GULF ประกาศเซ็นสัญญาขายไฟให้ กฟผ. นาน 25 ปี รวมกำลังผลิต 649.3 MW ดันเป้าพลังงานหมุนเวียนแตะ 40%

Investment

Stocks

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

GULF ประกาศเซ็นสัญญาขายไฟให้ กฟผ. นาน 25 ปี รวมกำลังผลิต 649.3 MW ดันเป้าพลังงานหมุนเวียนแตะ 40%

Date Time: 18 ต.ค. 2566 10:15 น.

Video

สาเหตุที่ทำให้ Intel อดีตยักษ์ใหญ่ชิปโลก ล้าหลังยุค AI | Digital Frontiers

Summary

  • GULF เซ็นสัญญาขายไฟให้ กฟผ. 25 ปี เป็นโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์จำนวน 12 โครงการ รวม 649.3 เมกะวัตต์ ดันเป้าพลังงานหมุนเวียนไม่ต่ำกว่า 40% ภายในปี 2578

Latest


บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือหุ้น GULF แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่า ตามที่คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) มีมติเพิ่มการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาด เพื่อลดอัตราค่าไฟฟ้า และมุ่งการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions) โดยมอบหมายให้คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ดำเนินการประกาศรับซื้อไฟฟ้าตามระเบียบว่าด้วยการจัดหาไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ Feed-in Tariff (FiT) ปี 2565-2573 สำหรับกลุ่มที่ไม่มีต้นทุนเชื้อเพลิง ซึ่งกลุ่มบริษัทได้ยื่นข้อเสนอตามระเบียบว่าด้วยการจัดหาไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนดังกล่าว และได้รับคัดเลือกให้เป็นผู้ดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนนั้น


บริษัทฯ ขอแจ้งให้ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยทราบว่า เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2566 กลุ่มบริษัทย่อยที่บริษัทฯ ถือหุ้นทางอ้อม ผ่านบริษัท กัลฟ์ รีนิวเอเบิล เอ็นเนอร์จี จำกัด ในสัดส่วนร้อยละ 100 ได้เข้าลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (Power Purchase Agreement) กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (“กฟผ.”) เป็นระยะเวลา 25 ปี เพื่อพัฒนา และดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดิน (solar farms) และโครงการพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดินร่วมกับระบบกักเก็บพลังงาน (solar farms with battery energy storage systems) จำนวนรวม 12 โครงการ มีขนาดกำลังการผลิตไฟฟ้าตามสัญญารวม 649.31 เมกะวัตต์ และมีกำหนดเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ระหว่างปี 2567-2568 


โครงการพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดิน (solar farms) และโครงการพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดินร่วมกับระบบกักเก็บพลังงาน (solar farms with battery energy storage systems) มีอัตราจำหน่ายไฟฟ้าในรูปแบบ FiT ที่ 2.1679 บาทต่อกิโลวัตต์-ชั่วโมง และ 2.8331 บาทต่อกิโลวัตต์-ชั่วโมง ตามลำดับ ตลอดอายุสัญญา ซึ่งการรับซื้อไฟฟ้าจากโครงการฯ จะช่วยลดความผันผวนจากราคาเชื้อเพลิง และเป็นการช่วยแบ่งเบาภาระของประชาชนทั้งในภาคครัวเรือน และภาคอุตสาหกรรม ให้ได้ใช้ไฟฟ้าในราคาที่ต่ำตลอดอายุสัญญา เนื่องจากโครงการฯ มีต้นทุนผลิตไฟฟ้าที่ต่ำกว่าราคาค่าไฟฟ้าเฉลี่ยในปัจจุบัน


การพัฒนาโครงการดังกล่าวข้างต้นเป็นไปตามแผนของบริษัทฯ ที่จะมุ่งเน้นการเพิ่มสัดส่วนพลังงานหมุนเวียนให้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 40 ภายในปี 2578 โดยในอนาคตจะมีการทยอยลงนามสัญญาเพิ่มเติมสำหรับโครงการที่มีกำหนดเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ ระหว่างปี 2569-2573 ทั้งนี้ หากมีความคืบหน้าเพิ่มเติมในการพัฒนาโครงการฯ บริษัทฯ จะแจ้งรายละเอียดให้ทราบต่อไป.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการไทยรัฐออนไลน์