ดังนั้นเมื่อพูดถึงประกันชีวิต หลายคนจึงมองว่าเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็นสักเท่าไรนัก และยิ่งหากมีใครมาขายประกัน ก็เชื่อได้ว่าคุณจะต้องปฏิเสธอย่างรวดเร็วแบบไม่ต้องชั่งใจคิดอย่างแน่นอน จึงถือได้ว่า “ประกัน” เป็นสิ่งที่ถูกละเลยมองข้าม และมักจะเป็นตัวเลือกสุดท้ายที่เลือกทำ
หากสังเกตจะพบว่าสัดส่วนคนไทยที่ทำประกันชีวิตน้อยมีน้อยกว่าประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเดียวกันอยู่มากโขเลยทีเดียว ซึ่งทางด้าน ภฤตยา สัจจศิลา กรรมการผู้จัดการ บมจ. อาคเนย์ประกันชีวิต ในฐานะบริษัทประกันชีวิต ที่เคียงคู่ชีวิตคนไทยมาอย่างยาวนานกว่า 77 ปี ให้บริการกับลูกค้าคนไทยมากว่า 1 ล้านคน ทั้งประกันรายเดี่ยว และประกันกลุ่ม เล่าให้ฟังว่า
คนไทยไม่ชอบทำประกัน หรือซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิตน้อยกว่าประเทศอื่น หากเทียบกับประชากรญี่ปุ่นนับเป็นประเทศที่ทำประกันชีวิตมากที่สุดในโลก ด้วยค่าเฉลี่ยคนญี่ปุ่น 1 คนจะมีกรมธรรม์ประกันชีวิต 3 ฉบับ/คน ส่วนยุโรป 2 ฉบับ/คน ส่วนประเทศไทยคาดว่าคนไทย 1 คนมีค่าเฉลี่ยถือกรมธรรม์ประกันชีวิตอยู่ที่ 0.25 ฉบับ/คน ซึ่งส่วนใหญ่จะซื้อเพื่อไว้ลดหย่อนภาษีเป็นหลัก ไม่ได้ซื้อเพื่อมุ่งหวังที่จะคุ้มครองชีวิต และสร้างความมั่นคงให้กับชีวิตในระยะยาว อย่างอาคเนย์มีเพียง 1.2 กรมธรรม์/คน ด้วยสารพัดเหตุผลต่างๆ มากมาย แต่หากนับเฉพาะเหตุผลใหญ่ๆ มีอยู่สองประการ คือ
1. ด้วยพฤติกรรมของคนไทยที่มองโลกในแง่ดี และมองว่าวันนี้ใช้ชีวิตให้เต็มที่ ไม่ค่อยกังวลว่าจะอยู่นานเกินไป จะไปก่อนวัยอันสมควร จะเจ็บป่วยหรือไม่ ซึ่งคนไทยมักจะมองข้ามและละเลยตรงจุดนี้เพียงแค่เหตุผลที่ว่า “มีลูก มีหลาน คอยดูแล” ตรงนี้ก็ถือว่าเป็นข้อดี เพราะจะไม่ค่อยมีเรื่องราวของการฆ่าตัวตาย
จึงทำให้คนไทยไม่ค่อยมีอัตราซึมเศร้า เมื่อเทียบกับญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ซึ่งมีอัตราการฆ่าตัวตายสูงเป็นลำดับต้นๆ ของประเทศพัฒนาแล้ว เนื่องจากมักมีความกังวลกับอนาคต ชีวิต การสูญเสีย หรือที่เรียกว่า hope and fear หวังว่าจะรวย หวังว่าจะไม่จน และหวังว่าจะมีชีวิตที่สุขสบาย รวมทั้งกลัวว่าจะเจ็บ จน และตายก่อนวัยอันควร หรือแม้กระทั่งกลัวว่าจะอยู่นานเกินไปแล้วไม่มีคนเลี้ยง
ซึ่งในอีกมุมหนึ่งคนไทยเองมักจะมีความกลัวและความกังวลที่ต่ำ เป็นเหตุผลให้ไม่ค่อยตระหนักถึงการวางแผนทางการเงิน ไม่ค่อยกังวลกับชีวิตมากนัก
2. คนไทยขาดความรู้ ความเข้าใจในเรื่องการเงิน นั่นเป็นเหตุผลที่ทำไม Financial Literacy หรือความรู้ในเรื่องการเงินจึงเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งต้องปลูกฝังตั้งแต่เด็กให้เข้าใจเรื่องของการวางแผนทางการเงิน เข้าใจเรื่องของความเสี่ยงในชีวิตว่ามีอะไรบ้าง และเครื่องมือที่จะมารองรับความเสี่ยงมีอะไรบ้าง? ซึ่ง “ประกันชีวิต” ก็ถือเป็นหนึ่งในเครื่องมือของการป้องกันความเสี่ยงและรองรับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในชีวิต ไม่ว่าจะเป็น “กลัวเจ็บ ตาย จน จากไปก่อนวัยอันควร และกลัวการอยู่นานเกินไป”
ดังนั้นหากได้เรียนรู้ตั้งแต่วัยเด็กทั้งการออมเงิน การวางแผนชีวิต รวมทั้งการใช้ชีวิตอย่างไม่ประมาท และมีประกันชีวิต ประกันสุขภาพ มาคอย Prevention และ Protection จะทำให้ประกันชีวิตเข้ามาเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่ทำให้ทุกคนสามารถใช้ชีวิตได้อย่างสงบจิต สงบใจ
ทั้งนี้ Financial หรือ Insurance Literacy ไม่ได้ถูกบ่มเพาะตั้งแต่วัยเด็ก แต่จะมาสอนได้ตอนที่เกิดเหตุการณ์ต่างๆ ขึ้นแล้ว ซึ่งก็ไม่ทันการณ์ จึงนับว่าช้าไปกับการมองหาประกันสุขภาพ “เพราะเมื่อมีปัญหาชีวิต จึงเริ่มคิดที่จะมองหาความมั่นคงทางการเงิน” บางครั้งก็สายเกินไปนั่นเอง
จึงสรุปได้ว่า 1. ด้วยพฤติกรรมของคนไทยที่มองโลกในแง่ดี จึงลืมที่จะระมัดระวัง ฉะนั้นต้องมองโลกในแง่ร้ายไว้บ้าง เพราะชีวิตไม่ได้ราบรื่น บางวันอาจจะมีอุบัติเหตุ จึงต้องวางแผนคอยดูแลตัวเองไว้ ภายใต้ความไม่ประมาท
2. ความรู้ ความเข้าใจด้านการเงินและประกันภัย ที่ยังมีไม่มากพอ ทำให้อัตราการถือครองกรรมธรรม์ของคนไทยมีน้อยเพียง 40 ล้านคน แต่ในจำนวนนี้นับเป็นจำนวนคนไม่ได้
และด้วยเหตุผลดังที่กล่าวมาอาคเนย์ได้ปรับจุดยืนทางการตลาดใหม่ โดยใช้ชื่อ “SE Life อาคเนย์ประกันชีวิต” ที่มีความทันสมัย เข้าถึงกลุ่มคนรุ่นใหม่ได้ง่ายมากขึ้น พร้อมคำมั่นสัญญา แบรนด์ที่มาพร้อมบทพิสูจน์ (Brand proof) ผ่านการสร้าง Brand awareness โดยเริ่มที่การ Education เป็นอันดับแรก เพราะสำหรับลูกค้าต้องให้ความรู้ ความเข้าใจก่อน จากนั้นจึงจะเริ่มขายสินค้า พร้อมกับลงพื้นที่ไปให้ข้อมูล
ขณะที่เป้าหมายของ SE Life คือต้องการให้ลูกค้าใช้ชีวิตได้อย่างมั่นใจและมีความสุขในทุกวันธรรมดาเหมือนที่เคย ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นในชีวิตก็ตาม ที่มองเห็นทุกๆ วันธรรมดาเป็นเรื่องสำคัญ และเป็นวันที่ทุกคนมีความสุขได้เหมือนดังเคย ผ่านการดูแลความคุ้มครองชีวิต เรื่องของการวางแผนทางการเงิน การคุ้มครองสุขภาพ การวางแผนอนาคตหลังเกษียณ เพราะเรามองว่าหากนวัตกรรมการประกันชีวิตและการดูแลสุขภาพ ภายใต้การลงทุนนี้สามารถตอบโจทย์คนรุ่นใหม่ที่ต้องการใช้ชีวิตอย่างมีอิสระและมีอิสระที่จะเลือก พร้อมกับวางแผนชีวิตของตนเอง โดยไม่ต้องมีกฎระเบียบของสังคมมาเป็นตัวกำหนด
ดังนั้นลูกค้าหลักจะเป็นกลุ่ม Heavy Duty รวมทั้งกลุ่มคู่แต่งงานที่กำลังเริ่มสร้างครอบครัว มีบุตร และเป็นพนักงานออฟฟิศ ที่เป็นประกันกลุ่มรวมกว่า 4 แสนราย หรือแม้กระทั่งกลุ่ม Going Middle Income กลุ่มคนชั้นกลางที่กำลังจะขึ้นไปอยู่จุดสูงสุดของพีระมิด และประมาณ 30-40% ของลูกค้าเป็นกลุ่มวัยทํางาน ที่มีภาระต้องดูแล แล้วก็คุ้มครองทั้งชีวิตตัวเอง และชีวิตของครอบครัวอีกด้วย
“ทั้งนี้คนเราจะสามารถมีชีวิตที่เป็นสุขและคุณภาพที่ชีวิตที่ดีได้ เราต้องมีเงินไม่ต่ำกว่า 30% ของรายได้ของเงินเดือนเดือนสุดท้าย หากมีไม่ถึง Protection gap มาอย่างแน่นอน ดังนั้นในสังคมไทยจึงมองว่า Underserved มี Protection gap ที่สูง”
จึงถือได้ว่า “วิกฤติ” อาจจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ก็ได้ ไม่มีใครคาดเดาได้ถูกต้อง เพราะเราอยู่ในยุคที่โลกมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นทุกวัน ทำให้ไม่สามารถคาดการณ์เหตุการณ์ในอนาคตได้ ทั้งเรื่องของโรคภัยไข้เจ็บ หรือแม้กระทั่งเรื่องของคุณภาพชีวิต การเงิน ซึ่งก็คงจะดีไม่น้อยหากเราลงทุนกับสุขภาพตัวเอง มีหลักประกันความเสี่ยงที่ครอบคลุมจุดต่างๆ ได้อย่างครบถ้วน
เพราะแม้เงินไม่อาจซื้อสุขภาพที่แข็งแรงหรือชีวิตที่ยืนยาวได้ แต่การเกิด แก่ เจ็บ ตาย ล้วนต้องใช้เงิน นั่นเป็นสาเหตุที่หลายๆ คนยอมที่จะจ่ายเงินส่วนหนึ่ง เพื่อรักษาเงินส่วนใหญ่ไว้ด้วยการซื้อประกันให้กับตนเองหรือครอบครัว
ดังนั้นหากจะเปรียบเทียบ “ประกัน” ก็เหมือนกับ “ร่ม” ตอนฝนไม่ตก ไม่มีใครนึกถึงและพกพา แต่พอฝนตกลงมาต่างก็พากันคิดถึงร่มขึ้นมาทันที จึงปฏิเสธไม่ได้ว่าสิ่งที่มองว่าไม่จำเป็นในวันนี้ อาจกลายเป็น “แสงสว่างที่ปลายอุโมงค์” ในวันหน้าก็เป็นได้
ดังคำกล่าวของ “วอร์เรน บัฟเฟตต์” ที่ว่า “จงลงทุนในความรู้ จงลงทุนในสุขภาพของคุณ เพราะจะไม่มีใครมาแย่งมันไปจากคุณได้ การลงทุนแบบนี้ยิ่งลงทุน ยิ่งเติบโต ยิ่งดีขึ้น เป็นการลงทุนที่ดีกว่าการลงทุนในสินทรัพย์ใดๆ ทั้งปวง อย่าลืมว่าตัวคุณเองคือสินทรัพย์ที่สำคัญที่สุด” นั่นเอง