เศรษฐกิจไทยมีความเสี่ยงสูง ขยายตัวต่ำ กนง.ลดดอกเบี้ย เหลือ 1.25%

Personal Finance

Banking & Bond

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

เศรษฐกิจไทยมีความเสี่ยงสูง ขยายตัวต่ำ กนง.ลดดอกเบี้ย เหลือ 1.25%

Date Time: 6 พ.ย. 2562 14:50 น.

Video

"ROCTEC กับการเติบโตครั้งสำคัญ เมื่อ BTS เข้าถือหุ้น" | Money Issue

Summary

  • ตามคาด กนง.ลดดอกเบี้ยลง 0.25% แตะระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ เหลือ 1.25% หลังเศรษฐกิจไทยขยายตัวต่ำ จากส่งออกหดตัว หวั่นส่งผลกระทบต่อการจ้างงาน

ตามคาด กนง.ลดดอกเบี้ยลง 0.25% แตะระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ เหลือ 1.25% หลังเศรษฐกิจไทยขยายตัวต่ำ จากส่งออกหดตัว หวั่นส่งผลกระทบต่อการจ้างงาน

เมื่อวันที่ 6 พ.ย. นายทิตนันทิ์ มัลลิกะมาส เลขานุการ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) แถลงว่า ที่ประชุม กนง. มีมติ 5 ต่อ 2 เสียง ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% จาก 1.50% เป็น 1.25% ต่อปี โดยให้มีผลทันที ขณะที่ 2 เสียง เห็นควรให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 1.50% ต่อปี

ทั้งนี้ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวต่ำกว่าที่ประเมินไว้ และต่ำกว่าศักยภาพมากขึ้น จากการส่งออกที่ลดลง ซึ่งส่งผลไปสู่การจ้างงานและอุปสงค์ในประเทศ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มต่ำกว่าขอบล่างของกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อ ภาวะการเงินโดยรวมยังผ่อนคลาย เสถียรภาพระบบการเงินได้รับการดูแลไปแล้วบางส่วน แต่ยังมีปัจจัยเสี่ยงที่ต้องติดตาม กรรมการส่วนใหญ่เห็นว่านโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากขึ้น จะมีส่วนช่วยสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจและเอื้อให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปกลับสู่กรอบเป้าหมาย จึงเห็นควรให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย

ส่วนอีก 2 เสียง เห็นว่า ในภาวะปัจจุบันที่นโยบายการเงินอยู่ในระดับผ่อนคลายอยู่แล้ว การลดอัตราดอกเบี้ยอาจไม่ช่วยสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจเพิ่มได้มากนัก เมื่อเทียบกับความเสี่ยงด้านเสถียรภาพระบบการเงินที่อาจเพิ่มสูงขึ้น รวมทั้งยังจำเป็นต้องรักษาขีดความสามารถในการดำเนินนโยบายการเงินที่มีจำกัดเพื่อรองรับความเสี่ยงที่อาจเพิ่มขึ้นในอนาคต

นอกจากนี้ กนง.เห็นว่า แนวโน้มเศรษฐกิจไทยในระยะต่อไปยังต้องเผชิญกับความเสี่ยงสูง โดยเฉพาะความเสี่ยงด้านต่างประเทศจากสภาวะการกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศ แนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจจีนและประเทศอุตสาหกรรมหลักที่จะส่งผลมาสู่อุปสงค์ในประเทศ และความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ ซึ่งจะติดตามผลจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลและการใช้จ่ายของภาครัฐ ตลอดจนความคืบหน้าของการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญและผลต่อเนื่องไปยังการลงทุนภาคเอกชน. 


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ