SPRC โตติดปีก ซื้อ “คาลเท็กซ์” เสร็จสมบูรณ์ คาดสร้างกำไรเพิ่มปีละ 1 พันล้าน

Investment

Stocks

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

SPRC โตติดปีก ซื้อ “คาลเท็กซ์” เสร็จสมบูรณ์ คาดสร้างกำไรเพิ่มปีละ 1 พันล้าน

Date Time: 4 ม.ค. 2567 11:23 น.

Video

ศิรเดช โทณวณิก Gen 3 ดุสิตธานี ธุรกิจที่เป็นมากกว่าโรงแรม | On The Rise

ปิดดีลแล้ว สำหรับธุรกรรมของ บริษัท สตาร์ ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง จำกัด (มหาชน) หรือ SPRC ที่จะเข้าซื้อ Chevron Asia Pacific Holdings Limited (CAPHL) ในการเข้าซื้อธุรกิจการตลาดน้ำมันเชื้อเพลิงภายใต้แบรนด์ “คาลเท็กซ์”  ซึ่งส่งผลดีกับ SPRC โดยตรง ซึ่งเป็นการต่อยอดธุรกิจโรงกลั่นไปถึงปลายน้ำ โดยนักวิเคราะห์มองบอกกับดีลดังกล่าว ที่ช่วยสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันให้กับ SPRC และสร้างส่วนเพิ่มของกำไรได้ถึงปีละ 500-1,000 ล้านบาท 


 โรเบิร์ต โดบริค กรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สตาร์ ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง จำกัด (มหาชน) SPRC เปิดเผยว่า SPRC ประกาศเสร็จสิ้นการทำธุรกรรมกับ Chevron Asia Pacific Holdings Limited (CAPHL) ในการเข้าซื้อธุรกิจการตลาดน้ำมันเชื้อเพลิงภายใต้แบรนด์ “คาลเท็กซ์” ซึ่งคาดว่าจะสร้างเสริมห่วงโซ่คุณค่าให้กับ SPRC ในฐานะโรงกลั่นและทำตลาดน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศไทยอย่างครบวงจร

“SPRC มีความยินดีและต้อนรับธุรกิจน้ำมันเชื้อเพลิงของ บริษัท เชฟรอน (ไทย) จำกัด เข้ามาร่วมเป็นครอบครัวเดียวกัน การผสานธุรกิจการตลาด และจัดจำหน่ายเชื้อเพลิงเข้ากับการกลั่นน้ำมันจะเสริมสร้างโอกาสการเติบโตอย่างมีนัยสำคัญ”

 SPRC จะยังคงจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์น้ำมันเชื้อเพลิงคุณภาพภายใต้แบรนด์ คาลเท็กซ์® และ เทครอน ซึ่งเป็นแบรนด์ที่ได้รับความไว้วางใจและอยู่เคียงคู่กับประเทศไทยมาอย่างยาวนานกว่า 75 ปี โดยหวังว่าจะสามารถนำเสนอบริการและผลิตภัณฑ์น้ำมันเชื้อเพลิงคุณภาพสูงให้กับลูกค้าผ่านสถานีบริการน้ำมันคาลเท็กซ์ทั่วประเทศ 

ชาแชงค์ นานาวาติ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ด้านการพาณิชย์ บริษัท สตาร์ ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง จำกัด (มหาชน) อดีตประธานกรรมการและผู้จัดการใหญ่ บริษัท เชฟรอน (ไทย) จำกัด กล่าวว่า การรวมธุรกิจการกลั่นและการตลาดผลิตภัณฑ์น้ำมันเชื้อเพลิงจะสามารถสร้างเสริมคุณค่าของแบรนด์ให้เพิ่มสูงขึ้นด้วยการเติมเต็มประสบการณ์อันน่าประทับใจได้อย่างครอบคลุม ซึ่งจะช่วยสร้างผลตอบแทนที่ดีขึ้นให้กับผู้ถือหุ้น และผู้ประกอบการสถานีบริการน้ำมันคาลเท็กซ์ของเรา นอกจากนี้ ยังเป็นการเพิ่มทักษะความรู้ความสามารถของพนักงานให้มีความพร้อมในการมุ่งสู่การเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานซึ่งเป็นกลยุทธ์สำคัญในการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ เพื่อการเติบโตในระยะยาวต่อไป

ทั้งนี้ นอกเหนือจากการบริหารโรงกลั่นน้ำมันที่มีกำลังการกลั่นน้ำมันดิบสูงถึง 175,000 บาร์เรลต่อวันแล้ว SPRC มุ่งมั่นที่จะเดินหน้าขับเคลื่อนธุรกิจจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์น้ำมันเชื้อเพลิงคุณภาพสูงภายใต้แบรนด์ คาลเท็กซ์ เทครอน ผ่านสถานีบริการน้ำมันคาลเท็กซ์ประมาณ 450 แห่งทั่วประเทศ ซึ่งดำเนินการโดยพันธมิตรทางธุรกิจมืออาชีพ การเข้าซื้อธุรกิจน้ำมันเชื้อเพลิงในครั้งนี้ยังรวมถึงธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง อันได้แก่ สัดส่วนการถือครองหุ้นร้อยละ 9.91 ในบริษัท ท่อส่งปิโตรเลียมไทย จำกัด สัดส่วนการถือหุ้นร้อยละ 2.51 ในบริษัท บริการเชื้อเพลิงการบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) การลงทุนในบริษัทเอกชนที่ถือครองที่ดินแปลงที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม และคลังน้ำมันเชื้อเพลิงที่ตั้งอยู่ในจังหวัดสงขลา และสุราษฎร์ธานีด้วย

โบรกเกอร์ คาดช่วยดันกำไร SPRC ปีละ 500-1,000 ล้านบาท 

นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลัก เอเซีย พลัส ประเมินว่า  SPRC ประกาศเข้าลงทุนแล้วเสร็จในธุรกิจจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ซึ่ง ประกอบด้วยธุรกรรม 1) เข้าซื้อหุ้น 100% ของบริษัท เชฟรอน ลูบริแคนท์ (ประเทศ ไทย) จำกัด, 2) เข้าซื้อหุ้น 9.91% ในบริษัท ท่อส่งปิโตรเลียมไทย จำกัด (Thappline) และ 3) เข้าลงทุนซื้อหุ้น 49% ในบริษัทที่จัดตั้งขึ้นใหม่ 2 บริษัท เพื่อดำเนินการซื้อที่ดินสำหรับใช้ประกอบธุรกิจผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม 


อย่างไรก็ตาม SPRC ได้ให้ ประมาณการกำไร (ขาดทุน) ก่อนภาษีของบริษัท เชฟรอน ลูบริแคนท์ และปันผลรับจาก Thappline เท่านั้น ซึ่งจะรับรู้ตั้งแต่ไตรมาสที่ 1 เป็นต้นไป ฝ่ายวิจัยมีมุมมองเชิงบวกต่อประเด็นดังกล่าว ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นในการเข้าสู่ ธุรกิจใหม่ของ SPRC โดยจะเป็นการต่อยอดจากธุรกิจโรงกลั่นไปสู่ธุรกิจปลายน้ำ คือ ธุรกิจสถานีบริการน้ำมัน และสอดคล้องกับกลยุทธ์ในการเข้าถึงฐานลูกค้า ปลายทางในธุรกิจจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม


 อีกทั้ง จะช่วยให้SPRC รับรู้ รายได้และกำไรจากการเข้าลงทุนดังกล่าวเข้ามาได้ทันทีตั้งแต่ไตรมาสที่ 1 เป็นต้นไป และ เป็นส่วนช่วยกระจายสัดส่วนรายได้ เพื่อลดการพึ่งพิงลูกค้ารายใหญ่จากกลุ่ม Chevron ลงได้ระดับหนึ่ง นอกจากนี้ยังคาดหวังประโยชน์จากการเกิดจากการร่วมมือใหม่ๆ ซึ่งคาดจะก่อให้เกิดการใช้ทรัพยากร รวมทั้งการบริหารจัดการต้นทุนต่างๆ ร่วมกัน ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ในส่วนของรายละเอียดธุรกรรมดังกล่าว จะประกอบด้วย 

  1.  การเข้าซื้อหุ้น 100% ของบริษัท เชฟรอน ลูบริแคนท์ (ประเทศไทย) จำกัด (บริษัทเป้าหมาย) จาก 1) Chevron Asia Pacific Holdings Limited (CAPHL),2) CT Nominee Holdings (I) LLC (CTN1), และ 3) CT NomineeHoldings (II) LLC (CTN2) ซึ่งประกอบธุรกิจดำเนินงานด้าน การตลาดและการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม รวมถึงสถานีบริการ น้ำมันภายใต้แบรนด์ คาลเท็กซ์ (Caltex) และแบรนด์อื่นๆที่เกี่ยวข้อง โดย ปัจจุบันมีสถานีบริการกว่า 427 แห่งในประเทศ ซึ่งมีการดำเนินการทั้งใน รูปแบบผู้ค้าปลีกเป็นเจ้าของและเป็นผู้ดำเนินการ (retailer-owned and retailer-operated : RORO) กว่า 403 แห่ง และรูปแบบบริษัทเป็นเจ้าของ และ ดำเนินงานโดยผู้ค้าปลีก (company-owned and retailer-operated : CORO) กว่า 24 แห่ง ส่วนแบ่งการตลาดอยู่ที่ราว 5% ของผู้ให้บริการสถานี ค้าปลีกน้ำมันในประเทศไทย
  2. การเข้าซื้อหุ้น 9.91% ในบริษัท ท่อส่งปิโตรเลียมไทย จำกัด (Thappline) จาก CAPHL ประกอบธุรกิจให้บริการขนส่งและจัดจำหน่ายน้ำมันทางระบบท่อส่ง 3. การเข้าซื้อหุ้น 49% ในบริษัทที่จัดตั้งขึ้นใหม่ 2 บริษัท เพื่อดำเนินการซื้อที่ดิน 19 แปลงสำหรับใช้ประกอบธุรกิจผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม จากบริษัทสตาร์โฮล ดิ้งส์ จำกัด (SHC) โดยมูลค่าเงินลงทุนทั้งหมดจะเท่ากับผลรวมของ (1) เงินลงทุน 90 ล้านเหรียญฯ (ราว 3.2 พันล้านบาท)

    ซึ่งเป็นค่าตอบแทน ของการเข้าซื้อหุ้นในบริษัทเป้าหมาย, Thappline, และบริษัทใหม่ เป็นเงิน 16.8, 45.0, และ 28.2 ล้านเหรียญฯ (ราว0.6, 1.6, และ 1.0 พันล้านบาท) ตามลำดับ (2) มูลค่าของเงินทุนหมุนเวียนสุทธิตามจริงของบริษัท เชฟรอน ลูบริแคนท์ (ประเทศไทย) จำกัด ณ วันที่ธุรกรรมเข้าซื้อหุ้นดังกล่าวเสร็จสิ้น (Closing Date) ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีการเปิดเผย แต่หากอ้างอิงมูลค่า ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564จะอยู่ที่ 65.8 ล้านเหรียญฯ (ราว 2.4 พันล้านบาท) 

ทั้งนี้ฝ่ายวิจัยอยู่ระหว่างสอบถามรายละเอียดดังกล่าวเพิ่มเติมกับทาง SPRC โดยจะทบทวนประมาณการและมูลค่าพื้นฐานใหม่ และจะนำเสนอในรายละเอียดอีก ครั้งหนึ่ง โดยหากอิงกำไร (ขาดทุน) ก่อนภาษีของบริษัท เชฟรอน ลูบริแคนท์ ในปี 2562 –2564 ที่ SPRC เคยมีการเปิดเผย จะอยู่ที่ 779, (255), และ 952 ล้านบาท ขณะที่ปันผลรับตามสัดส่วนถือหุ้น 9.91% จะอยู่ที่ 174, 170, และ 129 ล้านบาท ตามลำดับ เบื้องต้น คาดจะช่วยสร้างกำไรให้ SPRC ภายหลังจากหักดอกเบี้ยและ ภาษีสุทธิที่ราว 0.5 –1.0 พันล้านบาท/ปี คิดเป็นมูลค่าเพิ่มที่ราว 0.5–1.0 บาท/ หุ้น ช่วงสั้นอาจหาจังหวะเข้าTrading จากประเด็นข่าวเชิงบวกดังกล่าวได้


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ