ยื่นภาษี 2567 ทำอย่างไร ใช้เอกสารอะไร สิ้นสุดเมื่อไหร่? เรื่องที่ผู้มีรายได้ต้องรู้

Personal Finance

Banking & Bond

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

ยื่นภาษี 2567 ทำอย่างไร ใช้เอกสารอะไร สิ้นสุดเมื่อไหร่? เรื่องที่ผู้มีรายได้ต้องรู้

Date Time: 21 ธ.ค. 2566 15:02 น.

Video

ล้วงลึกอาณาจักร “PCE” สู่บริษัทมหาชน ปาล์มครบวงจร | On The Rise

Summary

  • ใกล้จะเข้าสู่ช่วงต้นปี สำหรับมนุษย์เงินเดือนและผู้ที่มีรายได้ต่างมีหน้าที่ที่ต้องทำ นั่นก็คือ "การยื่นภาษีเงินได้ประจำปี" หรือเรียกว่า "ยื่นภาษีออนไลน์" โดยจะเป็นการยื่นปีละ 1 ครั้ง ซึ่งมีทั้งยื่นภาษีด้วยตนเองผ่านสำนักงานสรรพากรใกล้บ้าน และการยื่นผ่านออนไลน์ เพื่อแสดงรายได้ แหล่งที่มารายได้ รวมทั้งการนำมาซึ่งการลดหย่อนภาษี เพื่อได้เงินคืน

Latest


ในครั้งนี้ #Thairath Money จะพาไปดูกันว่า ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดามีกี่แบบ และมนุษย์เงินเดือนจะต้องยื่นแบบฯ ใด เอกสารใดบ้างที่จะต้องเตรียม และจะยื่นออนไลน์อย่างไรได้บ้าง?

ภาษีเงินได้บุคลธรรมดา มีกี่แบบ? 

1. ภ.ง.ด. 90 เงินเดือน + รายได้อื่นๆ ช่วงเวลายื่นแบบภาษี คือ ม.ค.- มี.ค. ของปีภาษีถัดไป

2. ภ.ง.ด.91 เงินเดือน ช่วงเวลายื่นแบบภาษี ม.ค.- มี.ค. ของปีภาษีถัดไป

3. ภ.ง.ด 93 กรณียื่นก่อนถึงกำหนดเวลาการยื่นแบบ ช่วงเวลาการยื่น ก่อนถึงกำหนดเวลาการยื่นแบบปกติ

4. ภ.ง.ด. 94 รายได้ตามมาตรา 40 (5)-(8) เงินได้จากการให้เช่า วิชาชีพอิสระ เงินได้จากการรับเหมา ออกวัสดุประกอบสำคัญ นอกเหนือจากอุปกรณ์สัมภาระที่มี เงินได้จากนักแสดงสาธารณะ และเงินได้จากการประกอบธุรกิจพาณิชย์ ช่วงเวลาการยื่นแบบ  ก.ค.- ก.ย. ของปีภาษีนั้น

5. ภ.ง.ด. 95 สำหรับคนต่างด้าวที่ได้รับค่าจ้าง ช่วงเวลายื่นแบบภาษี ม.ค.- มี.ค. ของปีภาษีถัดไป

ทั้งนี้สำหรับ “มนุษย์เงินเดือน” ที่มีรายได้เกิน 120,000 บาทต่อปี ต้องเตรียมตัว “ยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปี 2566” ภ.ง.ด. 90 หรือ ภ.ง.ด. 91 แล้วแต่กรณี ในกรณีที่เป็นมนุษย์เงินเดือนมีรายได้แค่เงินเดือนประจำเท่านั้นจะต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด. 91 แต่มีรายได้จากแหล่งอื่นให้ยื่นเป็น ภ.ง.ด.90

ซึ่งกรมสรรพากรเปิดให้ยื่นภาษีได้กรณีแบบเอกสาร หรือกระดาษ ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาทุกแห่ง ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม-31 มีนาคม 2567 หรือจะยื่นผ่านเว็บไซต์ของกรมสรรพากร www.rd.go.th ได้ถึง 8 เมษายน 2567

เอกสารที่ต้องเตรียมในการยื่นภาษี

  • หนังสือรับรองภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย หรือใบ 50 ทวิ 
  • รายการลดหย่อนภาษีของทั้งปี
  • เอกสารประกอบการลดหย่อนภาษี

วิธียื่นภาษีออนไลน์ 2567 ด้วยตนเอง ดังนี้

STEP 1 เริ่มแรกเข้าไปที่เว็บไซต์ของ กรมสรรพากร หรือคลิกที่นี่ (https://www.rd.go.th/272.html)

  1. จากนั้นทำการ “เข้าสู่ระบบ” ด้วยเลขบัตรประชาชน แต่หากใครที่ยื่นครั้งแรกให้กด “สมัครสมาชิก” แล้วทำตามขั้นตอนก่อน
  2. ยืนยันตัวตนด้วยรหัส OTP ผ่านเบอร์โทรศัพท์ที่ลงทะเบียนไว้
  3. กดยื่นแบบ ภ.ง.ด. 90/91
    โดย ภ.ง.ด.90 คือ คนที่มีรายได้นอกเหนือจากเงินเดือนที่ได้รับ เช่น ขายของออนไลน์แบบบุคคลธรรมดา หรือเงินปันผล ส่วน ภ.ง.ด.91 คือ คนที่มีรายได้จากเงินเดือนเพียงอย่างเดียว โดยไม่มีรายได้เสริมจากช่องทางอื่น

STEP 2 ดึงข้อมูลค่าลดหย่อนอัตโนมัติ

  1. โดยกรอกข้อมูลรหัสหลังบัตรประชาชน แล้วกด “ตรวจสอบข้อมูล”
  2. ระบบจะแสดงข้อมูลค่าลดหย่อนต่างๆ ให้อัตโนมัติ จากนั้นกด “ตรวจสอบข้อมูลสำหรับยื่นแบบ”
  3. เลือกข้อมูลที่จะใช้ในการยื่นภาษี จากนั้นกด เริ่มยื่นแบบ

STEP 3 ตรวจสอบข้อมูลส่วนตัว และใส่สถานะ

  1. ระบบจะแสดงข้อมูลส่วนบุคคลต่างๆ ของเรา ทั้งเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร, ชื่อ-นามสกุล, วันเดือนปีเกิด, สถานที่ติดต่อ, ร้านค้า/กิจการส่วนตัว (ถ้ามี) ให้เราทำการตรวจสอบความถูกต้อง จากนั้นให้ระบุ “สถานะ” โสด / สมรส / หม้าย

STEP 4 ระบุข้อมูลตามแหล่งที่มาของรายได้

  • ระบบจะแสดงหน้ารายได้ต่างๆ โดยแยกตามแหล่งที่มาของรายได้ เช่น รายได้จากเงินเดือน, รายได้จากฟรีแลนซ์, รายได้จากทรัพย์สิน, รายได้จากการลงทุน และรายได้จากมรดก หากเป็นพนักงานประจำที่มีรายได้ช่องทางเดียวจากเงินเดือน ให้เลือก “ระบุข้อมูลช่อง 40(1)”

STEP 5 กรอกรายได้ทั้งปีตามใบ 50 ทวิ

  • ในหน้านี้ให้เรากรอกรายได้ทั้งปีตามใบ 50 ทวิ ที่ทางบริษัทให้มา ดังนี้
  • เงินได้ทั้งหมด คือ รายได้ในปีที่ผ่านมาของเราทั้งหมด
  • ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ให้ดูว่าบริษัทมีการหักภาษีล่วงหน้าไปหรือไม่ หากไม่มีให้ระบุ 0 หรือถ้ามีก็ให้ระบุตามใบ 50 ทวิ
  • เลขผู้จ่ายเงินได้ของบริษัทที่เราทำงานอยู่

STEP 6 ตรวจสอบค่าลดหย่อนทั้งหมด

STEP 7 ตรวจสอบข้อมูลทั้งหมด

STEP 8 กดยืนยันการยื่นแบบ

เสร็จสิ้นการยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แต่ต้องอัปโหลดเอกสารค่าลดหย่อนอื่นๆ เพิ่มเติมด้วย เพื่อความรวดเร็วในการขอคืนภาษี

อ้างอิง กรมสรรพากร


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ