ผลวิจัยชี้ ‘ขยะอาหาร’ เมืองไทยพุ่งสูง จากพฤติกรรม ‘ขายเกิน ซื้อเผื่อ’ ส่อเข้าขั้นวิกฤติ

Sustainability

ESG Strategy

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

ผลวิจัยชี้ ‘ขยะอาหาร’ เมืองไทยพุ่งสูง จากพฤติกรรม ‘ขายเกิน ซื้อเผื่อ’ ส่อเข้าขั้นวิกฤติ

Date Time: 2 มิ.ย. 2566 14:50 น.

Video

โมเดลธุรกิจ Onlyfans ทำไมถึงมีแต่ได้กับได้ ? บริษัทมั่งคั่ง คนทำก็รวย | Digital Frontiers

Summary

  • แม้ความนิยมอาหารไทยที่เพิ่มขึ้นซึ่งสะท้อนจากการจัดอันดับอาหารอร่อยจากหลายเวทีที่ยกให้อาหารไทยหลายเมนูติดอันดับในเมนูยอดนิยม จะส่งผลดีต่อภาพรวมของธุรกิจอาหาร ตั้งแต่สตรีทฟู้ดไปจนถึงระดับอุตสาหกรรม แต่ปัญหาที่ตามมาคือ ขยะอาหารที่เพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว โดย Food Waste ของไทย ปี 2565 อยู่ที่ 17 ล้านตัน นับเป็นตัวเลขอาจขยับสูงขึ้นจนน่าเป็นห่วง

Latest


คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (SCI-TU) เปิดผลการศึกษาสถานการณ์ ขยะอาหาร (Food Waste) ในประเทศไทย ส่อเข้าขั้นวิกฤติ และเริ่มส่งผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม โดยพบว่า 2 สาเหตุหลัก คือ การบริโภคไม่หมดจนต้องทิ้ง และ การสูญเสียอาหารจากกระบวนการผลิตอาหารที่คุณภาพไม่ตามมาตรฐานที่กำหนด ซึ่งมีสัดส่วนถึง 30% 

อาจารย์ ดร.รชา เทพษร อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (SCI-TU) หรือคณะวิทย์ มธ. ให้มุมมองว่า Food Waste ของไทย ปี 2565 อยู่ที่ 17 ล้านตัน นับเป็นตัวเลขอาจขยับสูงขึ้นจนน่าเป็นห่วง

แม้ความนิยมอาหารไทยที่เพิ่มขึ้นซึ่งสะท้อนจากการจัดอันดับอาหารอร่อยจากหลายเวทีที่ยกให้อาหารไทยหลายเมนูติดอันดับในเมนูยอดนิยม จะส่งผลดีต่อภาพรวมของธุรกิจอาหาร ตั้งแต่สตรีทฟู้ดไปจนถึงระดับอุตสาหกรรม แต่ปัญหาที่ตามมาคือ ขยะอาหารที่เพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว ดังนั้น Food Waste เป็นเรื่องที่เกี่ยวพันทั้งระบบห่วงโซ่อาหาร ทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค ซึ่งทั้งหมดต้องตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อเรื่องนี้ร่วมกัน 

ข้อแนะนำ สำหรับผู้ผลิต ต้องหาแนวทางแก้ไขเพื่อลดการสูญเสีย เช่น การมีระบบการผลิตที่ดีมีคุณภาพที่ช่วยลดการสูญเสียอาหาร และสำหรับผู้บริโภคที่มีพฤติกรรมการนำอาหารมากักตุนไว้จำนวนมาก ต้องใส่ใจข้อมูลการนำเสนอของผู้ผลิตมากขึ้น เช่น ดูวันหมดอายุ และวางแผนการบริโภค เลือกซื้ออาหารที่มีระยะเวลาก่อนหมดอายุที่เหมาะสมกับแผนการบริโภค โดยเฉพาะ ธุรกิจบุฟเฟต์ ท่ีสร้างความเคยชินกับพฤติกรรมที่ทำให้เกิดขยะอาหาร จากการเตรียมอาหารปริมาณมากเพื่อดึงดูดลูกค้า แต่มากเกินความต้องการ และเหลือทิ้งในที่สุด

“นอกจากนี้การเข้าถึงโอกาสของ Future Trend ด้านอาหาร ก็กำลังเป็นแนวทางอาชีพที่กำลังเป็นเทรนด์ขาขึ้น ตอบโจทย์ยุคที่ประชากรโลกต้องการเข้าถึงความมั่นคงทางอาหาร และการจัดการของเหลือจากอาหารได้อย่างยั่งยืนด้วยเช่นกัน”


4  แนวทางสำหรับการจัดการ ‘ขยะอาหาร’ (Food Waste)

  • ลดความยาวของห่วงโซ่อาหารให้สั้นลง พร้อมตั้ง ‘กฎเหล็ก’ ของการซื้ออาหารปรุงสำเร็จและวัตถุดิบ เช่น อย่าซื้อตอนหิว ซื้อเฉพาะที่จำเป็น และไม่ตกเป็นทาสของการตลาด เช่น โปรโมชัน ซื้อ 1 แถม 1 เพื่อสร้างวินัยในการซื้ออาหาร
  • เพิ่มคุณประโยชน์ให้อาหารที่ใกล้เป็นของเสีย โดยการแปรรูปอาหารเพื่อยืดอายุ
  • การนำขยะอาหารไปใช้ให้เกิดคุณค่าหรือมูลค่าเพิ่มขึ้น เช่น การทำก๊าซชีวภาพ เพื่อไม่เป็นภาระต่อสิ่งแวดล้อม
  • การกำจัดทิ้งอย่างถูกวิธี ซึ่งส่วนใหญ่อาหารเราจะใช้วิธีในการฝังกลบ แต่ก่อนที่จะมาถึงขั้นตอนการทิ้งขยะอาหารนั้น ควรจะต้องผ่านกระบวนการลดการเกิดขยะอาหารเหล่านี้ก่อน ซึ่งหากดำเนินการทั้งหมดนี้ก็จะสามารถช่วยลดปัญหาสิ่งแวดล้อมจากขยะอาหารได้

กรณีศึกษาเกี่ยวกับ Food Waste ในต่างประเทศ เช่น ฝรั่งเศสมีกฎหมายการจัดการอาหารส่วนเกินจากกระบวนการการค้าปลีก มีมาตรการกฎหมายสร้างแรงจูงใจทางภาษี เช่น ลดภาษีถ้าผู้ผลิตสามารถลดปริมาณ Food Waste ญี่ปุ่นมีการสร้างสรรค์เมนูอาหารด้วยหลัก ‘ครีเอทีฟเมนู’  นำของเหลือในตู้เย็นหรืออาหารที่ทานไม่หมด จนเป็นเกิดกระแสและแบ่งปันวิธีการที่น่าสนใจอย่างแพร่หลาย สิงคโปร์มีแนวคิดการนำ ‘อาหารป้ายเหลือง’ ไปแจกในชุมชนที่อยู่อาศัย ช่วยให้ผู้คนเข้าถึงวัตถุดิบที่ตกมาตรฐานร้านค้าพรีเมียม เป็นต้น 


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ