ทริส หั่นเครดิต อาร์เอส เหลือ “BBB-” แนวโน้ม Stable ธุรกิจอ่อนแอกว่าคาด ภาระหนี้สูง

Investment

Stocks

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

ทริส หั่นเครดิต อาร์เอส เหลือ “BBB-” แนวโน้ม Stable ธุรกิจอ่อนแอกว่าคาด ภาระหนี้สูง

Date Time: 10 พ.ย. 2566 15:00 น.

Video

ล้วงไส้ TEMU อีคอมเมิร์ซจีน บุกไทย ทำไมอาจสร้างวิบากกรรมกว่าที่คิด ? | Digital Frontiers

Latest


ทริสเรทติ้งลดอันดับเครดิตองค์กรของ บริษัท อาร์เอส จํากัด (มหาชน) เป็นระดับ “BBB-” จากเดิม ที่ระดับ “BBB” พร้อมคงแนวโน้มอันดับเครดิต “Stable” หรือ “คงที่” โดยการลดอันดับเครดิตดังกล่าวสะท้อนถึงผลการดําเนินงานในธุรกิจพาณิชย์ (Commerce Business) ของบริษัทที่อ่อนแอกว่าคาดและสะท้อนถึงมุมมองของทริสเรทติ้งว่าภาระหนี้ของบริษัทจะยังคงอยู่ในระดับสูงในระยะเวลาที่นานกว่าการคาดการณ์ก่อนหน้านี้

การทบทวนอันดับเครดิตยังคงพิจารณารวมไปถึงความแข็งแกร่งและประสบการณ์ของบริษัทในอุตสาหกรรมบันเทิง (Entertainment Industry) ซึ่งยังคงเป็นปัจจัยที่ช่วยสนับสนุนฐานะทางการตลาดและรูปแบบการดําเนินธุรกิจโดยภาพรวมของบริษัท อย่างไรก็ดี ทริสเรทติ้งคาดว่าธุรกิจพาณิชย์ของบริษัทจะยังคงเผชิญกับความท้ายอย่างต่อเนื่องจากผลของสถานการณ์การใช้จ่ายและกําลังซื้อที่อ่อนแอและการแข่งขันที่รุนแรง


ผลการดําเนินงานของธุรกิจพาณิชย์ที่อ่อนแอกว่าคาด

รายได้จากธุรกิจพาณิชย์ของบริษัทลดลงอีก 12% โดยมาอยู่ที่ระดับ 729 ล้านบาทในช่วงครึ่งแรก ของปี 2566 หลังจากที่ลดลง 24% ในช่วงเดียวกันของปี 2565 ทั้งนี้ ยอดขายของบริษัทอ่อนแอลง แม้ว่าบริษัทจะมีความพยายามในการขยายขอบเขตธุรกิจนอกเหนือไปจากช่องทางโทรทัศน์ซึ่งเป็นช่องทางจําหน่ายตามปกติก็ตาม โดยการขยายขอบเขตธุรกิจดังกล่าวประกอบไปด้วยการพัฒนาสินค้าภายใต้แบรนด์ของบริษัทและจําหน่ายผ่านช่องทางการค้าปลีกสมัยใหม่และช่องทางอื่นๆ

นอกจากนี้ บริษัทยังได้ขยายไปยังธุรกิจขายตรงโดยการซื้อกิจการ “ULife” เข้ามาในไตรมาสที่ 2 ของปี 2555 ด้วย ทั้งนี้ ภาวะการบริโภคที่ซบเซา การแข่งขันที่รุนแรงในธุรกิจพาณิชย์ทุกรูปแบบ ตลอดจนการเพิ่มความนิยมในช่องทาง “TikTok” ถือว่าเป็นปัจจัยที่สร้างความท้าทายให้แก่ธุรกิจของบริษัท


ประมาณการกรณีพื้นฐานของทริสเรทติ้งคาดว่ารายได้จากธุรกิจพาณิชย์ของบริษัทจะอยู่ที่ 1.5 พันล้านบาทในปี 2566 และที่ 1.9-2.2 พันล้านบาทต่อปีในช่วงปี 2567-2568 โดยการเติบโตจะมาจากธุรกิจใหม่ที่เป็นธุรกิจเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยง โดยนอกเหนือจาก “Lifemate” ซึ่งเป็นธุรกิจอาหาร สัตว์เลี้ยงที่เปิดตัวเมื่อ 2 ปีก่อนแล้ว บริษัทยังอยู่ในระหว่างการขยายธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับสัตว์เลี้ยง ภายใต้ “RS Pet All” ซึ่งประกอบไปด้วยผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงและร้านค้าปลีกผลิตภัณฑ์ เกี่ยวกับสัตว์เลี้ยง รวมถึงธุรกิจศูนย์ดูแลสัตว์เลี้ยงและโรงพยาบาลสัตว์ นอกจากนี้ ทริสเรทติ้งยังคาด ว่าธุรกิจ “RS Connect” (ULife) จะมีผลการดําเนินงานที่ดีขึ้นจากการปรับรูปแบบเป็นโปรแกรม สั่งซื้อรายเดือน (Subscription Model)


การปรับโครงสร้างธุรกิจบันเทิงและกลับมาเน้นธุรกิจเพลง

ธุรกิจบันเทิงของบริษัทประกอบด้วยกลุ่มธุรกิจที่สําคัญ 2 ส่วนคือ ธุรกิจมัลติมีเดีย (Multimedia) และธุรกิจเพลง (Music) ธุรกิจมัลติมีเดียครอบคลุมกิจการโทรทัศน์ (ช่อง 8) ดิจิทัลมีเดีย สตูดิโอผลิตรายการหรือคอนเทนต์ การจัดงานกิจกรรมหรืออีเวนต์ และธุรกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ในขณะที่บทบาทสําคัญหนึ่งของช่องทางสื่อของบริษัทคือการสนับสนุนธุรกิจซื้อขายสินค้าผ่านโทรทัศน์หรือโฮมช็อปปิ้ง (Home Shopping) ของบริษัท กลยุทธ์การเติบโตของธุรกิจมีเดียจะมาจากการพัฒนามาเป็นผู้ผลิตละครซีรีส์และการเป็นผู้จัดอีเวนต์รายใหญ่

บริษัทยังจะหันกลับมาพัฒนาธุรกิจเพลงซึ่งเป็นธุรกิจดั้งเดิมของบริษัทอย่างจริงจังอีกด้วยโดยมีเป้าหมายที่จะทําเพลงใหม่ออกสู่ตลาดปีละประมาณ 100-150 เพลง ทั้งนี้ การใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานของธุรกิจเพลงที่พัฒนามาเป็นอย่างดีซึ่งรวมถึงสตรีมมิงแพลตฟอร์ม (Streaming Platforms) ช่วยให้การเข้าถึงเพลงเป็นไปได้อย่างกว้างขวางและมีประสิทธิภาพด้านต้นทุน นอกเหนือจากนี้ ธุรกิจเพลงยังทําให้เกิดโอกาสในการต่อ ยอดด้านรายได้ที่นอกเหนือไปจากเพลงอีกด้วยไม่ว่าจะเป็นการจัดอีเวนต์และการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างแบรนด์กับผู้บริโภค (Brand Engagement) การจัดคอนเสิร์ตและโชว์ รวมถึงการบริหารศิลปินในค่าย เป็นต้น

ทริสเรทติ้งประมาณการว่ารายได้จากธุรกิจบันเทิงของบริษัทจะอยู่ที่ประมาณ 1.9-2.2 พันล้านบาทต่อปีในช่วงปี 2566-2558 โดยมองว่ารายได้จากค่า โฆษณาโดยเฉพาะอย่างยิ่งทางโทรทัศน์แบบเดิมนั้นจะลดลงอย่างต่อเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคสื่อและภาวะเศรษฐกิจที่ท้าทาย อย่างไรก็ดี ทริสเรทติ้งคาดว่ารายได้จากการขายลิขสิทธิ์รายการและการจัดอีเวนต์จะชดเชยการลดลงของรายได้ดังกล่าวได้ในช่วงเวลาประมาณการ นอกจากนี้ ทริสเรทติ้งยังคาดว่ารายได้จากธุรกิจเพลงของบริษัทจะเติบโตขึ้นจากการมีกิจกรรมที่มากขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดคอนเสิร์ตและโชว์

ภาระหนี้จะยังคงอยู่ในระดับสูงต่อไป

ทริสเรทติ้งประมาณการว่ารายได้รวมของบริษัทจะอยู่ที่ประมาณ 3.6-4.3 พันล้านบาทต่อปีในช่วงปี 2566-2568 และคาดว่าบริษัทจะมีอัตรากําไรก่อน ดอกเบี้ยจ่าย ภาษี ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจําหน่ายต่อรายได้ (EBITDA Margin) อยู่ที่ระดับ 13% 19% โดยมองว่าความสามารถในการทํากําไรของ บริษัทจะถูกกดดันจากต้นทุนที่เพิ่มขึ้นและการแข่งขันที่สูงทั้งในธุรกิจพาณิชย์และธุรกิจสื่อจะจํากัดความสามารถของบริษัทในการขึ้นราคาอีกด้วย ทั้งนี้ ทริสเรทติ้งคาดการณ์ว่าบริษัทจะมี EBITDA อยู่ที่ประมาณ 500-700 ล้านบาทต่อปีในช่วงปี 2566-2568

กระบวนการลดหนี้ของบริษัทอาจจะใช้ระยะเวลาที่ยาวนานกว่าที่คาดไว้ก่อนหน้าเมื่อพิจารณาจากแรงกดดันด้านกําไรและระดับหนี้ที่สูงในปัจจุบัน โดย ณ เดือนมิถุนายน 2566 บริษัทมีหนี้สินทางการเงินที่ปรับปรุงแล้วอยู่ที่ 4.2 พันล้านบาท ทริสเรทติ้งคาดว่าอัตราส่วนหนี้สินทางการเงินต่อ EBITDA ของบริษัทจะยังคงอยู่ในระดับสูงที่ 5-7 เท่าในช่วงปี 2565-2567 โดยได้พิจารณารวมถึงเงินที่บริษัทได้รับจากการขายหุ้นใน บริษัท อาร์เอส ยูเอ็มจี จํากัด (RS UMG) จํานวน 1.6 พันล้านบาทในช่วงครึ่งหลังของปี 2566 แล้ว ทั้งนี้ ทริสเรทติ้งมีประมาณการว่าบริษัทจะมีการขายสินทรัพย์ บางส่วนออกไปตามแผนการลดหนี้ซึ่งอาจจะทําให้อัตราส่วนหนี้สินทางการเงินต่อ EBITDA ของบริษัทลดลงมาอยู่ที่ระดับต่ำกว่า 4 เท่าได้ในปี 2568

และหลังจากนั้น

ณ เดือนมิถุนายน 2566 บริษัทมีหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยทั้งสิ้นจํานวน 3.5 พันล้านบาท เนื่องจากบริษัทมีอัตราส่วนหนี้สินที่มีลําดับในการได้รับชําระ คืนก่อนเมื่อเทียบกับหนี้สินรวมอยู่ที่ระดับ 64% ซึ่งสูงกว่าระดับเพดานที่ 50% ทริสเรทติ้งจึงมองว่าเจ้าหนี้ที่ไม่มีหลักประกันของบริษัทจะมีความ เสียเปรียบเจ้าหนี้ที่มีลําดับในการได้รับชําระคืนหนี้ที่สูงกว่าเมื่อพิจารณาจากสิทธิเรียกร้องในสินทรัพย์ของบริษัท ตามข้อกําหนดทางการเงินของเงินกู้ที่ระบุให้บริษัทต้องดํารงอัตราส่วนหนี้สินต่อทุนให้ต่ำกว่า 2.5 เท่านั้น ณ เดือนมิถุนายน 2566 บริษัทมีอัตราส่วน

ดังกล่าวอยู่ที่ 1.5 เท่าซึ่งทริสเรทติ้งเชื่อว่าบริษัทน่าจะสามารถปฏิบัติตามข้อกําหนดทางการเงินดังกล่าวได้ตลอดช่วงระยะเวลาประมาณการ


สภาพคล่องสามารถบริหารจัดการได้

ทริสเรทติ้งประเมินว่าบริษัทจะสามารถบริหารจัดการสภาพคล่องได้ในระยะ 12 เดือนข้างหน้า โดยแหล่งเงินทุนหลักจะมาจากเงินสดในมือที่บริษัทมี อยู่ ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2566 จํานวน 142 ล้านบาทและเงินทุนจากการดําเนินงานที่คาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 300 ล้านบาท รวมทั้งเงินที่คาดว่าจะได้รับจากการขายหุ้นของ RS UMG ที่จํานวนสุทธิ 1.3-1.4 พันล้านบาท ในขณะที่บริษัทมีหนี้สินทางการเงินที่จะครบกําหนดชําระที่จํานวน 422 ล้าน บาท การจ่ายเงินปันผลที่จํานวน 642 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายตามแผนการลงทุนอีกประมาณ 500-600 ล้านบาท นอกจากนี้ บริษัทยังมีหนี้สินระยะสั้นอีกจํานวนทั้งสิ้น 2 พันล้านบาทที่คาดว่าบริษัทจะต่ออายุวงเงินได้อย่างต่อเนื่องอีกด้วย


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ