ตลท.ปัดใช้ Uptick Rule ชี้ปัญหาหุ้นไทยคือปัจจัยพื้นฐาน ตั้งคณะกรรมการพิเศษหาช่องโหว่ตลาดหุ้น

Investment

Stocks

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

ตลท.ปัดใช้ Uptick Rule ชี้ปัญหาหุ้นไทยคือปัจจัยพื้นฐาน ตั้งคณะกรรมการพิเศษหาช่องโหว่ตลาดหุ้น

Date Time: 21 พ.ย. 2566 15:41 น.

Video

"CINDY CHAO The Art Jewel" สองทศวรรษอัญมณีศิลป์ | Brand Story Exclusive EP.4

จากกรณีสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ มีข้อแนะนำ ส่งหนังสือขอให้

ใช้อำนาจในมือปรับเกณฑ์-เพิ่มระบบตรวจสอบชอร์ตเซล-โปรแกรมเทรดดิ้งฟื้นเชื่อมั่น ตลาดหุ้นไทย โดยมีข้อแนะนำตลาดหลักทรัพย์ สามารถพิจารณาความเหมาะสม สามารถ กำหนดราคาทำชอร์ตเซลด้วยราคาสูงกว่าราคาครั้งสุดท้าย (Uptick Rule) เพื่อไม่ให้เกิดการดัมพ์ราคา นั้น ทางตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มองว่า ยังไม่ถึงเวลาที่จะใช้มาตรการดังกล่าว โดยมองว่าตลาดหุ้นไทย เป็นเรื่องปัจจัยพื้นฐาน ไม่ใช่เรื่องความผิดปกติ ที่มีนัยสำคัญ 

รองรักษ์ พนาปวุฒิกุล รองผู้จัดการ หัวหน้าสายงานกฎหมาย และหัวหน้ากลุ่มงานเลขานุการองค์กร และกำกับองค์กร ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า    จากกกรณีที่สำนักงาน ก.ล.ต.ได้มีความเห็นว่าคณะกรรรมการตลาดหลักทรัพย์ฯ สามารถพิจารณาความเหมาะสมในการกำหนดราคาทำชอร์ตเซลด้วยราคาสูงกว่าราคาครั้งสุดท้าย (Uptick Rule) เพื่อไม่ให้เกิดการดัมพ์ราคา นั้น


ทางคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ได้มีความเห็นว่ายังไม่มีความจำเป็นที่จะต้องใช้มาตรการ Uptick Rule โดยมองว่า การซื้อขายในตลาดหุ้นยังเป็นไปตามปกติ ไม่ได้เกิดปัญหาด้านเทคนิค แต่หุ้นลงจากปัจจัยด้านพื้นฐาน 


"หลังจากสำนักงาน ก.ล.ต.มีความเห็นว่า ตลท.สามารถใช้มาตรการ Uptick Rule ได้นั้น ทางคณะกรรมการ ตลท.ได้พิจารณาแล้ว พบว่า ยังไม่มีความผิดปกติจนต้องใช้มาตรการดังกล่าว โดยการปรับตัวลดลงของตลาดหุ้นนั้นเป็นในด้านปัจจัยพื้นฐานไม่ได้มีปัจจัยพิเศษเข้ามาเกี่ยวข้อง"

ทั้งนี้ทาง ก.ล.ต.ได้กำชับมาที่ตลาดหลักทรัพย์ ในเรื่องเกณฑ์ Uptick Rule โดยทางตลาดหลักทรัพย์ไม่ได้นิ่งนอนใจ และ มีการเรียกประชุมกรณีพิเศษในวานนี้ (20 พ.ย.) ว่าต้องทบทวนหรือไม่ ที่ประชุมคณะกรรมการหารือกัน และดูว่าด้วยสถานการณ์ตลาดหุ้นไทยในปัจจุบัน การลดลงของดัชนี 2-3 เดือนที่ผ่านมาเป็นไปตามอย่างต่อเนื่อง ซึ่งไม่ได้ผิดปกติ หรือลดลงอย่างมีนัยสำคัญ และเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับต่างประเทศ 

หากพิจารณาการซื้อขายตามกลุ่มนักลงทุน พบว่า นักลงทุนต่างประเทศ เป็นผู้ขายสุทธิมากกว่า 1 แสนล้านบาท ซึ่งปัจจัยหลักมาจาก สภาวะเศรษฐกิจของประเทศ และผลประกอบการบริษัทจดทะเบียน สถานการณ์นี้ไม่ได้มีอะไรให้เกิดผลกระทบเปลี่ยนแปลง SET Index อย่างมีนัยสำคัญ การใช้มาตรการพิเศษ ไม่มีความจำเป็นในชั้นนี้ แต่อย่างไรก็ตาม หากถ้ามีเหตุการณ์พิเศษก็พร้อมดำเนินการ ใช้มาตรการพิเศษ 

ตั้งคณะทำการอุดช่องโหว่


อย่างไรก็ตามตลาดหลักทรัพย์ ไม่ได้นิ่งนอนใจกับสถานการร์ที่เกิดขึ้น โดยอยู่ระหว่างการคณะทำงานพิเศษร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ ก.ล.ต. รวมถึงเชิญหน่วยงานจากต่างประเทศ ทั้ง  NASDAQ ผู้พัฒนาระบบการซื้อขายของประเทศไทย และตลาดหลักทรัพย์เกาหลี หรือ KRX เข้ามาให้ความเห็นและร่วมกันทั้งการตรวจสอบมาตรฐานของตลาดหุ้นไทยเทียบกับตลาดหุ้นต่างประเทศไทย ตรวจสอบหาช่องโหว่งของระบบที่ต้องพัฒนาให้เข้มงวดมากขึ้น โดยจะดำเนินการโดยเร็วที่สุด 

สำหรับแนวทางการกำกับดูแลเพิ่มเติม ตลาดหลักทรัพย์ โดย ส่งหนังสือเวียนกำชับบริษัทสมาชิก และคัสโตเดียน ให้ช่วยกำกับดูแลให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด ช่วยกันสอดส่องตรวจสอบ ว่า การขายชอร์ตต้องมีหุ้นในการครอบครอบ ถ้าไม่มีจะเป็นเน็กเก็ตชอร์ต มีความผิด

รวมถึงยกระดับการตรวจสอบบัญชี Omnibus (ออมนิบัส) ต้องตรวจสอบว่า ใครคือเจ้าของหลัก และมีพฤติกรรมการเทรดที่ไม่เหมาะสมหรือไม่ โดยจะมีการยกระดับการกำกับดูแลสมาชิก หากบัญชี Omnibus การทำขายชอร์ต บริษัทสมาชิกจะต้องส่งหลักฐานการมีหุ้นก่อนขายของบัญชีดังกล่าว มายังตลาดหลักทรัพย์ภายใน 15 วัน หาก  บริษัทสมาชิก ไม่ส่งหลักฐานว่า มีหุ้นก่อนขาย ภายใน 15 วัน  จะถือเป็น Naked Short Selling และสมาชิกต้องถูกลงโทษ 


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ