ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากธุรกิจ Fast Fashion หรือสินค้าแฟชั่นตามกระแสที่มาไวไปไว กลายเป็นประเด็นที่น่ากังวลมาอย่างยาวนาน จากรายงานของ Earth.Org พบว่า ในกระบวนการผลิตสินค้ากลุ่มนี้จะมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 10% ของการปล่อยก๊าซทั้งหมด หรือเท่ากับการปล่อยก๊าซของสหภาพยุโรป
นอกจากนี้ ในกระบวนการผลิตสินค้า Fast Fashion ยังส่งผลกระทบต่อระบบน้ำ เนื่องจากต้องใช้น้ำปริมาณมาก และยังมีการปล่อยสารพิษลงสู่แม่น้ำและทะเล ซึ่งพบว่าในแต่ละปีไมโครพลาสติกกว่า 500,000 ตันไหลลงสู่ทะเล ซึ่งปริมาณนี้เทียบเท่ากับขวดพลาสติกกว่า 50,000 ล้านใบเลยทีเดียว
ยิ่งไปกว่านั้น ในแต่ละปีสินค้าแฟชั่นทั้งที่ขายออกไปแล้วและที่ขายไม่ได้เนื่องจากคุณภาพไม่ผ่านการตรวจสอบ คิดเป็นประมาณ 85% ของสิ่งทอทั้งหมด ถูกทิ้งลงในกองขยะ สร้างมลพิษต่อดินอีก
ปัญหานี้ส่งผลให้แบรนด์ผู้ผลิตสินค้าแฟชั่นต้องเร่งปรับตัว ปั้นภาพลักษณ์แบรนด์ใหม่ให้ใส่ใจต่อความยั่งยืนมากขึ้น จนเกิดเป็นแนวคิด “Circular Fashion” หรือ “แฟชั่นหมุนเวียน” เพื่อให้เกิดการใช้ซ้ำ มีการนำมารีไซเคิล และลดขยะที่เกิดจากสินค้าแฟชั่น
จากข้อมูลของ Statista ชี้ว่า ปี 2024 มูลค่าของตลาดเสื้อผ้ามือสองจะอยู่ที่ 230,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และภายในปี 2028 มูลค่าจะโตไปที่ 350,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยตลาดสินค้ามือสองที่เติบโตขึ้นมีผลมาจากพฤติกรรมของผู้บริโภคที่ต้องการรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
จนแบรนด์ผู้ผลิตเสื้อผ้าแฟชั่นหลายรายหันมาเปิดบริการซื้อ-ขายสินค้ามือสอง ที่จะให้ลูกค้าสามารถส่งต่อสินค้าของแบรนด์นั้น ๆ ต่อให้ลูกค้าคนอื่นที่ต้องการใช้งาน ยกตัวอย่างเช่น
จะเห็นว่าแบรนด์สินค้า Fast Fashion ต่างกำลังพยายามที่จะปรับภาพตัวเองจากคำวิจารณ์และผลกระทบที่ส่งผลอย่างหนักต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งการส่งต่อเสื้อผ้ามือสองให้กับผู้อื่น ด้านลูกค้ายังมองว่ามีข้อดีอีกว่า สินค้ามือสองเป็นสินค้าราคาย่อมเยาว์ เข้าถึงได้ อีกทั้งยังสามารถช่วยแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมได้ดีอีกด้วย
ติดตามเพจ Facebook : Thairath Money ได้ที่ลิงก์นี้ - https://www.facebook.com/ThairathMoney