เช็กลิสต์ ประเด็นต้องรู้! ก่อนยื่นแบบ “ภาษีเงินได้” กับ 3 เทคนิค วิธีขอคืนภาษีให้ได้เร็ว

Personal Finance

Banking & Bond

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

เช็กลิสต์ ประเด็นต้องรู้! ก่อนยื่นแบบ “ภาษีเงินได้” กับ 3 เทคนิค วิธีขอคืนภาษีให้ได้เร็ว

Date Time: 3 ม.ค. 2568 10:23 น.

Video

ดร.พิพัฒน์ KKP กระเทาะโจทย์เศรษฐกิจไทย บุญเก่าเจอความเสี่ยง บุญใหม่มาไม่ทัน

Summary

  • เช็กลิสต์ ประเด็นต้องรู้! ตามกฎหมาย ก่อนยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แบบกระดาษ หมดเขต 31 มี.ค. 2568 ส่วนยื่นภาษีออนไลน์ E-FILING สิ้นสุด 8 เม.ย.2568 กับ 3 เทคนิคง่ายๆ วิธีขอคืนภาษีให้ได้เร็ว กรอกข้อมูลภาษีผิดมีทางออก ล่าสุด กรมสรรพากร เปิดระบบบริการภาษีใหม่ D-MyTax ไม่ต้องยืนยันตัวตนหลายรอบ

ถึงกำหนดการยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี 2567 แล้ว ซึ่งกรมสรรพากร เปิดให้ยื่นภาษี ภ.ง.ด. 90 / ภ.ง.ด.91  รูปแบบเอกสาร หรือ กระดาษ ได้ที่ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาทุกแห่ง ทั่วประเทศ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม-31 มีนาคม 2568

ขณะ การยื่นภาษีออนไลน์ ทำผ่าน เว็บไซต์ของกรมสรรพากร www.rd.go.th สิ้นสุดวันสุดท้าย ถึง 8 เมษายน 2568 ผ่านระบบ E-FILING อีไฟล์ลิ่ง ยื่นแบบและชำระภาษีออนไลน์ (คลิกเข้าระบบ https://efiling.rd.go.th/rd-efiling-web/login) 

นอกจากนี้ ล่าสุด กรมสรรพากร ยังเปิดตัว ระบบ “D-MyTax (Digital MyTax)” ซึ่งเป็นระบบที่รวมบริการด้านภาษีในรูปแบบ One Portal ที่ออกแบบมาเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้เสียภาษี ทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล เพิ่มเติมมาอีก 1 ช่องทาง 

ซึ่งผู้เสียภาษีสามารถยืนยันตัวตนเพียงครั้งเดียว ไม่ต้องยืนยันซ้ำในแต่ละบริการ โดยผู้เสียภาษี สามารถเข้าสู่ระบบ D-MyTax ได้ผ่านทางเว็บไซต์กรมสรรพากร www.rd.go.th โดยใช้ Digital ID หรือ RD ID ในการล็อกอิน ซึ่งระบบจะแยกบริการออกเป็นหลายประเภทตามกลุ่มผู้เสียภาษี เช่น 

  • บุคคลธรรมดา 
  • นิติบุคคล 
  • ผู้ที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มทั้งในรูปแบบบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล 

สำหรับในระยะแรก เดือนมกราคม 2568 ระบบ “D-MyTax มีบริการที่พร้อมใช้งาน เช่น ระบบ My Tax Account ที่ช่วยอำนวยความสะดวกผู้เสียภาษี ในการจัดเตรียมข้อมูลการยื่นแบบฯ ระบบ e-filing สำหรับการยื่นแบบภาษีออนไลน์ และ ระบบบริจาค อิเล็กทรอนิกส์(e-Donation) เป็นต้น

สรุปประเด็นต่างๆที่ควรรู้ ก่อนยื่นภาษีบุคคลธรรมดา

สำหรับวิธีการยื่นแบบภาษี เชื่อว่า บางคนเข้าใจและใช้สิทธิต่างๆ ในการคำนวณภาษีได้อย่างถูกต้องแล้ว ขณะที่บางคนอาจไม่เข้าใจ หรือใช้ระยะเวลาในการทำความเข้าใจภาษีประมาณหนึ่ง เนื่องจากเป็นเรื่องเข้าใจค่อนข้างยาก โดยเฉพาะข้อกฎหมายในประมวลรัษฎากร 

Thairath Money ชวนมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับการยื่นแบบภาษี และชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้ง่ายและตรงประเด็นมากขึ้น โดยอ้างอิงข้อมูลเผยแพร่ มีประโยชน์จาก คอลัมน์ Tax How to ของ บมจ.ธรรมนิติ องค์กรผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย และ บัญชี มาสรุปประเด็นต่างๆที่ควรรู้ ก่อนยื่นภาษีบุคคลธรรมดา ดังนี้ 


เงินได้พึงประเมิน คือ อะไร ? 

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เป็นภาษีที่คำนวณจากเงินได้พึงประเมินที่บุคคลได้รับ โดยมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร นิยาม “เงินได้พึงประเมิน” ไว้ว่า…

เงินได้อันเข้าลักษณะพึงเสียภาษีในหมวดนี้ หมายรวมตลอดถึง ทรัพย์สิน หรือ ประโยชน์อย่างอื่นที่ได้รับ ซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน เงินค่าภาษีอากรที่ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้สำหรับเงินได้ประเภทต่างๆ ตามมาตรา 40 และ เครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิด้วย 

เกณฑ์เงินได้พึงประเมินขั้นต่ำ 

มาตรา 39 ประกอบกับมาตรา 40 (8) แห่งประมวลรัษฎากร ได้กำหนดกว้างๆ ว่า ให้ผู้มีเงินได้ นำเงินได้ทุกประเภท ที่ไม่ได้ระบุในมาตรา 40 (1) - (7) มายื่นแบบภาษี และ คำนวณภาษี ซึ่งมีเกณฑ์ในการพิจารณา เข้าใจง่ายๆ ดังนี้ 

เงินได้ (เงินเดือนอย่างเดียว)

  • โสด 120,000 บาท/ปี 
  • สมรส 220,000 บาท/ปี 

เงินได้ประเภทอื่นๆ (เช่น ฟรีแลนซ์ ,ขายของออนไลน์ ฯ)

  • โสด 60,000 บาท/ปี 
  • สมรส 120,000 บาท/ปี 

เงินได้ ไม่ถึงเกณฑ์ต้องยื่นแบบภาษี หรือไม่ ? 

1.หากมีเงินได้พึงประเมิน ไม่ถึงเกณฑ์ ผู้มีเงินได้ ไม่มีหน้าที่ต้องยื่นแบบฯ 

2.หากมีเงินได้พึงประเมินถึงเกณฑ์ ให้นำเงินได้สุทธิ X อัตราภาษี 

ซึ่งหากคำนวณแล้วปรากฎว่า ...

  • ไม่มีเงินภาษีที่ต้องชำระ ให้ยื่นแบบฯภายในวันที่กำหนด 
  • มีเงินภาษีที่ต้องชำระ ให้ยื่นแบบฯและชำระภาษีภายในวันที่กำหนด 

กรอกข้อมูลภาษีผิดทำอย่างไรได้บ้าง ? 

  • กรณีผู้เสียภาษี ยื่นแบบภาษีออนไลน์ แล้วกรอกข้อมูลผิด ให้เข้าระบบการยื่นแบบฯของกรมสรรพากร และ เลือกหัวข้อ “ยื่นเพิ่มเติม” กรอกข้อมูลที่ถูกต้องใหม่ และ คลิก “ยืนยัน”
  • กรณียื่นภาษี แบบกระดาษ ที่สำนักงานสรรพากร ให้ยื่นแบบฯ อีกครั้ง โดยกรอกข้อมูลใหม่ทั้งหมดให้ถูกต้อง และนำแบบฯไปยื่นให้เจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขานั้นๆ 

ไม่ได้ชำระภาษีในเวลาที่กำหนด 

  • หากเรายื่นแบบภาษี ภายในกำหนด แต่ชำระภาษีไม่ทัน หรือ เกินกำหนดระยะเวลาที่กรมสรรพากร กำหนดไว้ ตามกฎหมาย จะถือว่า ผู้มีเงินได้ ไม่ได้ยื่นแบบฯแต่อย่างใด 
  • หากยื่นแบบฯเกินกำหนด ถือว่าได้ยื่นแบบฯพร้อมชำระภาษีเกินกำหนด ต้องชำระเบี้ยปรับเงินเพิ่ม และค่าปรับอาญาตามที่กฎหมายกำหนด 

3วิธีขอคืนภาษีให้ได้เร็ว 

สำหรับการขอคืนภาษี บมจ.ธรรมนิติ แนะวิธีการเบื้องต้น คือ 

  1. การเตรียมเอกสารให้พร้อมก่อนยื่นแบบภาษี เช่น หนังสือรับรองเงินเดือน ข้อมูลการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ข้อมูลค่าลดหย่อนต่างๆ ข้อมูลเอกสารค่าใช้จ่าย 
  2. แนบ/อัปโหลดเอกสาร ไปพร้อมการยื่นแบบ เพื่อให้เจ้าหน้าที่สรรพากรนำไปตรวจสอบได้ทันที 
  3. ผูกพร้อมเพย์กับบัญชีธนาคาร หากผ่านการพิจาณาคืนภาษี กรมสรรพากรจะโอนเงินคืนให้ ใน 3-5 วันทำการ 

อ่านข่าวหุ้น ข่าวทองคำ และ ข่าวการลงทุน และ การเงิน กับ Thairath Money ได้ที่

ติดตามเพจ Facebook : Thairath Money ได้ที่ลิงก์นี้  https://www.facebook.com/ThairathMoney


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ