Fast Fashion วิกฤติ ผลิต 1 ตัวปล่อยคาร์บอนมากกว่าขับรถเบนซิน 1 วัน ถูกทิ้งเป็นขยะ 92 ล้านตันต่อวัน

Sustainability

ESG Strategy

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

Fast Fashion วิกฤติ ผลิต 1 ตัวปล่อยคาร์บอนมากกว่าขับรถเบนซิน 1 วัน ถูกทิ้งเป็นขยะ 92 ล้านตันต่อวัน

Date Time: 10 มิ.ย. 2567 17:32 น.

Video

บิทคอยน์ VS เงินในกระเป๋าเกี่ยวกันยังไง ? | Digital Frontiers

Summary

  • อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม โดยเฉพาะการผลิตสินค้ากลุ่ม Fast Fashion พบปัญหาวิกฤติ ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูง 6-8% ของการปล่อยคาร์บอนฯ ทั่วโลก พบเสื้อผ้าแฟชั่นถูกทิ้งฝังกลบกว่า 92 ล้านตันต่อปี ด้านประเทศไทยผลิตเยอะ แต่ยังคงไร้มาตรการแก้ปัญหาที่จริงจัง

Latest


ศูนย์วิจัยกสิกรไทยชี้ อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม หรือกลุ่มผู้ผลิตเสื้อผ้ามีการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ในสัดส่วนที่สูง เมื่อเทียบกับอุตสาหกรรมอื่นๆ โดยมีอัตราส่วนอยู่ที่ 6-8% ของการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ทั่วโลก เนื่องจากมีการใช้พลังงาน ทรัพยากร และสารเคมีในปริมาณมากในการผลิต อีกทั้งยังสร้างขยะจากการฝังกลบเสื้อผ้าที่ไม่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพ และสินค้าเหลือทิ้ง และสารปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมจากการซักล้าง

ผลิตเสื้อ 1 ตัว ปล่อยคาร์บอนฯ มากกว่าขับรถเบนซิน 1 วัน

ในกระบวนการผลิตและจำหน่ายสินค้ากลุ่มสิ่งทอ ต้องอาศัยการทำงานของหลายกลุ่มอาชีพ ตั้งแต่เกษตรกรผู้ผลิตเส้นใยดิบ ผู้ผลิตเส้นในสังเคราะห์ ผู้ทอผ้า ผู้ย้อมผ้า ผู้ผลิต ไปจนถึงผู้จำหน่าย ส่งผลให้ระหว่างการดำเนินการผลิตสินค้ากลุ่มนี้มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จำนวนมหาศาล

จากข้อมูลขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ พบว่า อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มมีการปล่อยคาร์บอนฯ สูงประมาณ 1,700 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี หรือมีสัดส่วนประมาณ 6-8% ของการปล่อยคาร์บอนฯ ทั่วโลก

และจากการเปรียบเทียบการปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ จากกระบวนการการผลิตต่างๆ พบว่า มลพิษส่วนใหญ่มาจากการย้อมและตกแต่ง ตามด้วยการเตรียมเส้นด้าย การผลิตเส้นใย และการผลิตผ้า ตามลำดับ

นอกจากนี้ การผลิตเสื้อใหม่ 1 ตัว มีปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากกว่าการขับรถเบนซินใน 1 วัน (อัตราการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของการขับรถ 20 กิโลเมตร = 1.92 กิโลคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า)

ทั่วโลกทิ้งเสื้อผ้ากว่า 92 ล้านตันต่อปี

เนื่องจากการผลิตที่มีจำนวนมาก บวกกับความรวดเร็วของแฟชั่นทำให้ทุกๆ ปีมีการผลิตเสื้อผ้าออกมากว่า 1 แสนล้านชิ้น และมีจำนวนเสื้อผ้าที่ถูกฝังทิ้งประมาณ 92 ล้านตันต่อปี

สำหรับการผลิตเสื้อผ้าเสื้อผ้ามีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าตั้งแต่ปี 2000 และคาดว่าจะมีปริมาณขยะจากกลุ่มสินค้า Fast Fashion เพิ่มสูงขึ้นถึง 134 ล้านตันต่อปีในปี 2030 เทียบกับปี 2024 ปัจจุบันที่มีปริมาณอยู่ที่ 101 ล้านตัน

ด้วยปริมาณที่เหลือทิ้งจำนวนมหศาล และผลกระทบที่เกิดต่อสิ่งแวดล้อม ทำให้ปัจจุบันธุรสินค้ามือสองได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก จากข้อมูลของ Statista พบว่า ปี 2024 มูลค่าของตลาดเสื้อผ้าและรองเท้ามือสองจะอยู่ที่ 230 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และคาดว่าในปี 2028 จะมีมูลค่าอยู่ที่ 350 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

อุตสาหกรรมสิ่งทอของไทยปล่อยคาร์บอนฯ 4-8% ของทั้งประเทศ

ประเทศไทย คือ อีกหนึ่งแหล่งที่มีการผลิตสินค้าในกลุ่มสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม โดยไทยติดอันดับ 1 ใน 20 อันดับแรกของผู้ส่งออก ด้วยปริมาณการผลิตกว่า 2,800 ตันต่อไป ทำให้ตลาดนี้ของไทยมีมูลค่าเกือบ 7,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2022 ที่ผ่านมา

จากสถิติโดย WTO รายงานว่า ประเทศที่มีการส่งออกสินค้ากลุ่มนี้มากที่สุด คือ จีน มีมูลค่าอยู่ที่ 3.30 แสนล้านดอลลาร์ ตามมาด้วยสหภาพยุโรป มีมูลค่าที่ 2.28 แสนล้าน และลำดับที่ 3 คือเวียดนาม มีมูลค่า 4.6 หมื่นล้านดอลลาร์ ในขณะที่บังคลาเทศ ที่ตลาดการส่งออกสินค้ากลุ่มเสื้อผ้าและเครื่องนุ่งห่มเป็นแหล่งรายได้ถึง 81% ของประเทศ มีมูลค่าการส่งออกอยู่ที่ 4.5 หมื่นล้านดอลลาร์

ในส่วนของปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ ของประเทศไทยใน อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า จะมีการปล่อยอยู่ที่ 4-8% ของการปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ ทั้งประเทศ ซึ่งจะใกล้เคียงกับเกณฑ์เฉลี่ยของโลก

อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยยังไม่มีนโยบายในการจัดการกับการปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ ในอุตสาหกรรมการผลิตสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม แต่มีการสนับสนุนในการจัดการกับสินค้า Fast Fashion ยกตัวอย่างเช่น การส่งเสริมสินค้าท้องถิ่น เพื่อลดการเพิ่มปริมาณของสินค้าแฟชั่น อีกทั้งยังมีแผนที่จะออกนโยบายและการกำกับดูแลเกี่ยวกับธุรกิจ Fast Fashion เพื่อให้สามารถตรวจสอบได้อย่างโปร่งใส


อ้างอิง: ศูนย์วิจัยกสิกรไทย


ติดตามเพจ Facebook : Thairath Money ได้ที่ลิงก์นี้ - https://www.facebook.com/ThairathMoney


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ