สมาคมโรงแรมภูเก็ต รวมพลังภาคธุรกิจ PHIST 2024 ปั้นเกาะภูเก็ตโตยั่งยืน ลดผลกระทบสังคม-สิ่งแวดล้อม

Sustainability

ESG Strategy

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

สมาคมโรงแรมภูเก็ต รวมพลังภาคธุรกิจ PHIST 2024 ปั้นเกาะภูเก็ตโตยั่งยืน ลดผลกระทบสังคม-สิ่งแวดล้อม

Date Time: 7 ก.ย. 2567 14:03 น.

Video

ล้วงลึกอาณาจักร “Pce” สู่บริษัทมหาชน ปาล์มครบวงจร | On The Rise

Summary

  • ประเทศไทยเตรียมพร้อมสำหรับผู้มาเยือนจากต่างชาติ 80 ล้านคนภายในปี 2570 ซึ่งหมายถึงความท้าทายกำลังเผชิญหน้าเข้ามา การขาดแผนการประสานงานที่ผสานรวมโซลูชันด้านสิ่งแวดล้อมเข้ากับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน อาจส่งผลเสียหายร้ายแรงต่อจุดหมายปลายทางของประเทศไทยในอนาคต

บีจอร์น เคอร์ราจ ผู้จัดการทั่วไปโรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล ภูเก็ต รีสอร์ท (InterContinental Phuket Resort) ในฐานะนายกสมาคมโรงแรมภูเก็ต (Phuket Hotels Association) กล่าวว่า การจัดงานฟิสท์ 2024 หรือ PHIST (Phuket Hotels for Islands Sustaining Tourism) เป็นงานที่จัดขึ้นมาแล้ว 7 ปี โดยสมาชิกของสมาคมโรงแรมภูเก็ต 95 แห่ง มาร่วมมือกัน

งานในครั้งนี้มุ่งหมายพาทุกคนมารวมกัน ไม่เพียงแต่จะทำให้การสนทนาลึกซึ้งขึ้น แต่ยังเน้นถึงการสื่อสารและการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ซึ่งเมื่อทุกคนได้มีโอกาสมาพูดคุยกันอย่างจริงจังแล้ว ทางออกที่ดีจึงจะตามมา


“เพื่อที่พวกเราจะสร้างความแตกต่างที่สำคัญ ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการโรงแรมท้องถิ่นหรือนานาชาติ ต่างก็มีส่วนร่วมในสิ่งนี้ได้” บีจอร์น กล่าว

บีจอร์น เคอร์ราจ ผู้จัดการทั่วไปโรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล ภูเก็ต รีสอร์ท (InterContinental Phuket Resort) ในฐานะนายกสมาคมโรงแรมภูเก็ต (Phuket Hotels Association)
บีจอร์น เคอร์ราจ ผู้จัดการทั่วไปโรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล ภูเก็ต รีสอร์ท (InterContinental Phuket Resort) ในฐานะนายกสมาคมโรงแรมภูเก็ต (Phuket Hotels Association)


ทั้งนี้ “PHIST” เป็นงานประชุมด้านความยั่งยืนที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สำหรับภาคการท่องเที่ยวและการบริการ มุ่งสร้างผลกระทบเชิงบวกให้กับโลก โดยปีนี้จัดขึ้นเมื่อวันที่ 2 กันยายนที่ผ่านมา เพื่อจุดประกายการสนทนาและขับเคลื่อนวาระสีเขียว


ในงานปีนี้ ผู้นำด้านการท่องเที่ยวได้มารวมตัวเพื่อเรียกร้องให้มีแผนแม่บทการพัฒนาที่ยั่งยืนอย่างเร่งด่วนในหมู่เกาะที่งดงามของประเทศไทย เพราะการพัฒนาที่มากและรวดเร็วเกินไป รวมถึงการท่องเที่ยวที่มากเกินไปนั้นกำลังเป็นปัญหาทั่วโลก


ขณะที่ประเทศไทยเตรียมพร้อมสำหรับผู้มาเยือนจากต่างชาติ 80 ล้านคนภายในปี 2570 ซึ่งหมายถึงความท้าทายกำลังเผชิญหน้าเข้ามา การขาดแผนการประสานงานที่ผสานรวมโซลูชันด้านสิ่งแวดล้อมเข้ากับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน อาจส่งผลเสียหายร้ายแรงต่อจุดหมายปลายทางของประเทศไทยในอนาคต

บิล บาร์เน็ต กรรมการผู้จัดการ ซีไนน์ โฮเทลเวิร์คส์ และผู้ร่วมก่อตั้ง PHIST กล่าวว่า เร็ว ๆ นี้จะมีการนำเสนอแผนแม่บท (White Paper) กับภาคเอกชนและภาครัฐ เพื่อนำเสนอแผนการพัฒนาเกาะภูเก็ตให้เป็นแหล่งรับการเติบโตของการท่องเที่ยวและการหลั่งไหลของผู้คน โดยไม่ส่งผลกระทบต่อชุมชนสิ่งแวดล้อมและเป็นการพัฒนาเกาะแห่งนี้สู่ความยั่งยืน

“เราต้องเป็นเพื่อนบ้านที่ดี การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ไม่ได้เกี่ยวกับการท่องเที่ยวเพียงอย่างเดียว แต่เกี่ยวกับคนที่จะมาพักอาศัยในภูเก็ตด้วย ขณะนี้เรามีโรงเรียนนานาชาติ 13 แห่ง ไม่ใช่เพียงเรื่องการท่องเที่ยวอีกต่อไป หมายความว่า โครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ในภูเก็ตล่าช้ามาเป็นเวลา 2 ปี จากการรอคอยพระราชบัญญัติผังเมืองฉบับใหม่ ซึ่งทำให้ผู้คนยังคงเร่งสร้างสิ่งปลูกสร้างโดยไม่สนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น ขณะนี้ในภูเก็ตมีโครงการคอนโดมิเนียม 800 ยูนิตกำลังถูกพัฒนาอยู่ ซึ่งมีทางเข้าออกเพียงทางเดียว ในกรุงเทพฯ เรื่องแบบนี้จะเกิดขึ้นไม่ได้ เพราะมีกฎระเบียบที่เคร่งครัดแต่ภูเก็ตกำลังเกิดสิ่งเหล่านี้ และเราต้องรีบแก้ไข” บิล กล่าว


พร้อมกับระบุว่า หลังจากคำเตือนหลายปีเกี่ยวกับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ปีนี้เราได้เห็นผลกระทบร้ายแรงของมัน น้ำท่วมครั้งล่าสุดในภูเก็ตอาจหลีกเลี่ยงได้ด้วยโครงสร้างพื้นฐานที่มีคุณภาพดีกว่านี้ เราไม่สามารถปูทางไปสู่สรวงสวรรค์ได้ต่อไป เราต้องใช้วิธีการประสานงานในการวางแผนที่ให้ความสำคัญกับความยั่งยืนเป็นอันดับแรก

วิธีการประสานงานด้านการท่องเที่ยวและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสามารถช่วยให้จุดหมายปลายทางต่าง ๆ รวมถึง “ภูเก็ต” สามารถบรรเทาผลกระทบที่หลีกเลี่ยงไม่ได้จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้หรือไม่? ภาครัฐหรือผู้กำหนดนโยบายสามารถรวมองค์ประกอบต่าง ๆ อาทิ การออกแบบที่ยั่งยืน การขนส่งด้วยไฟฟ้า และการรวมการปกป้องสิ่งแวดล้อมไว้ในแผนพัฒนาได้หรือไม่? และบริษัทภาคเอกชนจะสามารถเป็นส่วนหนึ่งของโซลูชันระยะยาวได้อย่างไร? ในขณะเดียวกันก็ตอบสนองความต้องการที่เพิ่มสูงขึ้นจากลูกค้าได้ไปพร้อม ๆ กัน

ทั้งนี้ ซีไนน์ โฮเทลเวิร์คส์ในฐานบริษัทที่ปรึกษาโครงการขนาดใหญ่หลายแห่ง ยกตัวอย่างปัญหาชุมชนในภูเก็ตอย่างริมชายหาดบางเทาที่ครั้งหนึ่งเคยเงียบสงบ ปัจจุบันมีโครงการที่อยู่อาศัยมากกว่า 10,000 ยูนิต ซึ่งมากกว่าอุปทานที่มีอยู่เป็นสองเท่า รายงานดังกล่าวยังอ้างถึงแนวชายฝั่งที่ครั้งหนึ่งเคยห่างไกลแห่งนี้ว่าเป็น "เขตเมืองใหญ่ที่กำลังเกิดขึ้น"

เช่นเดียวกับข้อมูลจาก STR (เอสทีอาร์) ผู้นำระดับโลกด้านการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับตลาดการบริการเผยว่า เกาะภูเก็ตกำลังประสบกับการเติบโตของนักท่องเที่ยว โดยคาดการณ์อัตราการเข้าพักเฉลี่ยของโรงแรมในภูเก็ตสูงขึ้น 30% ในช่วงเดือนสิงหาคม 2567 - มกราคม 2568 เมื่อเทียบกับ 12 เดือนที่แล้ว

ขณะเดียวกัน Greenview (กรีนวิว) ผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อมในสิงคโปร์ได้เตือนว่า ภูเก็ตเผชิญกับความเสี่ยงสูงจากระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น น้ำท่วม และขาดแคลนน้ำใช้ ภัยคุกคามเหล่านี้กำลังเกิดขึ้นจริง ซึ่งเมื่อไม่นานมานี้ เกิดอุทกภัยและดินถล่มร้ายแรงที่พัดถล่มพื้นที่ท่องเที่ยวยอดนิยมของกะตะและกะรน

ทั้งนี้ งานประชุม PHIST ประจำปี 2567 ในปีนี้จัดขึ้น ณ โรงแรมอังสนา ลากูน่า ภูเก็ต (Angsana Laguna Phuket) ประกอบด้วยการประชุมเชิงปฏิบัติการกว่า 20 รายการ และการพูดคุยสร้างแรงบันดาลใจที่ออกแบบมาเพื่อจุดประกายการอภิปราย โดยมีผู้แทนมากกว่า 1,000 คน เข้าร่วมเรียนรู้เกี่ยวกับประเด็นสำคัญและความท้าทายล่าสุดของแหล่งท่องเที่ยวบนเกาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศไทย ตลอดจนค้นพบโซลูชันที่เป็นไปได้ และนวัตกรรมสีเขียวที่ทันสมัย

ติดตามเพจ Facebook : Thairath Money ได้ที่ลิงก์นี้ - https://www.facebook.com/ThairathMoney


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการไทยรัฐออนไลน์