‘Carbon Credit’ กุญแจสำคัญสู่ความท้าทาย ที่จะนำไปสู่เป้าหมายการบรรลุ Carbon Neutrality-Net Zero

Sustainability

ESG Strategy

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

‘Carbon Credit’ กุญแจสำคัญสู่ความท้าทาย ที่จะนำไปสู่เป้าหมายการบรรลุ Carbon Neutrality-Net Zero

Date Time: 16 มิ.ย. 2566 15:46 น.

Video

บรรยง พงษ์พานิช แกะปมเศรษฐกิจไทยโตต่ำ ฟื้นช้า พร้อมแนะทางออก

Summary

  • ‘Carbon Credit’ ที่จะนำไปสู่เป้าหมายการบรรลุ Carbon Neutrality หรือ Net-Zero จะมีแนวทาง หรือการดำเนินงานอย่างไร? และ คำว่า Carbon Neutrality กับ Net-Zero แตกต่างกันอย่างไร?

Latest


ในหัวข้อสัมมนา Carbon Credit Road to Carbon Neutrality Scheme โดย คุณอโณทัย สังข์ทอง ผู้อำนวยการสำนักสื่อสารและทะเบียนคาร์บอนเครดิต องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ได้พูดถึง ‘Carbon Credit’ ที่จะนำไปสู่เป้าหมายการบรรลุ Carbon Neutrality หรือ Net-Zero ว่า ในส่วนของการประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกหากใช้คำว่า Carbon Neutrality หลายๆ แพลตฟอร์มไม่ว่าจะเป็น IPCC, Climate neutral now หรือ Science based targets ก็จะพิจารณาการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ชนิดเดียว นั่นก็เพราะว่าในปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของทั้งโลก ปริมาณ CO2 มีมากที่สุดเป็นอันดับ 1 หรือคิดเป็นประมาณ 70% ดังนั้นบางประเทศ หรือบางองค์กรเมื่อใช้คำว่า Carbon Neutrality ในการประเมินการปล่อยจึงพิจารณาเฉพาะแค่ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพียงชนิดเดียว 


แต่ก็ไม่ได้เฉพาะเจาะจง ซึ่งมีการยืดหยุ่น ด้วยขึ้นอยู่กับบริบท โดยที่บางองค์กรอาจจะใช้คำว่า Carbon Neutrality แต่การประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอาจจะครอบคลุมทั้ง 7 ชนิดของก๊าซเรือนกระจก เนื่องจากว่าในการคำนวณจะมีการเปลี่ยนหน่วยเป็นตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ส่วน Net Zero แน่นอนว่าในเรื่องของการประเมินการปล่อยที่ต้องครอบคลุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมด 7 ชนิด


ส่วนในการปฏิบัติหากเป็นคำว่า Carbon Neutrality เราจะต้องมีการดำเนินการลดก๊าซเรือนกระจกด้วยตัวเอง เท่าที่สามารถลดได้มากที่สุด ส่วนที่ไม่สามารถลดได้ก็จะต้องมีการปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เนื่องจากธุรกิจเราต้องให้บริการ และผลิตสินค้า ดังนั้นจึงไม่สามารถลดก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ได้ จึงต้องมีบางส่วนที่จะต้องเหลือปล่อย ดังนั้นคำว่า Carbon Neutrality จึงมีการอนุญาตว่าปริมาณที่เหลือปล่อยสามารถไปซื้อคาร์บอนเครดิตจากโครงการลดก๊าซเรือนกระจกที่มีการรับรองและน่าเชื่อถือจากมาตรฐานต่าง ๆ 


ซึ่งประเภทของโครงการลดก๊าซเรือนกระจกที่เราจะซื้อเป็นคาร์บอนเครดิตเอามาชดเชยสามารถใช้จากโครงการประเภทไหนก็ได้ อย่างเช่น พลังงานทดแทน เพิ่มประสิทธิภาพพลังงาน การจัดการของเสีย หรือแม้กระทั่งโครงการปลูกป่า 


ทั้งนี้ Timeframe คำว่า Carbon Neutrality จะระยะสั้น หมายความว่าถ้าเรามีการประเมิน Carbon Footprint หรือการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กรเราเมื่อปีที่แล้ว และปีนี้ประเมินอีกครั้ง เราก็จะลดไปส่วนหนึ่งเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ส่วนที่เหลือเราสามารถไปซื้อ Carbon Credit จากมาตรฐานต่างๆ เอามาชดเชยเท่ากับปริมาณที่เราเหลือปล่อยตรงจุดนี้เองเราก็จะบรรลุคำว่า Carbon Neutrality 


ส่วน Net Zero จะไม่เหมือนกัน แน่นอนว่าเมื่อประเมินการปล่อยเสร็จแล้ว เราก็ต้องลดด้วยตัวเองเช่นกัน ส่วนที่เหลือปล่อยที่ไม่สามารถลดได้ ได้มีการอนุญาตให้ชดเชยแต่ไม่ได้อนุญาตให้ซื้อ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นคำว่า ‘อนุญาตให้ชดเชย’ ในที่นี้หมายถึง ต้องดูการมีส่วนร่วมของการได้มาซึ่งคาร์บอนเครดิต เราไม่สามารถจะซื้อคาร์บอนเครดิตในตลาดเพื่อที่จะบรรลุ Net Zero ได้ แต่จะต้องมีการมีส่วนร่วมตั้งแต่ต้น เช่น อาจจะทำโปรเจกต์ร่วมกันในลักษณะ Collaboration และลักษณะของโครงการคาร์บอนเครดิตที่จะนำมาบรรลุ Net Zero ก็มีการจำกัดเฉพาะ Carbon removal เท่านั้น ซึ่งมีทั้งในรูปแบบ Nature-based Solutions และ Technology based หรือจะเป็นการนำเอา Nature กับ Technology มารวมกันก็ได้ 


ขณะที่การดำเนินงานของภาคธุรกิจ เอกชน เมื่อเรามีการประเมินการปล่อยแล้วเราต้องลดด้วยตนเองก่อน เพราะเราไม่สามารถใช้เงินซื้อคาร์บอนเครดิตเพื่อบรรลุเป้าหมายได้ตลอดไป 


ในส่วนของทั่วโลกมีบริษัทที่ประกาศเป้าหมายจะเป็น Net Zero มากกว่า 2,036 บริษัท โดยในประเทศไทยมี 91 องค์กร ไม่ว่าจะเป็น บริษัท เอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน), บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ฯลฯ ที่มีการประกาศเป้าหมายจะเป็น Carbon Neutrality หรือ Net Zero ภายในปี 2050 ซึ่งเร็วกว่านโยบายประเทศไทยที่ประกาศเป้าหมายจะเป็น Carbon Neutrality ภายในปี 2050 และ เป็น Net Zero ภายในปี 2065 แต่ผู้ประกอบการเอกชนของไทย มีความท้าทายมากกว่าโดยได้มีการประกาศว่าจะเป็น Net Zero ภายในปี 2050 ทั้งนี้ระยะเวลาอาจจะเร็วอย่างเช่น เครือซีพี ประกาศที่จะเป็น Net Zero ภายในปี 2035 เป็นต้น


ทั้งนี้ตัวอย่าง Climate Ambition of Japanese Automotive Manufacturers ที่ประเทศญี่ปุ่นได้มีการประกาศเป้าหมายที่จะเป็น Net Zero ภายในปี 2050 จึงทำให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมยานยนต์ของญี่ปุ่นมีส่วนร่วมในเรื่องของการนำพาประเทศไปบรรลุเป้าหมาย ทำให้ทุกแบรนด์มีการประกาศเป้าหมายจะเป็น Carbon Neutrality หรือ Net Zero ถ้าเร็วที่สุดก็คือ Toyota ภายในปี 2035 


ดังนั้นเมื่อบริษัทแม่ผู้ผลิตรายใหญ่ในญี่ปุ่นมีเป้าหมายดังกล่าวก็ส่งผลไปยังซัพพลายเชน เพราะการลดก๊าซเรือนกระจก โดยส่วนใหญ่บริษัทขนาดใหญ่ก็จะเริ่มต้นจากการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากสโคปหนึ่งคือ ทางตรงจากการดำเนินธุรกิจขององค์กร และปล่อยทางอ้อมจากการใช้พลังงานไฟฟ้า ความร้อน ไอน้ำ จากนั้นหากสโคปหนึ่งหรือสองลดไม่พอ ก็จะพิจารณาสโคปสามซึ่งหมายถึง ซัพพลายเออร์ คู่ค้า โลจิสติกส์ ต่างๆ ดังนั้นผู้ประกอบการในไทยที่เป็นเอสเอ็มอี ผู้ผลิตชิ้นส่วน ก็จะต้องมีการปรับตัว เพื่อตอบสนองนโยบายขององค์กรแม่ในการที่จะเริ่มตั้งเป้าหมายในการลดก๊าซเรือนกระจก เพื่อจะเป็นส่วนหนึ่งในการลดก๊าซเรือนกระจกให้กับบริษัทแม่ด้วยเช่นกัน ซึ่งถือได้ว่าสิ่งเหล่านี้มี อิทธิพลในเรื่องของการค้า การลงทุน เพราะหากเราไม่มีการปรับตัวก็จะสูญเสียโอกาสทางการแข่งขัน และการค้ากับบริษัทเหล่านี้ 


จึงเห็นได้ว่าผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศไทยตอนนี้มีการตื่นตัว เริ่มที่จะเรียนรู้ และปรับปรุงประสิทธิภาพในกระบวนการผลิต ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และตั้งเป้าหมายจะเป็น Net Zero ด้วย


การเตรียมความพร้อมของภาคเอกชนเพื่อมุ่งสู่ Carbon Neutrality / Net Zero 


1.คำนวณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กร (Carbon Footprint & GHG Disclosure) 

2.ตั้งเป้าหมายในการลดก๊าซเรือนกระจก (GHG Target) 

3.ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG Reductions) 

เพื่อนำไปสู่การชดเชยให้เป็น ‘ศูนย์’


การลดก๊าซเรือนกระจกด้วยตัวเองมีอะไรบ้าง?

1.หลีกเลี่ยงกิจกรรมบางกิจกรรมที่ก่อให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

2.ปรับปรุงประสิทธิภาพ ด้านการใช้พลังงาน ทรัพยากร หรือการหาพลังงานทดแทนมาใช้งาน อาทิ ลม น้ำ ไฮโดรเจน เป็นต้น 


ส่วนกิจกรรมที่จะบรรลุเป้าหมาย Carbon Neutrality หรือ Net Zero ก็จะมาจาก Carbon removal ถ้าเป็น Nature-based Solutions ก็จะเป็นโครงการปลูกป่า ดูแลป่า ฟื้นฟู ลดการเสื่อมโทรมของป่า การกักเก็บคาร์บอนในดิน (soil carbon sequestration) ไบโอชาร์ (Biochar) การเผาชีวมวล และการเติมดินเพื่อให้เกิดการกักเก็บคาร์บอนฯ สิ่งเหล่านี้เป็นกิจกรรมธรรมชาติที่สามารถประเมินการลดการกักเก็บคาร์บอนได้และทำตามมาตรฐานต่างๆ เพื่อให้เกิดการรับรองคาร์บอนเครดิตได้ และนำเครดิตดังกล่าวมาใช้ให้บรรลุ Net Zero ได้ 


ส่วนฝั่ง Technology based อาจจะต้องอาศัยการลงทุน เพราะส่วนใหญ่เทคโนโลยีเหล่านี้ยังมีต้นทุนสูง อย่างเช่น Carbon Capture and Storage คือ กระบวนการในการดักจับคาร์บอนไดออกไซด์ที่อยู่ในชั้นบรรยากาศ และนำมากักเก็บไว้ในชั้นหินใต้ดิน หรือในหลุมน้ำมัน หลุมแก๊สที่หมดแล้วอย่างถาวร โดยไม่มีการปล่อยกลับเข้าสู่ชั้นบรรยากาศ ตอนนี้ประเทศไทยได้มีการศึกษาความเป็นไปได้ โดย บริษัท ปตท.สผ. ในพื้นที่อ่าวไทย โดยกำลังมีการดูว่าจะสามารถติดตั้งอุปกรณ์ดักจับตัวก๊าซเรือนกระจกและขนย้ายไปที่หลุมน้ำมัน หลุมแก๊ส เพื่อฝังกลบได้หรือไม่ โดยตอนนี้ได้มีการศึกษาเรื่องชั้นหินว่าจะต้องมีการฝังในระดับความลึกเท่าไรเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการรั่วไหล หรือ อาจจะมีการใช้เทคโนโลยีอย่างในญี่ปุ่น เกาหลี คือการดักจับ CO2 ในชั้นบรรยากาศและนำไปฝังใน material เพื่อการก่อสร้าง อาทิ ปูน หิน 


อีกทั้งในเรื่องมหาสมุทรที่ประเด็นที่ถูกพูดถึงกันอย่างมาก นั่นคือการเพิ่มการดูดกลับและการกักเก็บก๊าซเรือนกระจกในมหาสมุทร หรือแม้กระทั่งที่นำมารวมกันนั่นก็คือ Bioenergy with carbon capture and storage เป็นการผลิตพลังงานชีวภาพและดักจับ CO2 และฝังเก็บ ทั้งหมดนี้ถือเป็นกลุ่มโครงการที่จะช่วยให้องค์กรสามารถบรรลุเป้าหมาย Net Zero ได้ 


ทั้งนี้ Carbon Credit นิยาม คือ ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้จากการทำโครงการ หรือ กิจกรรมท่ีมีการดำเนินการตามมาตรฐานและมีการรับรอง ในบริบทของประเทศไทย ทาง TGO เป็นผู้ที่ออกตัวมาตรฐานที่เรียกว่า T-VER หรือ ซึ่งจะเป็นการออกใบรับรองหรือ Certificate รับรองปริมาณความสำเร็จในโครงการลด/กักเก็บก๊าซเรือนกระจกจากการดำเนินโครงการ T-VER ที่ผ่านกระบวนการตรวจสอบทบทวนจากผู้ประเมินภายนอกและได้รับรองจากคณะกรรมการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก โดยสามารถทำได้หลายรูปแบบ อาทิ พลังงานทดแทน การจัดการขนส่ง 


อย่างไรก็ตาม ทั่วโลกมีการพัฒนา Carbon credit mechanisms แล้ว ซึ่งในภูมิภาคอาเซียนมีประเทศไทยประเทศเดียวที่ Imprement และรับรองแล้วคือ T-VER ส่วนสิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ยังอยู่ระหว่างตัดสินใจในลักษณะ Pilot Project ส่วนญี่ปุ่นมี Joint crediting mechanism ขณะที่จีนมี Chinese Certified Emission Reduction (CCER) เป็นต้น 


ทั้งนี้สัดส่วนการรับรองคาร์บอนเครดิตที่ออกมาในตลาดทั้งหมดจะมาจากมาตรฐานที่เป็น Independent ของ VERRA โดยมีการรับรองคาร์บอนเครดิตมากที่สุด ขณะที่ประเภทโครงการในอดีตจนถึงปัจจุบันที่ได้รับรองคาร์บอนเครดิตมากที่สุดคือ พลังงานหมุนเวียน ต่อมาคือ ป่าไม้ ซึ่ง VERRA ถือเป็นเจ้าของ Market Share ในตลาดคาร์บอนไดออกไซด์มากที่สุด 


ส่วนปัจจัยที่ส่งผลต่อราคาแต่ละประเภทขึ้นอยู่กับ 


1.ประเภทโครงการ

2.มาตรฐานการออกเครดิต

3.ปี Vintage 

4.Co-benefit ของโครงการ


สุดท้ายนี้ราคาเครดิตประเภท Removal ยังคงเป็น Price Premium จากมูลค่าลงทุนโครงการที่สูง และความต้องการที่สูงอีกด้วย คิดเป็น 10 ดอลลาร์/ตัน แต่หากเป็น Renewable energy หรือพลังงานหมุนเวียน ไม่เกิน 5 ดอลลาร์/ตัน


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ