จากการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศที่เกิดขึ้น และส่งผลกระทบทุกภาคส่วน และมีแนวโน้มที่จะทวีความรุนแรงมากขึ้น ทำให้หลายประเทศเริ่มตระหนัก และต่างหาแนวทางที่จะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อให้โลกกลับมาคงเดิม และลดมูลค่าความเสียหายที่คาดว่าจะสูงขึ้นในอนาคต จึงเกิดเป็นข้อตกลงระดับโลก อย่างเช่น ความตกลงปารีส (Paris Agreement) เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง โดยที่ภาครัฐและเอกชนต่างเร่งลงทุนเพื่อปรับปรุง เปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิตให้เป็นไปตามข้อตกลงที่ให้ไว้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนแต่ใช้เม็ดเงินจำนวนมหาศาลทั้งสิ้นทั้งในด้านการดำเนินงาน หรือแม้กระทั่งเทคโนโลยีที่จะนำมาใช้ในการบริหารจัดการ
ดังนั้นหนึ่งในแหล่งการระดมทุนที่ได้รับความสนใจ คือ การออกตราสารหนี้ด้านความยั่งยืน หรือ ESG Bond ซึ่งในประเทศไทยมีการเติบโตขึ้นอย่างชัดเจน มีการผลักดันทั้งจากภาครัฐและเอกชนอย่างต่อเนื่อง
แล้ว ‘ESG Bond’ คืออะไร?
ESG Bond คือ ตราสารหนี้ที่ผู้ระดมทุนต้องการนำเงินไปใช้เพื่อดำเนินโครงการต่างๆ ภายใต้แนวคิดการเติบโตอย่างยั่งยืน มุ่งพัฒนาสิ่งแวดล้อม สังคม และการมีบรรษัทภิบาลที่ดี แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น Demand จากนักลงทุนในตราสารหนี้กลุ่มความยั่งยืนนั้นมีมากน้อยแค่ไหน? มีการเติบโตอย่างไร?
ในงานสัมมนา Enable ESG Bond Issuance Seminar Investor Demand, Corporate Experiences, and New funding Support ที่จัดโดย ThaiBMA ในช่วงหนึ่ง คุณฐานันดร โชลิตกุล บลจ.กสิกรไทย ได้เปิดฉากเล่าถึง ‘Demand จากนักลงทุนในตราสารหนี้กลุ่มความยั่งยืน’ ว่า ปัจจุบันในส่วนของ บลจ. อาจจะไม่ได้มีในเรื่องของ Mandates เลยที่เจาะจงว่าจะต้องลงทุนใน ESG Bond เท่าไร แต่ในช่วงระยะเวลา 3-4 ปีที่ผ่านมา ESG เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการลงทุน และการตัดสินใจการลงทุนค่อนข้างเยอะมาก และเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จึงเป็นเสมือนดีมานด์ทางอ้อม ทำให้ทาง บลจ.ต้องมาพิจารณาหาในส่วนของบริษัทที่มี ESG ที่ดีและมามุ่งเน้นลงทุนใน ESG Bond มากขึ้น
ดีมานด์ทางอ้อมที่ทำให้ต้องลงทุน ESG Bond เพิ่มมากขึ้น
ซึ่งในส่วนของ KAsset ESG Integration Roadmap ทาง บลจ.กสิกรไทย บริษัทจัดการกองทุนแห่งแรกของไทยที่ได้เข้าร่วมลงนาม UN-supported Principles for Responsible Investment (PRI) ซึ่งเป็นหลักการลงทุนที่รับผิดชอบในระดับสากลที่ได้รับการสนับสนุนจากองค์การสหประชาชาติ (United Nations) ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา
ทำให้เราต้องมีการนำ ESG เข้ามาในกระบวนการการลงทุนมากขึ้นเรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็น ใช้ในกระบวนการตัดสินใจและวิเคราะห์การลงทุน หรือแม้แต่การที่เราจะต้องไปทำเป็น Active Ownership คือ การไปประสานงานกับ Issuer ที่ออก Bond ต่างๆ ให้เล็งเห็นถึงความสำคัญของ ESG เพิ่มมากขึ้น รวมถึงการสนับสนุนให้มีการเปิดเผย Disclosure ใน ESG เพิ่มมากขึ้น หรือแม้แต่การกำหนดมาตรฐานใน บลจ.มุ่งเน้นใน ESG มากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งถือเป็นดีมานด์ทางอ้อมที่ทำให้เราต้องลงทุน ESG Bond เพิ่มมากขึ้นไปด้วย
ดังนั้น Roadmap Integration ESG เรียกได้ว่ามีการลงทุนไปในทุกขั้นตอนตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ และยังมีการทำ ESG Rating Internal scoring ภายในของ บลจ.กสิกร ไทยเองด้วย และนอกจากนี้ก็ได้มีการนำข้อมูล ESG scoring มาทำการประเมินเพื่อวิเคราะห์หาว่ากลุ่ม ESG ดีหรือไม่ และสุดท้ายคือการนำไป Implementation ใน Portfolio เพื่อที่จะดูว่าเรามี Investment limited เท่าไร และ Portfolio จะหน้าตาเป็นอย่างไร
“สำหรับการทำ Scoring เราใช้ข้อมูลทั้งสองส่วนทั้งจากทางบุคคลที่สาม นั่นคือ Data Provider รวมทั้งมีการทำ Internal Qusetionnaire เองด้วย เพราะด้วยข้อมูล ESG บางครั้งไม่ครบถ้วนและยังมีความสงสัย ดังนั้นอาจจะมีการซักถาม”
ต่อมาเมื่อได้ข้อมูลเราก็จะได้เป็น Internal ESG Score ของ KA และอาจจะมีการ Adjusted with ESG Key Risk ไปด้วยในบางส่วนหากมีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้น
ทั้งนี้ในปัจจุบันใน ESG KAsset ทำไปทั้งหมด 77 Issuer จากใน Universe ที่มีอยู่ประมาณ 90 Issuer เรียกได้ว่าทำไปประมาณ 85% ของ Investment Universe ทั้งหมด ส่วนเป้าหมายคือภายในปี 2566 ที่เซ็น UNPRI คาดว่าจะทำได้ 100% ของ Investment Universe ส่วนที่เหลืออีก 10 รายอาจจะมีข้อจำกัดในเรื่องของข้อมูล
ต่อจากนั้นหลังจากที่ได้ข้อมูลในส่วนของ ESG Rating Score ก็จะมีการเปรียบเทียบในส่วนของการนำ Data ทั้งหมดมาใส่และทำเป็น Power DBI Dashbord ซึ่งมีการเปรียบเทียบกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีการดำเนินกิจการใกล้เคียงกัน รวมทั้งมีการวิเคราะห์พัฒนาการของ ESG ของแต่ละ Issuer นั้นๆ ว่าในช่วงระหว่างหลายๆ ปีที่ผ่านมา ESG เป็นอย่างไร ข้อมูลนี้จึงแสดงให้เห็นว่า Issuer ทุกรายควรจะต้องมีการรักษา ESG ในลักษณะระยะยาว เพราะทางผู้ลงทุนสถาบันยังคงให้ความสำคัญอยู่
ส่วน ESG Portfolio Implementation มันกระทบโดยตรงกับความต้องการลงทุน ESG หลักๆ ที่ KAsset ใช้คือ การทำ Big Budgeting ซึ่งเรานำคะแนน ESG เข้ามาประกอบด้วย ลองนึกภาพว่าถ้าบริษัทไม่มีการรักษา ESG ก็ยากที่จะได้รับการหยิบยื่นจากนักลงทุน ดังนั้นโดยสรุปคือบริษัทควรที่จะมีการรักษา ESG ที่ดีไว้ เพราะในระยะยาวจะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้มีส่วนสำคัญในการพิจารณาการลงทุน
ขณะที่ ESG Mandates for Domestic Fixed Income Funds สามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่
1.Private Fund (Institution)
2.Provident Fund
3.Mutual Fund
ดังนั้นการลงทุน ESG ในกองทุนรวมตราสารหนี้ในประเทศ ในส่วนของ KAsset หากดูในตัว Corporate ESG Index ปัจจุบันในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา YE2021 มี ESG Bond จากกว่า 3,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นมาเป็นกว่า 5,000 ล้านบาท ในปี 2023 ซึ่งเติบโตตาม Industry Index ของ ESG Corporate Index จาก 3.84% เป็น 4.37%
ดังนั้นความสนใจด้านตราสาร ESG จากนักลงทุนสถาบันยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะจากกลุ่มประกัน, Pension Funds, สหกรณ์ และ บลจ. ต่างให้น้ำหนักความสำคัญต่อหลักการลงทุนที่มีความรับผิดชอบมากขึ้น ด้านการเติบโตของนักลงทุนกลุ่มนี้มีโอกาสเพิ่มขึ้นได้อีกมากเป็นเท่าตัวได้ในระยะ 1-2 ปีข้างหน้า เนื่องจากปัจจุบัน ยอดคงค้างของตราสารหนี้ ESG Bond ในไทยมีอยู่เพียง 580,000 ลบ. หรือคิดเป็น 3% ของตราสารหนี้ในตลาดตราสารหนี้ไทยทั้งหมด สะท้อนถึงสัดส่วนในการลงทุนตราสาร ESG ในพอร์ตการลงทุนที่ยังมีไม่มากสามารถลงทุนเพิ่มเติมได้อีก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ Supply ของตราสารหนี้ ESG ที่สามารถออกได้ในอนาคตประกอบกัน.