คุยกับ YGG เจ้าของ เกม Home Sweet Home สุดฮอต หุ้นโต 4 เท่าใน 4 ปีสู่การเป็นสตูดิโอระดับโลก

Investment

Stocks

ไชยรัตน์  ศรีสุข (อาร์ม)

ไชยรัตน์ ศรีสุข (อาร์ม)

Tag

คุยกับ YGG เจ้าของ เกม Home Sweet Home สุดฮอต หุ้นโต 4 เท่าใน 4 ปีสู่การเป็นสตูดิโอระดับโลก

Date Time: 21 ม.ค. 2567 07:00 น.

Video

เศรษฐกิจไทย เสี่ยงวิกฤติหนักแค่ไหน เมื่อต้องเปลี่ยนนายกฯ | Money Issue

ธุรกิจเกมและภาพยนตร์ ในระดับโลกนั้นมีขนาดที่ใหญ่มากกว่าแสนล้านดอลลาร์ และมีผู้เล่นมากมาย แต่ไม่กี่ค่ายที่จะครองใจผู้เล่นเกมจนเป็นแฟรนไชส์ ที่ออกกี่ภาคก็มีผู้ติดตามเล่นมาโดยตลอด และถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์ ต่อยอดความสำเร็จ มีไม่มากนัก เช่น need for speed ของค่ายยักษ์ใหญ่ Electronic Arts หรือ Gran Turismo ที่ถูก โซนี พิคเจอร์ นำไปสร้างเป็นภาพยนตร์ เกมในตำนานอย่าง Resident Evil แฟรนไชส์เกมสุดหลอน ถูกนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์ทำเงินจนติด Box office ไปแล้ว 


โดยเมื่อเร็วๆ นี้ Home Sweet Home เกมผีสุดหลอน สัญชาติไทย ที่ได้รับการยอมรับจากผู้เล่นระดับโลก จนเป็นหนึ่งในแฟรนไชส์ และกำลังจะถูกนำไปต่อยอดเป็นภาพยนตร์ฉายสู่สายตาคนทั่วโลก ช่วยยกระดับ การเติบโตของ บริษัท อิ๊กดราซิล กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) YGG ให้เป็นระดับโลก นับเป็นความสำเร็จครั้งสำคัญของค่ายเกมไทย

YGG เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นไทยที่ถูกจับตาอย่างมาก ด้วยรูปแบบธุรกิจผู้ผลิตเกมและแอนิเมชัน ที่ไม่มีใครเหมือนในตลาดหุ้นไทย โดยเขามีมูลค่าหลักทรัพย์ ณ ราคาไอพีโอ อยู่ที่ 900 ล้านบาท ผ่านไป 4 ปี บริษัทมีมูลค่า 4.1 พันล้านบาท หรือโตกว่า 4 เท่าตัว 

ต่อยอด Home Sweet Home


ธนัช จุวิวัฒน์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท อิ๊กดราซิล กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ YGG เปิดเผยกับ Thairarth Money ว่า อิ๊กดราซิล อยู่ในจุดเปลี่ยนที่สำคัญของธุรกิจ ที่จากเดิมที่เป็นผู้รับจ้างผลิต จะก้าวเข้าสู่ธุรกิจต้นน้ำมากขึ้น สู่การเป็นสตูดิโอที่เป็นเจ้าของคอนเทนต์และสร้างแฟรนไชส์ของตัวเองผ่านรูปแบบต่างๆ 

“YGG กำลังอยู่ในจุดเปลี่ยนที่เข้าสู่ธุรกิจด้านต้นน้ำมากขึ้น นำสิ่งที่เรามีอยู่นำมาต่อยอดไปยังสินค้าชนิดอื่นๆ ซึ่งจะช่วยสร้างโอกาสให้เราเติบโตมากยิ่งขึ้น”

ทั้งนี้บริษัทปรับโมเดลจากรับจ้างผลิตงานอนนิเมชันและเกมมาเป็นธุรกิจต้นน้ำเป็นเจ้าของแฟรนไชส์ เช่น หากมีการออกภาพยนตร์แล้วได้รับการตอบรับที่ดีก็จะต่อยอดไปเป็นเกมให้เกิดการเกื้อกูลกันในแต่ละรูปแบบคอนเทนต์ ซึ่งในมุมของแฟรนไชส์เกม จะยิ่งมีเสน่ห์ ยิ่งเก่ายิ่งขลัง

Home Sweet Home เปิดตัวออกมาตั้งแต่ปี 2014 โดยนับจากตั้งแต่เปิดตัวถึงปัจจุบันมีผู้ดาวน์โหลดไปแล้วมากกว่า 4 แสนชุด มีผู้เล่นที่เป็นแฟนประจำอยู่ ไปเตะตาค่ายหนังฮอลลีวูด ให้ความสนใจ นำเกมไปผลิตเป็นภาพยนตร์เพื่อออกฉายทั่วโลก 

Home Sweet Home นับเป็นโปรเจกต์แรกที่เปลี่ยนเกมเป็นภาพยนตร์ และคาดว่า คอหนังทั่วโลก จะได้เห็นในช่วงไตรมาสที่ 2 หรือ ไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ โดยเราอยู่ระหว่างการตัดสินใจว่า จะฉายผ่านแพลตฟอร์ม หรือฉายผ่านโรงหนังทั่วโลก


ซึ่งเราเชื่อว่าถึงเวลานั้นผู้คนจะเข้าใจมากขึ้นว่า YGG เราทำได้ และจะไปต่อยอดโปรเจกต์อื่นๆ ในอนาคตเราอาจจะทำเกมเพิ่มเป็นภาคถัดไป ในช่วงที่หนังออก ซึ่งคนเล่นภาคใหม่ เล่นแล้วชอบก็จะไปซื้อภาคเก่าได้อีก

เตรียมไลน์อัป หนัง เกม เพิ่ม 

ความสำเร็จของ Home Sweet Home ที่สามารถต่อยอดเกมไปยังสินค้าอื่นๆ ได้เพิ่มขึ้นนั้น สาเหตุสำคัญมาจากการเรียนรู้จากพาร์ตเนอร์  ที่ผ่านมา YGG ได้ทำงานร่วมกับพันธมิตรในต่างประเทศ ทั้งในฝั่งสหรัฐฯ ญี่ปุ่น เกาหลี และจีน ในการเรียนรู้ด้านการผลิต และการทำงานระดับโลกรวมถึงการเรียนรู้ด้านต้นทุนการผลิต

นอกจาก Home Sweet Home ทาง YGG ยังเตรียมโปรเจกต์ใหม่ๆ เพื่อขยายตลาดอย่างต่อเนื่อง โดยโฟกัสในกลุ่มครอบครัว   โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ในส่วนแรกที่บริษัททำเอง เตรียมออกเกมใหม่ ซึ่งจะโฟกัสในกลุ่มครอบครัว และอีก 1 โปรเจกต์ เตรียมสร้างแอนิเมชัน ร่วมกับพันธมิตร โดยจะเน้นในกลุ่มครอบครัวเช่นกัน หากทั้ง 2 โปรเจกต์ประสบความสำเร็จ จะต่อยอดไปยังธุรกิจสินค้าอื่นๆ ทั้งเกมต่อไป 

โฟกัสธุรกิจต้นน้ำ 

ทิศทางของ YGG มองอนาคต ภาพจะเปลี่ยนไปอย่างมาก จากเดิมที่เราจะมีขาธุรกิจในด้านการรับผลิตแอนิเมชัน วิชวลเอฟเฟกต์ และงานด้านเกม ซึ่งถึง 5 ปีข้างหน้า เรามองว่าขาของรายได้รับจ้างผลิตจะเติบโตต่อเนื่องระดับ 10-15% ต่อปี แต่จะมีรายได้ในฝั่งของธุรกิจต้นน้ำ แฟรนไชส์ เกม และสตูดิโอ ที่เป็นของบริษัทเองมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเรามองว่า รายได้ในส่วนนี้จะโตอย่างต่อเนื่อง และในอนาคตเรางานด้านที่รับจ้างผลิตจากภายนอกจะมีขนาดเล็กลง และเริ่มผลิตเกม หรือคอนเทนต์ของตัวเองป็นหลัก 

ด้วยการเติบโตที่สูงมากของ YGG ทำให้มีผู้ที่ให้ความสนใจเข้าร่วมถือหุ้น หรือร่วมลงทุนกับบริษัทจำนวนมาก แต่สิ่งที่เรามอง เราไม่ได้ต้องการเงินแต่เรามองในแง่ช่องทาง หรือการต่อยอดธุรกิจให้ไปด้วยกันได้ ในด้านเงินลงทุน ที่ผ่านมา เรามีการวางงบลงทุนไว้แล้ว ซึ่งพอภาพใหญ่มากขึ้น เราเริ่มมองว่า โปรเจกต์ไหนทำได้ หรือโปรเจกต์ไหน เว้นไว้ก่อนได้ โดยในด้านการเพิ่มทุน หากเราคิดจะเพิ่มโปรเจกต์นั้นใหญ่และน่าสนใจ และเป็นการเติบโตอีกสเตป ซึ่งในเวลานี้ เราไม่มีเรื่องนี้ เราจะใช้เงินทุนหมุนเวียนมากกว่า