แผนขับเคลื่อน “สมาร์ทกริด”

Sustainability

ESG Strategy

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

แผนขับเคลื่อน “สมาร์ทกริด”

Date Time: 30 พ.ย. 2567 06:06 น.

Summary

  • ในปัจจุบันจะพบได้ว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพความเป็นอยู่ของสังคม และการพัฒนาทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม ทำให้การเติบโตของความต้องการใช้ไฟฟ้าเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง ขณะที่ความต้องการคุณภาพพลังงานไฟฟ้า และการบริการที่ดี จากหน่วยงานการไฟฟ้าของผู้ใช้ไฟฟ้าในปัจจุบันที่มีความละเอียดอ่อน ซับซ้อนมากยิ่งขึ้น

Latest

“TIPMSE” เตือนรับมือ “EPR”

ในปัจจุบันจะพบได้ว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพความเป็นอยู่ของสังคม และการพัฒนาทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม ทำให้การเติบโตของความต้องการใช้ไฟฟ้าเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง

ขณะที่ความต้องการคุณภาพพลังงานไฟฟ้า และการบริการที่ดี จากหน่วยงานการไฟฟ้าของผู้ใช้ไฟฟ้าในปัจจุบันที่มีความละเอียดอ่อน ซับซ้อนมากยิ่งขึ้น

ทำให้แนวทางการพัฒนาระบบโครงข่ายไฟฟ้าให้เป็นระบบโครงข่ายสมาร์ทกริด (Smart Grid) จึงเป็นแนวทางที่ประเทศต่างๆทั่วโลกให้ความสำคัญในการพัฒนาสมาร์ทกริด

ตามแผนการขับเคลื่อนสมาร์ทกริดของประเทศไทย ขณะนี้อยู่ในแผนการขับเคลื่อนระยะปานกลาง (ปี 2565-2574) ประกอบด้วย 3 ด้าน คือ 1.การบริหารการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านสมาร์ท

กริดของประเทศไทย 2.การเตรียมความพร้อมด้านเทคโนโลยีและโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อรองรับการเปลี่ยนผ่านทางด้านพลังงาน 3.การพัฒนาโอกาสทางธุรกิจของภาคเอกชน

แผนระยะปานกลางยังประกอบด้วยกิจกรรมอื่นๆที่มีความสำคัญและจำเป็นที่ต้องดำเนินการคู่ขนานกันไปด้วย ภาครัฐจึงกำหนดไว้ใน “แผนอำนวยการสนับสนุน” โดยภาพรวมจะเน้นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและเทคโนโลยี ทั้งด้านระบบไฟฟ้าและด้านดิจิทัล

ในด้านระบบไฟฟ้า (Grid Infrastruc ture) จะมีการผลักดันให้เกิดการติดตั้ง และใช้งานมิเตอร์อัจฉริยะ (AMI) ให้ครอบคลุมกลุ่ม ผู้ใช้ไฟฟ้าทุกประเภท การพัฒนาสถานีไฟฟ้าอัจฉริยะ (Smart Sub station) ให้ครอบคลุม ทุกระดับ จนถึงระบบจำหน่าย (Smart Distribution) เพื่อเป็นโครงสร้างพื้นฐานหลัก รองรับสมาร์ทกริดในอนาคต

แผนอำนวยการสนับสนุนภายใต้แผนการขับเคลื่อนฯ คือ การพัฒนาเทคโนโลยีสมัยใหม่ เพื่อสนับสนุน พัฒนาให้เกิดรูปแบบธุรกิจใหม่ๆที่จะมีการเชื่อมโยงภารกิจของหน่วยงานต่างๆรวม 5 หน่วยงาน ประกอบด้วย

สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) จะทำการศึกษาการบริหารแผนการขับเคลื่อนฯระยะปานกลางปี 2565-2574 เพื่อกำหนดนโยบาย Grid & Digital Infrastruc ture หรือการพัฒนาความร่วมมือและเชื่อมโยงข้อมูล และระบบสั่งการร่วม ระหว่าง การไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง คือ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.)

สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานศึกษากรอบ/ หลักเกณฑ์ กฎระเบียบ ข้อกำหนด มาตรฐานการเชื่อมต่อและการสื่อสารที่จำเป็นและเหมาะสมต่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อรองรับการซื้อขายพลังงานหมุนเวียน (RE) และ Disruptive Technology (นวัตกรรมเทคโนโลยี)

การไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง โดย กฟผ.จะพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ด้านโครงข่ายระบบไฟฟ้าอัจฉริยะ (Grid Modernization) ของ กฟผ., กฟน.จะเป็นผู้พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านโครงข่ายระบบไฟฟ้าอัจฉริยะของ กฟน. อาทิ ติดตั้งมิเตอร์อัจฉริยะ (AMI) สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้า ส่วน กฟภ.พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านโครงข่ายระบบไฟฟ้าอัจฉริยะของ กฟภ.

จึงสรุปได้ว่า การจัดทำแผนการขับเคลื่อนระยะปานกลางมีความสำคัญและก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาระบบไฟฟ้าในอนาคต เพื่อให้เกิดการเชื่อมต่อและใช้ประโยชน์จากแหล่งพลังงานแบบกระจายศูนย์ (DER) ประเภทต่างๆที่จะเติบโตตามแนวโน้มของโลก ร่วมกับระบบโครงข่ายไฟฟ้าให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

สนับสนุนให้ประเทศไทยก้าวไปสู่ประเทศพลังงานสะอาด ลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2608

อ่าน "คอลัมน์หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ" ทั้งหมดที่นี่


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ