จับตาผลการประชุม COP28 ประเด็นสิ่งแวดล้อมโลกจะไปทางไหน? ความเสี่ยงใหม่ของภาคธุรกิจไทย

Sustainability

ESG Strategy

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

    จับตาผลการประชุม COP28 ประเด็นสิ่งแวดล้อมโลกจะไปทางไหน? ความเสี่ยงใหม่ของภาคธุรกิจไทย

    Date Time: 5 ธ.ค. 2566 09:00 น.

    Video

    ล้วงลึกอาณาจักร “PCE” สู่บริษัทมหาชน ปาล์มครบวงจร | On The Rise

    Summary

    • จับตาผลการประชุม COP28 ณ เมืองดูไบ ประเด็นสิ่งแวดล้อมโลกจะถูกขับเคลื่อนไปทางไหน? หลังเร่งสกัดอุณหภูมิโลกไม่ให้เฉลี่ยเกิน 1.5 องศาเซลเซียส กฎระเบียบสากล จ่อขยายขอบเขตมาสู่บริษัทขนาดเล็ก รวมถึง SME ความเสี่ยงใหม่ของภาคธุรกิจไทยที่ต้องปรับตัวให้ทัน

    Latest


    การประชุม COP28 หรือ การประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 28 (UNFCCC COP28) กำลังจัดขึ้น ณ เมืองดูไบ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (30 พฤศจิกายน - 12 ธันวาคม 2566)

    โดยในครั้งนี้ “พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ” รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้เป็นผู้แทนของประเทศไทย ในการประชุมร่วมกับผู้นำโลกกว่า 200 ประเทศทั่วโลก

    ทั้งนี้ สิ่งที่เราจะต้องติดตามกัน คือ ที่ประชุม COP28 คงจะส่งผลให้ภาคธุรกิจไทยต้องปรับตัวมากขึ้น ทั้งจากกฎระเบียบ และมาตรการสากลที่จะมีความชัดเจน เข้มงวด และครอบคลุมมากขึ้น ทั้งจากมิติของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่จะเริ่มครอบคลุมถึงก๊าซมีเทน รวมถึงผลกระทบด้านสังคม ความมั่นคงทางอาหาร และสิทธิมนุษยชน เพิ่มเติมจากแค่มิติด้านสิ่งแวดล้อม 

    โดยขยายขอบเขตความครอบคลุมการดำเนินการด้านดังกล่าวทั้ง supply chain ที่จะทำให้เกิดการส่งผ่านข้อบังคับ หรือการดำเนินการในด้านดังกล่าวจากประเทศพัฒนาแล้วไปยังประเทศกำลังพัฒนา และจากบริษัทขนาดใหญ่ไปสู่บริษัทขนาดเล็ก รวมถึง SMEs ได้ ถึงแม้ว่าปัจจุบันจะยังไม่มีกฎระเบียบ หรือมาตรการภายในประเทศที่บังคับใช้ หรือกำหนดบทลงโทษก็ตาม ซึ่งคงจะเป็นความเสี่ยงแก่ภาคธุรกิจในทุกระดับให้ต้องเร่งปรับตัวต่อบริบทโลกให้ทัน

    ประเด็นหลักๆ ที่ต้องติดตามจากเวทีการประชุม COP28 

    • เร่งจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกเฉลี่ยไม่เกิน 1.5 องศาเซลเซียส
    • เร่งลดการใช้พลังงานฟอสซิล เน้นลดการใช้ถ่านหิน และการปล่อยก๊าซมีเทน
    • อัปเดตข้อมูลด้านการพัฒนาตลาดคาร์บอนระหว่างรัฐภาคี
    • พิจารณาหลักเกณฑ์การจัดสรรงบฯ จากประเทศร่ำรวย / การใช้จ่ายเงินกองทุน Loss and Damage
    • กำหนดเป้าหมายการเร่ง ระดมทุนให้ได้ 100,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี 2025

    ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ยังคาดว่า สำหรับประเทศไทยในฐานะเป็นประเทศภาคี จะมีการนำผลการประชุมภาคีการขับเคลื่อนการปฏิบัติงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของไทย ครั้งที่ 2 (TCAC 2023) ไปนำเสนอ รวมถึงมีประเด็นสำคัญที่คาดว่าจะหยิบยกมาเจรจาในที่ประชุม COP28 ได้แก่

    • การร่วมขับเคลื่อนการดำเนินงานของประเทศไทยทั้งในระดับโลก ระดับประเทศ ระดับจังหวัด และระดับพื้นที่ รวมถึงการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในประเทศไทย เพื่อบรรลุเป้าหมายตามความตกลงปารีส
    • ต้นทุน และการเข้าถึงเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่ประเทศกำลังพัฒนารวมถึงประเทศไทยมีข้อจำกัดและต้องการความช่วยเหลือด้านเงินทุน
    • กลไกการเงินด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยมองว่าประเทศไทยจะนำเสนอการเพิ่มประสิทธิภาพของกองทุนสิ่งแวดล้อมและการบริหารจัดการคาร์บอนเครดิต ผ่านการจัดตั้งกองทุน Thai Climate Initiative fund (ThaiCI)  ที่ดำเนินการภายใต้กองทุนสิ่งแวดล้อม เพื่อสนับสนุนการดำเนินการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศ
    • ตลาดคาร์บอนเครดิตของไทย โดยประเทศไทยจะนำเสนอการพัฒนากลไกคาร์บอนเครดิตภายในประเทศมาตรฐาน Premium T-VER ที่สอดคล้องกับแนวปฏิบัติสากล เพื่อสร้างความความน่าเชื่อถือในกระบวนการลดก๊าซเรือนกระจก รวมถึงเพื่อใช้ชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายใต้มาตรการ CORSIA ของสายการบิน ซึ่งอยู่ระหว่างการประเมินโดยองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO)  

    ทั้งนี้ ในด้านการดำเนินการเพื่อลดผลกระทบด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Action) คาดว่ารัฐบาลไทยจะนำผลการผลักดันแผนการดำเนินการ ระเบียบ และกฎหมายที่สำคัญ ที่ได้บังคับใช้แล้วและที่เตรียมดำเนินการเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ด้านการลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างเป็นรูปธรรม ดังนี้

    1. ปรับเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกเพิ่มขึ้นจาก 20-25% เป็น 30-40% ภายในปี 2030
    2. กำหนดมาตรฐานกลาง เพื่อใช้จำแนก จัดกลุ่ม กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของไทย 
    3. ปรับเป้าหมายการใช้พลังงานทดแทน และรวมแผนงานย่อย 5 แผน ในแผนพลังงานชาติ 2023 เพื่อให้สอดคล้องตามเป้าหมาย NDC 
    4. ผลักดัน พ.ร.บ.การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยกำหนดให้จัดทำฐานข้อมูล และรายงานปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก/กำหนดเกณฑ์สำหรับการบังคับใช้กลไกทางราคาคาร์บอน เพื่อเตรียมบังคับใช้เป็นกฎหมายภายในปี 2567 

    Author

    กองบรรณาธิการ

    กองบรรณาธิการ