RATCH อัดงบปีละ 1.5 หมื่นล้าน ดันกำลังผลิตไฟฟ้า 1 หมื่น MW ใน 10 ปี พร้อมศึกษาพลังงานไฮโดรเจน

Investment

Stocks

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

RATCH อัดงบปีละ 1.5 หมื่นล้าน ดันกำลังผลิตไฟฟ้า 1 หมื่น MW ใน 10 ปี พร้อมศึกษาพลังงานไฮโดรเจน

Date Time: 1 ก.ย. 2566 17:08 น.

Video

วิธีเอาตัวรอดของ Wikipedia ไม่พึ่งโฆษณา ไม่มีค่าสมาชิก แต่อยู่มาได้ 23 ปี | Digital Frontiers

Summary

  • - RATCH เปิดแผนลงทุนปีละ 1.5 หมื่นล้านบาท ดันกำลังผลิตแตะ 1.08 หมื่นเมกะวัตต์ ในปี 2576
  • - ลุยซื้อกิจการ เผยอยู่ระหว่างศึกษาพลังงานทดแทน 5 โครงการ คาดชัดเจนภายในช่วงที่เหลือของปีนี้อย่างน้อย 1 ดีล
  • - คาดผลงานครึ่งปีหลังดีกว่าครึ่งปีแรก เตรียมรับรู้โรงไฟฟ้าไพตันในอินโดนีเซีย กำลังผลิตติดตั้ง 2,045 เมกะวัตต์ จ่อ COD อีโค่วิน เวียดนาม 29.7 เมกะวัตต์ กันยายนนี้
  • - รับศึกษาโครงการพลังงานไฮโดรเจนในออสเตรเลีย เล็งคุยพาร์ตเนอร์ญี่ปุ่น

Latest


เป็นที่น่าจับตาสำหรับหุ้นของ บริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือหุ้น RATCH หลังความต้องการใช้ไฟฟ้ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นชัดเจน จากการกลับมาดำเนินการในหลากหลายกิจกรรมทางเศรษฐกิจทั้งในไทยและต่างประเทศ เนื่องด้วยสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลาย โดยบริษัทวางแผนเพิ่มกำลังการผลิตอย่างต่อเนื่อง เพื่อเตรียมความพร้อมรองรับความต้องการนั้น พร้อมมุ่งเน้นลงทุนในโครงการพลังงานสะอาดสอดรับไปกับเทรนด์ลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก


ชูศรี เกียรติขจรกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ RATCH เปิดเผยว่า บริษัทตั้งเป้าพัฒนาโครงการและบริหารโครงการที่กำลังก่อสร้างให้เสร็จตามกำหนด โดยโครงการที่อยู่ในแผน (pipeline) จะทำให้กำลังการผลิตรวมแตะ 10,807.35 เมกะวัตต์ โดยทยอยผลิตไฟฟ้าจำหน่ายเชิงพาณิชย์สำหรับโครงการใหม่ๆ ในปี 2566-2576


เปิดแผนดันกำลังผลิต 1 หมื่นเมกะวัตต์ ในปี 2576


ในปีนี้บริษัท ได้เข้าสู่ตลาดฟิลิปปินส์ โดยโครงการพลังงานแสงอาทิตย์กาลาบังก้า กำลังการผลิตติดตั้ง 74 เมกะวัตต์สูงสุด อยู่ระหว่างการก่อสร้างและกำหนดจะผลิตไฟฟ้าจำหน่ายเชิงพาณิชย์ในปี 2567 ซึ่งกระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้ 85% มีสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับบริษัทในเครือของ AboitizPower, AP Renewables และ Avent Energy


นอกจากนี้ ยังมีโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ NPSI ขนาดกำลังการผลิตติดตั้ง 150 เมกะวัตต์สูงสุด รวมทั้งโครงการพลังงานลมบนชายฝั่งอ่าวซานมิเกล และโครงการพลังงานลมในทะเล ซึ่งเป็นโครงการขนาดใหญ่กำลังการผลิตติดตั้งประมาณ 400-450 เมกะวัตต์ ที่อยู่ระหว่างการพัฒนาและคาดว่าจะสามารถผลิตไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ได้ในปี 2568 ปี 2570 และปี 2571 ตามลำดับ


ส่วนในออสเตรเลียได้เริ่มพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ กำลังการผลิตติดตั้ง 150 เมกะวัตต์สูงสุด ซึ่งคาดหมายว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จในปี 2568 


ตั้งงบลงทุนปีละ 1.5 หมื่นล้าน ลุยซื้อกิจการ


ทั้งนี้ บริษัทตั้งงบลงทุนเพื่อหาโอกาสในการลงทุนโครงการใหม่เพิ่มเติม (ไม่รวมโครงการใน pipeline) ไว้ปีละราว 15,000 ล้านบาท หรือคิดเป็นประมาณ 700 เมกะวัตต์ต่อปี โดยสนใจการลงทุนในตลาดประเทศพัฒนาแล้ว ทั้งโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทน โครงการโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติที่มีศักยภาพ และคาดว่าจะใช้ในการลงทุนก่อสร้างโครงการโรงไฟฟ้าใหม่ 50% ส่วนที่เหลือเตรียมไว้สำหรับโอกาสในการเข้าซื้อกิจการโครงการ


ขณะเดียวกัน บริษัทอยู่ระหว่างศึกษาการเข้าซื้อกิจการในโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน จำนวน 5 โครงการ ซึ่งคาดว่าจะมีคาดชัดเจนอย่างน้อย 1 โครงการ กำลังการผลิตประมาณ 300-350 เมกะวัตต์ ภายในช่วงที่เหลือของปีนี้ โดยบริษัทยังมุ่งเน้นลงทุนในโครงการพลังงานสะอาดอย่างต่อเนื่อง ตามนโยบายการลดปริมาณความเข้มข้นของปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อหน่วยไฟฟ้า (GHG Intensity) ให้ได้ 15% เทียบกับปีฐาน 2566 การเพิ่มกำลังการผลิตพลังงานทดแทนให้ถึง 30% และเป้าหมายการดูดกลับก๊าซเรือนกระจกจากป่าไม้ (คาร์บอนเครดิต) ให้ได้ 1% ของปริมาณการปล่อยทั้งหมด


คาดผลงานครึ่งหลังปี 2566 ดีกว่าครึ่งปีแรก


ชูศรี กล่าวอีกว่า สำหรับแนวโน้มผลประกอบการในช่วงครึ่งหลังของปี 2566 คาดว่าจะทำได้ดีกว่าช่วงครึ่งปีแรก หลังเตรียมรับรู้รายได้จากโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อน Paiton Energy ในอินโดนีเซีย กำลังการผลิต 742 เมกะวัตต์ พร้อมรับรู้รายได้จากการเดินเครื่องเชิงพาณิชย์โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลม อีโค่วิน ที่ประเวียดนาม กำลังการผลิต 29.7 เมกะวัตต์


นอกจากนี้ บริษัทยังมีความสนใจในการลงทุนโรงไฟฟ้าพลังงานสะอาด ที่สามารถเปลี่ยนเป็นเชื้อเพลิงได้ ตลอดจนโครงการผลิตเชื้อเพลิงไฮโดรเจนในออสเตรเลีย ซึ่งเป็นตลาดที่มีศักยภาพมาก โดยอยู่ระหว่างการศึกษาและเข้าเจรจาร่วมลงทุนและศึกษาร่วมกับพันธมิตรในญี่ปุ่น คาดว่าจะมีความชัดเจนในระยะถัดไป


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ