ปฏิเสธไม่ได้ว่าทุกวันนี้ Sustainability และ ESG (Environment, Social, Governance) กลายเป็นท็อปปิกร้อนแรงกับธุรกิจทั่วโลก ทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็น ภาครัฐ ภาคเอกชน นักลงทุน ผู้ประกอบการ สตาร์ทอัพ ต่างยกให้เป็นวาระสำคัญในการประยุกต์เข้ากับการบริหารธุรกิจองค์กรของตน เพื่อให้สอดคล้องกับการตระหนักถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สังคม และผู้คนมากที่สุด
ก่อนจะลงลึกว่าทำไม ESG ถึงกลายเป็นเมกะเทรนด์ระดับโลก นายชยุตม์ สกุลคู CEO, Tact Social Consulting อธิบายว่า แท้จริงแล้ว ESG ไม่ใช่เรื่องใหม่ และเป็นเรื่องที่บางองค์กรอาจปฏิบัติกันมาก่อนหน้านี้แล้ว เช่น การบริหารธุรกิจ และการบริหารบุคลากรที่ถูกต้องตามหลักธรรมาภิบาล การทำ CSR ยุคแรกๆ บริษัทเอกชนที่สร้างผลตอบแทนกำไรได้ดีก็มีการคืนกำไรกลับสู่สังคม เช่น บริจาคของ มอบทุนการศึกษา ต่อมาเริ่มมีการประยุกต์ในรูปแบบ Social Enterprise หาแนวทางที่เกี่ยวข้องกับ Enterprise Activity มากขึ้น สามารถสร้างคุณค่าร่วมของบริษัทกับสังคม และสิ่งแวดล้อมได้อย่างไร
นายชยุตม์ จำแนกให้เห็นถึงพัฒนาการของของบรรดาคีย์เวิร์กในโลก ESG ที่เราอาจเคยเห็นและคุ้นหูมาก่อนหน้านี้ ตั้งแต่จุดเริ่มต้นของ SDGs แผนแม่บทของความยั่งยืนที่ประกาศตั้งแต่ปี 2015 โดยสหประชาชาติและได้กลายเป็นข้อกำหนดร่วมกันของภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคมทั่วโลก จนถึงพัฒนาการของ ESG ที่มีหลักการ มีการวัดผล และหน่วยวัดผลที่จริงจังมากยิ่งขึ้น
ซึ่งผลดำเนินการเหล่านี้เรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่า Non-Financial Data คือ Environment Social Governance Data ข้อมูลนอกเหนือจากงบการเงิน ที่บ่งบอกว่าธุรกิจนั้นๆ มีผลดำเนินการที่คำนึงถึงเกณฑ์ทั้งสามด้านหรือไม่ ตรงตามเกณฑ์ของนักลงทุนที่สนใจอยากจะลงทุนหรือไม่
นายธนพงษ์ ณ ระนอง Managing Director Beacon VC ในฐานะนักลงทุน ESG มีบทบาทสำคัญมาตั้งแต่อดีตแล้ว โดยเฉพาะ ‘Corporate Governance’ สำคัญมากต่อพิจารณาลงทุนสำหรับนักลงทุนทุกรูปแบบ ทั้งผู้จัดการกองทุน หรือนักลงทุนสถาบันเมื่อต้องการลงทุน แม้ก่อนหน้านี้นักลงทุนบางส่วนอาจมองว่าการลงทุนปรับเปลี่ยนให้ตรงตามเกณฑ์สิ่งแวดล้อมตามมาด้วยงบประมาณมหาศาล และอาจส่งผลให้ประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจลดน้อยลง ซึ่งในมุมของธนาคาร ผู้ให้บริการทางการเงิน
ด้านนายเถกิง ออศิริชัยเวทย์ Senior Vice President ธนาคารกสิกรไทย เล่าว่า ปัจจุบันบทบาทหลักคือการเปลี่ยนผ่านลูกค้าและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของเราให้ตระหนักถึง ESG ให้ได้มากที่สุด สามารถเข้ากับธุรกิจด้วยแนวทางที่แตกต่างกันได้ด้วยการสนับสนุนด้านการเงิน การจัดตั้งกองทุนและสินเชื่อสำหรับ ESG
โดย 3 ปัจจัยหลักที่ทำให้ธุรกิจทั่วโลกปรับตัว มีดังนี้
นายจิรพัฒน์ เล่าว่า ในประเทศไทยถือว่ายังคงอยู่ในช่วงเริ่มต้น เทรนด์ในประเทศฝั่งองค์กรธุรกิจตื่นตัวเยอะขึ้นอย่างต่อเนื่อง บริษัทใหญ่ๆ เข้ามาเล่นในวงการมากขึ้น และยังมีความต้องการด้านโซลูชันและเครื่องมือด้าน ESG สูงขึ้นต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามสัดส่วนสตาร์ทอัพและผู้ที่เชี่ยวชาญด้านนี้ยังน้อย ซึ่งจุดนี้ทำให้สตาร์ทอัพ ESG มีพื้นที่ของโอกาสอีกมากในการเข้ามาทำธุรกิจ ที่มีทั้งโอกาสจากตลาด และโอกาสในการได้รับเงินลงทุน เช่น เงินอุดหนุนจากรัฐบาล
“เมื่อถามว่านักลงทุนสนใจสตาร์ทอัพแบบไหน นักลงทุนมักจะมองหาสตาร์ทอัพที่สามารถสร้างผลลัพธ์เชิงบวก สร้างแพลตฟอร์ม หรือเครื่องมือสำหรับผู้อื่นให้ทำ ESG ได้ดียิ่งขึ้น โดยไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นธุรกิจที่มีเป้าหมายเพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมโดยตรง”
นายเถกิง เสริมว่า ESG คือ 'New Frontier of Growth' ในห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจทั้งกระบวนการ การลดคาร์บอน วัดผลเป็นตัวเลข การติดตามผล การจำกัดและทำลาย มีโอกาสให้สตาร์ทอัพกระโดดเข้ามามีส่วนร่วมจำนวนมาก สตาร์ทอัพสามารถค้นหาโซลูชันที่จะสามารถตอบโจทย์ ESG ได้อย่างหลากหลาย
ในฐานะสตาร์ทอัพผู้พัฒนาเทคโนโลยีนวัตกรรมด้าน Solution Energy การจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อม นางสาวอัจฉรา ปู่มี CEO & Founder, Pac Corporation (Thailand) Co.,Ltd. เล่าถึงมุมมองเรื่องโอกาส จากประสบการณ์การทำสตาร์ทอัพสาย Energy Solution โดยตรงว่า ESG เป็นโอกาสทางธุรกิจ และเป็นโอกาสขององค์กร ในการเป็นทั้ง ‘องค์กรที่เก่งและเป็นองค์กรที่ดี’ ด้วย
นายธนพงษ์ แนะนำสตาร์ทอัพที่สนใจว่า การสื่อสารให้นักลงทุนเห็นถึงประสิทธิภาพของโปรดักต์ให้ชัดเจน เช่น มีการทดสอบจากศูนย์วิจัยทดลอง พิสูจน์แล้วว่าสามารถใช้ได้มีความปลอดภัย สามารถวัดผลได้จริง แสดงให้นักลงทุนเห็นถึงแผนการดำเนินการ พิสูจน์ได้ว่ามีตลาดรองรับโปรดักต์จริง เพื่อทำการประเมินมูลค่า
ด้านนายจิรพัฒน์ ฮ้อแสงชัย Program Manager Thailand, New Energy Nexus เสริมว่า สตาร์ทอัพสามารถศึกษาตลาดหรือตัวอย่างจากคู่แข่งว่ามีใครทำอะไรอยู่บ้าง และมีส่วนไหนที่เราสามารถนำมาประยุกต์กับความเป็นตัวเราได้ นอกจากนี้ในฐานะ Startup Accelerator การจัดโปรแกรมสำหรับสตาร์ทอัพ ต้องมองว่าจะสามารถสร้างอิมแพคด้าน ESG ให้กับสตาร์ทอัพที่เราสนับสนุนอย่างไรได้บ้าง เช่น การประสานงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อำนวยความสะดวกด้านปฏิบัติการ สนับสนุนด้านงานบริหาร และสร้างงานสร้างรายได้สำหรับพนักงานในองค์กร เป็นต้น
อย่างไรก็ตามในประเทศไทยควรสร้างการตระหนักรู้เรื่อง ESG ตลอดจนมิติต่างๆ ที่รายรอบประเด็นเรื่องความยั่งยืน ทั้งเรื่อง Net Zero, Circular Economy, Clean Energy หรือ Climate Tech ให้มากยิ่งขึ้น สร้างแพลตฟอร์มสำหรับการมีส่วนร่วม แลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์ เพื่อเชื่อมโยงเทคโนโลยี เงินทุน หรือพัฒนาอะไรร่วมกันจากภาคส่วนต่างๆ
โดยภายในงานยังมีการเปิดตัวคอมมูนิตี้ชื่อ ‘Climate Tech Club’ ที่มีการผลักดันจากทั้งภาครัฐ องค์กรธุรกิจ สถาบันการเงิน เอ็สเอ็มอี สตาร์ทอัพ โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างระบบนิเวศด้าน Climate Tech ในประเทศไทยเพื่อสนับสนุนความมุ่งมั่นของประเทศไทยในการบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2608 ตามที่ได้ประกาศไว้ก่อนหน้านี้ ผ่านการผลักดัน ความร่วมมือจากหลาย
นายปริวรรต วงษ์สำราญ Director of Innovative Entrepreneur and Enterprise Director of Startup Thailand, สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) กล่าวปิดท้ายว่า พันธกิจหลัก คือ การสร้างการรับรู้ กระตุ้นการพัฒนาธุรกิจร่วมกัน สนับสนุนกลไกจากภาครัฐ และเชื่อมโยงผู้พัฒนาโซลูชัน นักลงทุน และผลักดันสู่ตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ