TU เผยไตรมาส 3 กำไร 1.2 พันล้าน ฟื้นตัวต่อเนื่อง ปรับกลยุทธ์เน้นเพิ่มกำไร

Investment

Stocks

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

TU เผยไตรมาส 3 กำไร 1.2 พันล้าน ฟื้นตัวต่อเนื่อง ปรับกลยุทธ์เน้นเพิ่มกำไร

Date Time: 6 พ.ย. 2566 15:51 น.

Video

3 มาตรการใหม่ ตลาดหลักทรัพย์ฯ คุมหุ้นร้อนผิดปกติ | Money Issue

Summary

  • TU ประกาศกำไรสุทธิไตรมาส 3/66 อยู่ที่ 1.2 พันล้านบาท ลดลง 52.3% จากช่วงเดียวกันปีก่อน เนื่องจากได้รับผลกระทบจากรายการที่ไม่ได้เกิดจากการดำเนินการตามปกติของธุรกิจ ขณะที่กำไรสุทธิปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน ซึ่งเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่สองติดต่อกัน จากกำไรขั้นต้นและกำไรจากการดำเนินงานที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่ง

บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือหุ้น TU ประกาศกำไรสุทธิไตรมาส 3/66 อยู่ที่ 1.2 พันล้านบาท ลดลง 52.3% จากช่วงเดียวกันปีก่อน เนื่องจากได้รับผลกระทบจากรายการที่ไม่ได้เกิดจากการดำเนินการตามปกติของธุรกิจ ได้แก่ ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน 268 ล้านบาท (เทียบกับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน 792 ล้านบาท ในไตรมาส 3/65) และผลกระทบจาก Dilution effect ของบริษัท ไอ-เทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ITC เท่ากับ 324 ล้านบาท ซึ่งถูกชดเชยบางส่วนด้วยเครดิตภาษีเงินได้ที่เพิ่มขึ้น และส่วนแบ่งขาดทุนจากบริษัทร่วมลดลง


อย่างไรก็ตาม กำไรสุทธิปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน ซึ่งเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่สองติดต่อกัน จากกำไรขั้นต้นและกำไรจากการดำเนินงานที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่ง โดยบริษัทฯ มีอัตรากำไรสุทธิอยู่ที่ 3.6%


ขณะเดียวกัน ไตรมาสที่ 3/66 บริษัทฯ มีอัตรากำไรขั้นต้นสูงสุดเป็นอันดับสอง ของประวัติการณ์ที่ 18.4% และอัตรากำไรจากการดำเนินงานที่ 6.4% สูงสุด ในรอบเก้าไตรมาสที่ผ่านมา


สำหรับยอดขายในไตรมาส 3/66 อยู่ที่ 3.39 หมื่นล้านบาท ลดลง 16.8% จากยอดขายที่สูงเป็นประวัติการณ์ในช่วงเดียวกันปีก่อน สาเหตุหลักจากปริมาณการขายลดลง ในทุกกลุ่มธุรกิจหลักของบริษัทฯ รายได้จากค่าขนส่งที่ลดลง และราคาขายเฉลี่ยที่ลดลง


ทั้งนี้ ประเมินปัจจัยความเสี่ยงที่สำคัญ คือ กำลังซื้อของผู้บริโภคท่ัวโลกอ่อนแอลง ซึ่งเป็นผลของการชะลอตัวของเศรษฐกิจและราคาพลังงานที่สูงขึ้น อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยได้รับแรงหนุนจากราคาพลังงาน ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปของยุโรปมีแนวโน้มอ่อนตัวลงในเดือนกันยายน 2566 โดยคาดว่ามีผลกระทบเชิงบวกต่อยุโรป เนื่องจากกำลังซื้อกลับมาบางส่วน


นอกจากนี้ แนวโน้มความต้องการซื้ออาหารทะเลแปรรูปเพิ่มขึ้นในภาวะเศรษฐกิจถดถอย เนื่องจากอาหารทะเลแปรรูปถือเป็นสินค้าที่ราคาไม่แพง อย่างไรก็ตาม อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น ส่งผลกระทบเชิงลบต่อบริษัทฯ จากความต้องการซื้อที่ลดลง โดยเฉพาะธุรกิจร้านอาหาร


โดยบริษัทฯ มีกลยุทธ์ในการบริหารจัดการ เพื่อเพิ่มผลกำไรของกลุ่มบริษัท ดังนี้ 1.) มาตรการป้องกันกำไร เพื่อเพิ่มอัตราการทำกำไร 2.) ป้องกันความเสี่ยงอยู่เสมอ เพื่อลดความผันผวนจากอัตราแลกเปลี่ยน 3.) ดำเนินการติดตามสิ่งแวดล้อมระดับมหภาคอย่างสม่ำเสมอ ความท้าทายด้านห่วงโซ่อุปทาน และความไม่แน่นอนของการใช้จ่ายของผู้บริโภคทั่วโลกในตลาดหลักของบริษัทฯ


ส่วนโครงการลงทุนที่อยู่ระหว่างดำเนินการ ได้แก่ โรงงานผลิตอาหารพร้อมรับประทาน (Culinary plant) ที่จะรองรับการผลิตสินค้าพร้อมทาน (ready-to-eat) ซึ่งจะช่วยเพิ่มกําลังผลิตกว่า 38% และเน้นระบบการผลิตแบบอัตโนมัติ ซึ่งในส่วนของ non-halal ได้เริ่มการผลิตแล้วในไตรมาส 3/2566 และคาดว่าจะสามารถเริ่มการผลิตในส่วนของ halal ได้ภายในต้นปี 2567 ใช้งบลงทุนราว 1.2 พันล้านบาท


โรงงานผลิตโปรตีนไฮโดรไลเซตและคอลลาเจนเปปไทด์ ซึ่งเริ่มการผลิตในส่วนของคอลลาเจนเปปไทด์แล้วในไตรมาส 3/2566 และคาดว่าจะสามารถเริ่มการผลิตในส่วนของโปรตีนไฮโดรไลเซตได้ภายในต้นปี 2567 ใช้งบลงทุนราว 1.1 พันล้านบาท


โรงงานผลิตอาหารแบบเปียกและขนมสําหรับสัตว์เลี้ยง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยงของบริษัทฯ โดยโรงงานใหม่จะช่วยเพิ่มกำลังการผลิตกว่า 18.7% และเพิ่มกระบวนการบรรจุสินค้าอัตโนมัติ ซึ่งคาดว่าสามารถผลิตได้เต็มกำลังการผลิตในไตรมาส 2/2567 ใช้งบลงทุนราว 2.1 พันล้านบาท


และห้องเย็นเพื่อจัดเก็บผลิตภัณฑ์อาหารทะเลแปรรูปในประเทศกานา เพื่อลดต้นทุนค่าเช่าจากภายนอก และลดการพึ่งพาการจัดหาวัตถุดิบ รวมถึงการประหยัดพลังงาน คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนธันวาคม 2566 ใช้งบลงทุนราว 600 ล้านบาท


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ