ประเทศกำลังพัฒนาติดหล่ม แก้ปัญหาโลกร้อน ขาดเงินทุน ที่จำเป็นต้องใช้มากกว่า 1 ล้านล้านเหรียญต่อปี

Sustainability

Green Finance

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

ประเทศกำลังพัฒนาติดหล่ม แก้ปัญหาโลกร้อน ขาดเงินทุน ที่จำเป็นต้องใช้มากกว่า 1 ล้านล้านเหรียญต่อปี

Date Time: 7 ส.ค. 2566 19:02 น.

Video

บัญชีม้า เกลื่อนเมือง คนไทยอยู่อย่างไร ใครต้องรับผิดชอบ ? | Money Issue

Summary

  • อดีตผู้บริหารธนาคารโลก กล่าวว่า ประเทศกำลังพัฒนาจำเป็นที่จะต้องใช้เงินกว่า 1-3 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี เพื่อสร้างความก้าวหน้าในการเปลี่ยนแปลงด้านสภาพภูมิอากาศ

Latest


มารี เอลกา ปังตะซุ อดีตผู้บริหารธนาคารโลก และอดีตรัฐมนตรีการค้าและการท่องเที่ยวของอินโดนีเซีย ให้สัมภาษณ์กับ CNBC ว่า ประเทศกำลังพัฒนาต้องการเงิน 1 -3 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี เพื่อเปลี่ยนไปใช้แหล่งพลังงานที่สะอาดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ และลดการปล่อยคาร์บอนสูง

โดยเธอให้มุมมองอีกว่า การขาดเงินทุนทำให้เหล่าประเทศกำลังพัฒนาสามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน และเปลี่ยนมาใช้พลังงานสะอาดได้ยาก และสิ่งนี้เองที่จะนำไปสู่ความตึงเครียดระหว่างประเทศกำลังพัฒนา และประเทศที่พัฒนาแล้ว ที่มีความคืบหน้าอย่างมากในการผลักดันเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสภาพอากาศ รวมถึงยังเน้นย้ำว่าเหล่าประเทศกำลังพัฒนาจะต้องพิจารณาให้ครอบคลุมทั้งด้านการพัฒนาประเทศและสภาพอากาศ เนื่องจากทั้งสองประเด็นเกี่ยวพันอย่างแยกจากกันไม่ได้ 

สิ่งสำคัญของการเปลี่ยนผ่านจากการปล่อยมลพิษสูงไปสู่พลังงานสะอาด การเปลี่ยนแปลงนี้ต้องใช้ทรัพยากรจำนวนมากในการจัดการกับความซับซ้อนทางการเงินและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

ในการประชุมรัฐมนตรีด้านสภาพอากาศของกลุ่ม G20 ในอินเดียเมื่อเร็วๆ นี้ได้เน้นย้ำถึงความท้าทายในการบรรลุฉันทามติในเรื่องสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการจัดหาเงินทุนด้านสภาพอากาศสำหรับประเทศกำลังพัฒนา แต่ผลสรุปปรากฏว่าไม่มีทิศทางร่วมกัน ส่งผลให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์จากนักเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมอย่างมาก ทั้งยังสร้างความกังวลเกี่ยวกับวิกฤติสภาพอากาศที่ทวีความรุนแรงขึ้นด้วย

อดีตผู้บริหารธนาคารโลก ได้เรียกร้องให้มีความร่วมมือระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมากขึ้นเพื่อจัดการกับวิกฤตสภาพอากาศอย่างเร่งด่วน โดยเธอเน้นย้ำถึงความจำเป็นในการสนับสนุนทางการเงินจากประเทศที่พัฒนาแล้ว เพื่อช่วยในการเปลี่ยนจากเชื้อเพลิงฟอสซิล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการชดเชยบริษัทเอกชนสำหรับการเลิกใช้โรงไฟฟ้าถ่านหินก่อนกำหนด

จากความล้มเหลวในการบรรลุข้อตกลงในการประชุมสภาพภูมิอากาศของกลุ่ม G20 ได้กระตุ้นให้มีการเรียกร้องให้ประเด็นดังกล่าวกลายเป็นวาระเร่งด่วน โดยเน้นย้ำถึงความจำเป็นสำหรับความพยายามระดับโลกที่เป็นหนึ่งเดียวเพื่อแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และจัดหาเงินทุนที่จำเป็นสำหรับโครงการที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศกำลังพัฒนา

อ้างอิง : CNBC 




Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ