กรมสรรพากร เปิดยื่นภาษีเงินได้แล้ว สรุปสิทธิลดหย่อนภาษี ปี 2567 มีอะไรบ้าง? ตามกฎหมาย ฉบับอัปเดต

Personal Finance

Banking & Bond

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

กรมสรรพากร เปิดยื่นภาษีเงินได้แล้ว สรุปสิทธิลดหย่อนภาษี ปี 2567 มีอะไรบ้าง? ตามกฎหมาย ฉบับอัปเดต

Date Time: 2 ม.ค. 2568 10:17 น.

Video

โมเดลธุรกิจ Onlyfans ทำไมถึงมีแต่ได้กับได้ ? บริษัทมั่งคั่ง คนทำก็รวย | Digital Frontiers

Summary

  • รายการลดหย่อนภาษี 2567 มีอะไรบ้าง (ฉบับอัปเดต) รวมมาให้แล้ว แบบเข้าใจง่าย หลังกรมสรรพากร เปิดยื่นภาษีเงินได้ ออนไลน์ ถึงวันที่ 8 เม.ย. ผ่าน https://efiling.rd.go.th ส่วนยื่นภาษีแบบกระดาษ ถึง 31 มี.ค.2568 ยิ่ง “เงินได้”เพิ่ม ภาษีที่ต้องจ่ายก็มากขึ้น แต่ยื่นสิทธิ ขอคืนภาษี ได้ตามกฎหมาย จากค่าลดหย่อนประเภทต่างๆ

Latest


ถึงเวลา “ยื่นภาษี” แล้ว โดยกำหนดวัน ยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปี 2567 กรมสรรพากร เปิดให้ยื่นภาษีออนไลน์ ผ่านเว็บไซต์ https://efiling.rd.go.th ได้ตั้งแต่วันนี้ ถึงวันที่ 8 เม.ย.2568 ส่วนการยื่นภาษีแบบกระดาษ ที่สำนักงานสรรพากร สิ้นสุด วันที่ 31 มี.ค.2568 

สำหรับสูตรการคิดภาษีจากรายได้ คือ 

"รายได้ตลอดทั้งปี - ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน = รายได้สุทธิ”

โดยอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในบ้านเรา อ้างอิงข้อมูลจากธนาคารกรุงไทย ระบุว่า กรมสรรพากร กำหนดให้บุคคลที่มีเงินได้สุทธิต่อปีตั้งแต่ 150,001 บาทขึ้นไปต้องเสียภาษี เราจึงต้องมานำเงินได้สุทธิยอดนี้มาคำนวณกลับ เพื่อหาเรทเงินเดือนที่ต้องเสียภาษี ก็จะได้ดังต่อไปนี้

เงินได้สุทธิ (เงินเดือน X 12 )     150,001 บาท
บวก ค่าลดหย่อนส่วนตัว            60,000 บาท
บวก เงินสะสมประกันสังคม         9,000 บาท


รายได้รวม 219,001 บาท

จะเห็นว่า ผู้ที่มีรายได้รวมต่อปี 219,001 บาทขึ้นไปจะต้องเสียภาษี ดังนั้น คำตอบของคำถามที่ว่า รายได้เท่าไหร่ต้องเสียภาษี ก็คือ เดือนละ 26,583 บาทขึ้นไปนั่นเอง

แต่หากมีเงินเดือนมากกว่า 120,000 บาทต่อปีขึ้นไป แต่ไม่เกิน 150,000 บาท จะต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเช่นกัน แม้ว่ารายได้จะยังไม่ถึงเกณฑ์ที่ต้องจ่ายภาษี ส่วนผู้ที่มีรายได้สุทธิต่อปีรวม 150,001 บาทขึ้นไป จะต้องจ่ายภาษีแน่นอน โดยมีอัตราภาษีอยู่ที่ 5 – 35%

เช่น 

  • 150,001 บาท - 300,000 บาท  เสียภาษี 5%
  • 300,001 บาท - 500,000 บาท เสียภาษี 10%
  • 500,001 บาท - 750,000 บาท เสียภาษี 15% 

สรุปรายการลดหย่อนภาษีเงินได้ ปี 2567

ซึ่งการเตรียมพร้อมเอกสารสำหรับการยื่นภาษี นอกจากหนังสือรับรองภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย (ใบ 50 ทวิ) แล้ว เรายังต้องจัดเตรียม เอกสารประกอบการลดหย่อนภาษี สำหรับขั้นตอน กรอกแบบฟอร์มการยื่นจ่ายภาษี ที่เราได้สิทธิตามกฎหมายอีกด้วย

ทั้งนี้ รายการลดหย่อนภาษี ปี 2567 สำหรับยื่น ปี 2568 มีอะไรบ้าง ? Thairath Money สรุปรวบรวม มาให้ดังนี้ 

สิทธิลดหย่อนภาษีเงินได้ ประเภท ส่วนตัวและครอบครัว 

  • ส่วนตัว 60,000 บาท
  • คู่สมรส 60,000 บาท
  • บิดามารดา คนละ 60,000 บาท
  • บุตร คนละ 30,000 บาท (คนที่ 2 ขึ้นไป คนละ 60,000 บาท)
  • ค่าฝากครรภ์/คลอดบุตร 60,000 บาท
  • ผู้พิการ /ทุพพลภาพ  60,000 บาท 

สิทธิลดหย่อนภาษีเงินได้ ประเภท ประกัน

  • ประกันชีวิต  (ตลอดชีพ/สะสมทรัพย์) 100,000 บาท
  • ประกันสุขภาพ  25,000 บาท
  • ประกันสุขภาพบิดามารดา  15,000 บาท
  • ประกันชีวิตแบบบำนาญ 200,000 บาท (รวมกันไม่เกิน 500,000 บาท)

สิทธิลดหย่อนภาษีเงินได้ ประเภทการลงทุน 

  • RMF 500,000 บาท
  • SSF 200,000 บาท
  • Thai ESG 300,000 บาท 
  • ประกันสังคม  9,000 บาท 
  • กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ /กบข./กองทุนสงเคราะห์ครู  500,000 บาท 
  • วิสาหกิจเพื่อสังคม 100,000 บาท 
  • กองทุนการออมแห่งชาติ 30,000 บาท 

สิทธิลดหย่อนภาษีเงินได้ ประเภทค่าลดหย่อนอื่นๆ 

  • Easy E-Receipt 50,000 บาท (สำหรับปีภาษี 2568 มีเงื่อนไข ลดหย่อนเฉพาะค่าซื้อสินค้าหรือบริการในประเทศ ตั้งแต่ 16 ม.ค. - 28 ก.พ.2568 ตามรายละเอียดประกาศ https://www.rd.go.th/fileadmin/user_upload/news/2567thai/news5_2568.pdf)
  • เที่ยวเมืองรอง 15,000 บาท
  • ค่าสร้างบ้านใหม่ 100,000 บาท 
  • ดอกเบี้ยที่อยู่อาศัย 100,000 บาท
  • เงินบริจาค  10%ของเงินได้สุทธิ

ทั้งนี้ การยื่นภาษีของคู่สมรส หรือ สามี-ภรรยา และ การใช้สิทธิค่าลดหย่อนแต่ละรายการมีเงื่อนไขแตกต่างกัน โดยเฉพาะ การลงทุนที่ต้องถือให้ครบกำหนดเวลา 

อ่านข่าวหุ้น ข่าวทองคำ และ ข่าวการลงทุน และ การเงิน กับ Thairath Money ได้ที่

ติดตามเพจ Facebook : Thairath Money ได้ที่ลิงก์นี้  https://www.facebook.com/ThairathMoney


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ