ยุภา ลีวงศ์เจริญ หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านการเงิน (ร่วม) บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ TRUE เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานรวมของบริษัทฯ และบริษัทย่อย ประจำปี 2566 สิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2566 ปรากฏผลขาดทุนสุทธิส่วนที่เป็นของบริษัทฯ จํานวน 14,580.96 ล้านบาท
ณ สิ้นปี 2566 ผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่เพิ่มขึ้น 0.5 ล้านรายเป็น 51.9 ล้านราย หรือเติบโตที่ร้อยละ 1.0 จากไตรมาส 3 ปี 2566 และเติบโตที่ร้อยละ 4.2 จาก ณ สิ้นปี 2565 ผู้ใช้บริการระบบเติมเงินเพิ่มขึ้น 0.6 ล้านรายเป็น 36.3 ล้านราย หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 จากไตรมาสก่อน ในขณะที่ผู้ใช้บริการ ระบบรายเดือนลดลงอยู่ที่ 15.6 ล้านรายเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน
รายได้เฉลี่ยต่อผู้ใช้บริการ (ARPU) ของระบบเติมเงินภายหลังจากการจัด ประเภทรายการใหม่เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.0 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน เป็น 109 บาทต่อเดือน ในขณะที่ ARPU ของระบบรายเดือนเพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.7 เป็น 420 บาทต่อเดือน ARPU เฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 เมื่อเทียบกับไตรมาส ก่อน เป็น 204 บาทต่อเดือน ผู้ใช้บริการ 5G ณ สิ้นปี 2566 เป็น 10.5 ล้านราย เติบโตร้อยละ 12 จากไตรมาส 3 ปี 2566
ณ สิ้นปี 2566 ผู้ใช้บริการในธุรกิจออนไลน์ทรงตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน อยู่ที่ 3.8 ล้านราย ในขณะที่ ARPU เพิ่มขึ้นเป็น 494 บาทต่อเดือน หรือเพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.4 จากไตรมาส 3 ปี 2566 สมาชิกโทรทัศน์บอกรับสมาชิก ณ สิ้นปี 2566 ทรงตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนอยู่ที่ 1.4 ล้านราย ในขณะที่ ARPU เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนเป็น 279 บาทต่อเดือน
บริษัทรายงานผลขาดทุนสุทธิส่วนที่เป็นของบริษัทประจําปี 2566 เป็น 15,689 ล้านบาท สําหรับไตรมาส 4 ปี 2566 บริษัทรายงานผลขาดทุนสุทธิส่วนที่เป็น ของบริษัท เป็น 11,279 ล้านบาท
ซึ่งได้รับผลกระทบเชิงลบจากผลกระทบที่ เกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวจํานวน 10,899 ล้านบาท การด้อยค่าสินทรัพย์ที่มีความซ้ำซ้อนที่เกี่ยวข้องกับการดําเนินการพัฒนา เครือข่ายให้ทันสมัย (Network Modernization) จำนวน 7.1 พันล้านบาท ต้นทุนที่เกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาองค์กรให้ทันสมัยจำนวน 1.9 พันล้านบาท ผลขาดทุนจากการลงทุนในบริษัทร่วมและการตัดจำหน่ายอื่นๆ จํานวน 1.8 พันล้านบาท
สำหรับ ภาพรวมปี 2567 ทรู มองว่า การเติบโตของอุตสาหกรรมคาดว่าจะเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับการคาดการณ์ GDP ประเทศไทยในปี 2567 การเติบโตของเศรษฐกิจมหภาคจากการขับเคลื่อน ด้านการท่องเที่ยวจะช่วยส่งเสริมให้รายได้เฉลี่ยต่อผู้ใช้บริการ (ARPU) ของธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่และธุรกิจออนไลน์เติบโตอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงการเติบโต ของรายได้จากการให้บริการกลุ่มลูกค้าองค์กร (B2B) บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) จะยังคงมุ่งเน้นให้ความสำคัญกับการเติบโตอย่างมีกําไร โดยเร่ง การรับรู้ผลประโยชน์จากการควบรวมและการเพิ่มประสิทธิภาพในการดําเนินงาน โดยคาดการณ์การเติบโตของ EBITDA ที่รวดเร็วกว่ารายได้ ซึ่งเป็นผลจากที่ ร้อยละ 25-30 ของผลประโยชน์จากการควบรวมขั้นต้น (Gross Synergies) ของปี 2567 จะส่งผลต่อ EBITDA
ทั้งนี้ ในปี 2567 การดำเนินการโดยส่วนใหญ่ใน การพัฒนาเครือข่ายให้ทันสมัย (Network Modernization) จะเกิดขึ้น ส่งผลต่อการรับรู้ผลประโยชน์จากการควบรวมในส่วนของงบลงทุน (Capex synergies) และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ได้มาซึ่งประโยชน์จากการควบรวม (Integration Costs) ด้วยปัจจัยดังกล่าว แนวโน้มการดำเนินงานของบริษัทสำหรับปี 2567 จึงเป็นดังต่อไปนี้ รายได้จากการให้บริการไม่รวมรายได้จากการเชื่อมต่อโครงข่าย (ตามการจัดประเภทรายการใหม่): เติบโตร้อยละ 3-4 EBITDA: เติบโตประมาณร้อยละ 9-11 เงินลงทุน (รวมถึงงบลงทุนเพื่อให้ได้มาซึ่งประโยชน์จากการควบรวม): ประมาณ 30 พันล้านบาท ผลกำไร/(ขาดทุน)สุทธิ ภายหลังการปรับปรุง (Normalized): มีผลกำไร