International Energy Agency (IEA) เผยแพร่รายงาน Global investment in clean energy 2023 การลงทุนในพลังงานสะอาดทั่วโลกฉบับล่าสุด ระบุ ปีนี้มีการลงทุนในเทคโนโลยีพลังงานสะอาด มากกว่า 1.7 ล้านล้านดอลลาร์หรือราว 58.9 ล้านล้านบาท และยังคาดการณ์ว่าจบปีมูลค่าจะสูงถึง 2.8 ล้านล้านดอลลาร์ (97 ล้านล้านบาท) แซงหน้าการพลังงานเชื้อเพลงฟอสซิลหรือการผลิตน้ำมันเป็นครั้งแรก โดยกลุ่มที่มีการลงทุนมากที่สุด คือ พลังงานแสงอาทิตย์ ที่มีสัดส่วนมากกว่า 90% และยังมีคาดการณ์ว่าสามารถดึงดูดเงินได้มากกว่า 1 พันล้านดอลลาร์ (34.6 พันล้านบาท) ต่อวันอีกด้วย
IEA ระบุว่า ปัจจัยที่ทำให้ดีมานด์พุ่ง อันดับแรกเป็นเพราะค่าใช้จ่ายของกลุ่มพลังงานสะอาด เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ ลม ถูกลงอย่างต่อเนื่อง ปัจจัยสอง คือ การผลักดันนโยบายพลังงานที่เพิ่มมากขึ้นของหลายประเทศ รัฐบาลหลายประเทศเห็นพ้องตรงกันว่า พลังงานสะอาด คือ ทางออกที่ยั่งยืนสำหรับปัญหาความมั่นคงด้านพลังงาน นอกเหนือจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ปัจจัยที่สาม มาตรการในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นผลจากบทบาท ของเทคโนโลยีสมัยใหม่ เช่น การออกพระราชบัญญัติเพื่อดึงดูดนักลงทุนและผู้ประกอบการสำหรับการผลิตเทคโนโลยีพลังงานสะอาด เช่น แบตเตอรี่ รถยนต์ไฟฟ้า แผงโซลาร์เซลล์ ตัวอย่าง Inflation Reduction Act ของสหรัฐฯ และในประเทศอื่นๆ ญี่ปุ่น อินเดีย จีน หรือ ยุโรป ที่มีร่างกฎหมายส่งเสริมและกีดกันด้านการใช้พลังงานในภาคการผลิต เป็นต้น
ทั้งนี้ช่วงปี 2565 เกิดความผันผวนอย่างรุนแรงในตลาดเชื้อเพลิงฟอสซิลจากสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครน แม้จะเกิดการช่วงชิงการจัดหาน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ แต่ก็เป็นส่วนสำคัญที่เป็นเร่งแรงขับเคลื่อนการปรับใช้เทคโนโลยีพลังงานสะอาดหลากหลายประเภท โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศเศรษฐกิจที่พึ่งพาการนำเข้า และพยายามสร้างฐานด้านเศรษฐกิจจกาพลังงานสะอาด (Clean energy economy) โดยประเทศที่มีการใช้จ่ายด้านพลังงานสะอาดเพิ่มขึ้นมากที่สุด คือ จีน
อย่างไรก็ตาม ถ่านหิน ก๊าซ และน้ำมัน มีตัวเลขการลงทุนมากกว่า 1 ล้านล้านดอลลาร์ ซึ่งถือว่ายังสูงอยู่เช่นเดียวกัน แต่ตัวเลขการลงทุนในด้านเทคโนโลยีพลังงานสะท้อนให้เห็นอุปสงค์ด้านพลังงานสะอาดที่เพิ่มขึ้นทั่วโลกอย่างมีนัยสำคัญ
อ้างอิง IEA