BANPU ทุ่ม 750 ล้าน ลุยโรงงานผลิตแบตฯ กำลังผลิต 6 หมื่นชุด/ปี ส่งขาย GWM และ NETA

Investment

Stocks

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

BANPU ทุ่ม 750 ล้าน ลุยโรงงานผลิตแบตฯ กำลังผลิต 6 หมื่นชุด/ปี ส่งขาย GWM และ NETA

Date Time: 11 ต.ค. 2566 10:22 น.

Video

ล้วงไส้ TEMU อีคอมเมิร์ซจีน บุกไทย ทำไมอาจสร้างวิบากกรรมกว่าที่คิด ? | Digital Frontiers

Summary

  • บริษัท บ้านปู จํากัด (มหาชน) หรือหุ้น BANPU ประกาศลงทุนในหุ้น SVOLT Thailand สัดส่วน 40% มูลค่า 750 ล้านบาท ธุรกิจโรงงานผลิตแบตเตอรี่ กำลังผลิต 6 หมื่นชุด/ปี โดยมีกลุ่มลูกค้าหลักเป็นยานยนต์ไฟฟ้า เช่น GWM และ Hozon คาดดีลจบวันที่ 15 พฤศจิกายน 2566

บริษัท บ้านปู จํากัด (มหาชน) หรือหุ้น BANPU รายงานต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่า บริษัท บ้านปู เน็กซ์ จํากัด (Banpu NEXT) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัทฯ และบริษัท บ้านปู เพาเวอร์ จํากัด (มหาชน) หรือหุ้น BPP ที่ถือหุ้นในสัดส่วนที่เท่ากัน คือร้อยละ 50 ได้ลงนามในสัญญาเพื่อเข้าซื้อหุ้นร้อยละ 40 ในบริษัท เอส โวลต์ เอเนอร์จี้ เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จํากัด หรือ SVOLT Thailand โดยมีมูลค่าการลงทุน 750 ล้านบาท จากผู้ถือหุ้นเดิมคือ SVOLT Energy Technology (Hongkong) ซึ่งจะยังคงเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ร้อยละ 60 ใน SVOLT Thailand


ทั้งนี้ คาดว่าจะทํารายการซื้อขายหุ้นแล้วเสร็จภายในวันที่ 15 พฤศจิกายน 2566 SVOLT Thailand ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2566 ที่อําเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ประเทศไทย เพื่อจัดตั้งโรงงานผลิตแบตเตอรี่ (Module Pack Factory) มุ่งเน้นเรื่องการวิจัยและพัฒนา ดําเนินการผลิตและจัดจําหน่ายแบตเตอรี่ลิเธียมไอออน รวมทั้งธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการนําเข้าและส่งออกแบตเตอรี่ การบริการแบบครบวงจร รวมทั้งการให้บริการด้านเทคนิค การบริการ ให้คําปรึกษาแนะนําพร้อมเสนอโซลูชันเรื่องแบตเตอรี่และการจัดเก็บพลังงานตามความต้องการของลูกค้า (ทั้งนี้ไม่ได้รวมการ ให้บริการในด้านการขอใบอนุญาตต่างๆ) โดยมีกําลังการผลิตเริ่มต้นที่ 60,000 ชุดต่อปี ซึ่งจะเริ่มส่งมอบในช่วงไตรมาสแรกปี 2567โดยมีกลุ่มลูกค้าหลักเป็นยานยนต์ไฟฟ้า เช่น GWM และ Hozon หรือเจ้าของแบรนด์ NETA ทั้งนี้ ในอนาคตยังสามารถขยายกําลังการผลิตเพื่อรองรับ ความต้องการที่เพิ่มมากขึ้น


การลงทุนในครั้งนี้เป็นการต่อยอดธุรกิจเทคโนโลยีพลังงานของ Banpu NEXT สะท้อนถึงความมุ่งมั่นในการนําโซลูชัน พลังงานที่ยั่งยืนมาเร่งขับเคลื่อนเป้าหมายด้าน Net-Zero และเปิดโอกาสเพื่อรองรับความต้องการที่เติบโตขึ้นในประเทศไทย ทั้งนี้ด้วยกลยุทธ์การดําเนินธุรกิจที่คล้ายกันจะทําให้เกิดการใช้ประโยชน์จากจุดแข็งของทั้งสองฝ่ายเพื่อการให้บริการครบวงจร ด้วยเทคโนโลยีและอุปกรณ์ที่มีคุณภาพสูง เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ลูกค้า


บริษัทฯ ขอรับรองว่าการเข้าทํารายการในครั้งนี้ไม่เป็นรายการที่เกี่ยวโยงกัน และไม่เข้าเกณฑ์ที่ต้องรายงานการได้มาซึ่ง สินทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนแต่ประการใด


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ