนาสินค้าและบริการใหม่ ๆ

  2. Corporate Practice Excellence นำไทยพาณิชย์สู่องค์กรแห่งความยั่งยืน โดยมีการจัดตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านความยั่งยืน และได้กำหนดเป้าหมาย Net Zero 2030 จากการดำเนินงานภายใน ทั้งทางด้านการปรับเปลี่ยนการใช้พลังงานในองค์กรให้เป็นระบบประหยัดพลังงาน และเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานสะอาด พร้อมปลูกฝัง DNA ความยั่งยืนให้พนักงาน ควบคู่ไปกับแผนการเพิ่มประสิทธิภาพและความสามารถของธนาคารตามยุทธวิธี AI-First Bank

  3. Better Society พัฒนาสังคมที่ดียิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการร่วมสร้างระบบนิเวศทางด้านการเงินและดิจิทัลมอบองค์ความรู้และส่งเสริมการเข้าถึงเทคโนโลยีให้ผู้คนในรูปแบบที่เป็นไปได้ อาทิ ความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ก่อให้เกิดเป็นโครงการ Smart University และ Smart Hospital โดยมีผู้ได้รับประโยชน์จากโครงการแล้วกว่า 400,000 ราย

“บทบาทของธนาคารในการช่วยสังคมยุคปัจจุบันให้อยู่อย่างยั่งยืน คือการสนับสนุนและจัดสรรเงินทุนเพื่อรองรับการดำเนินงานด้านความยั่งยืน รวมทั้งการดำเนินธุรกิจอย่างรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และอยู่ภายใต้หลักธรรมาภิบาลที่ดี”

ดร.ยรรยง ไทยเจริญ รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจ Wealth และประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนด้านความยั่งยืน ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวถึงกลยุทธ์เป้าหมาย Net Zero ของธนาคารเพื่อสนับสนุนการปรับตัวของลูกค้าสู่สังคมคาร์บอนต่ำ ว่า ธนาคารวางกรอบพันธกิจในการผลักดันเป้าหมาย Net Zero สำหรับพอร์ตสินเชื่อและการลงทุน (Scope 3 Category 15 Investment) ภายในปี 2050 ตามมาตรฐาน SBTi

ซึ่งถือเป็นมาตรฐานแนวทางการลดก๊าซเรือนกระจกที่ได้รับการยอมรับมากที่สุด จากกรอบการดำเนินงานที่อยู่บนพื้นฐานวิทยาศาสตร์ โปร่งใส และตรวจสอบได้ สะท้อนจากกว่า 8,800 องค์กรธุรกิจชั้นนำของโลกที่ได้ให้คำมั่นหรือประกาศเป้าหมายที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG) ตามกรอบ SBTi

โดยธนาคารไทยพาณิชย์ภายใต้ทิศทางนโยบายของ SCBX จึงนับเป็นสถาบันการเงินแห่งแรกของไทยที่ประกาศเจตจำนงสู่เป้าหมาย Net Zero ตามกรอบ SBTi ซึ่งตอกย้ำวิสัยทัศน์และความมุ่งมั่นของธนาคารไทยพาณิชย์ในการเป็นผู้นำในการแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อนและสร้างความพร้อมให้กับเศรษฐกิจไทยต่อความท้าทายและโอกาสของสังคมคาร์บอนต่ำ

รวมทั้งธนาคารได้ดำเนินการผ่านกลยุทธ์ 3 ด้าน ดังนี้

  1. การบริหารพอร์ตสินเชื่อของธนาคารให้สอดคล้องกับ Net Zero Target (Net Zero Financed Portfolio Management) ด้วยการวางแผนกลยุทธ์ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในกลุ่มลูกค้ารายอุตสาหกรรม (Sector Decarbonization Strategy)

    โดยในธุรกิจพลังงานไฟฟ้า ซึ่งธนาคารไทยพาณิชย์ได้เป็นผู้นำด้านการปล่อยสินเชื่อโรงงานไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนของไทยมายาวนาน โดยมีมูลค่าวงเงินอนุมัติสินเชื่อกว่า 1.98 แสนล้านบาทระหว่างปี 2011 ถึงปัจจุบัน ส่งผลให้สัดส่วนสินเชื่อพลังงานไฟฟ้าหมุนเวียนในปัจจุบันคิดเป็น 61% ของพอร์ตโรงไฟฟ้าของธนาคาร เทียบเคียงธนาคารชั้นนำของโลก

  2. การสนับสนุนลูกค้าตลอดเส้นทางการเติบโตอย่างยั่งยืน (Partner for Client’s Sustainability Journey) ด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการด้านการเงินยั่งยืนที่ครบถ้วน และตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าทุกขนาดในแต่ละอุตสาหกรรม

  3. การบริหารจัดการความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมตามหลักการ Equator Principles เพื่อสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) และข้อตกลงปารีสว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยผลักดัน ‘การให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบ’ สู่ ‘การยกระดับการเงินที่ยั่งยืน’

ติดตามข่าวสารด้าน Sustainability ได้ที่นี่

ติดตามเพจ Facebook: Thairath Money ได้ที่ลิงก์นี้ - https://www.facebook.com/ThairathMoney


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ