แกรมมี่ จ่อส่ง GMM MUSIC เข้าระดมทุนในตลาดหุ้น หวังรัน “วงการเพลงไทย”

Investment

Stocks

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

แกรมมี่ จ่อส่ง GMM MUSIC เข้าระดมทุนในตลาดหุ้น หวังรัน “วงการเพลงไทย”

Date Time: 31 ก.ค. 2566 14:33 น.

Video

ทางรอดเศรษฐกิจไทยในยุค AI ครองโลก | 1st Anniversary Thairath Money

Summary

  • บอร์ด GRAMMY อนุมัติแผนการนำบริษัท จีเอ็มเอ็ม มิวสิค จำกัด (GMM MUSIC) เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (สปินออฟ) ระดมเงินทุนสร้างการเจริญเติบโตให้กับอุตสาหกรรมเพลง

ที่ประชุมคณะกรรมการ บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) หรือ GRAMMY ได้ทำการอนุมัติแผนการนำบริษัท จีเอ็มเอ็ม มิวสิค จำกัด (GMM MUSIC) ซึ่งเป็นเรือธงของกลุ่มจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ในการดำเนินธุรกิจเพลงแบบครบวงจร เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (สปินออฟ) ระดมเงินทุนในการสร้างการเจริญเติบโตให้กับอุตสาหกรรมเพลง โดยเงินลงทุนในครั้งนี้ จะนำไปใช้เพื่อการขยายธุรกิจในหลายภาคส่วน โดยมุ่งหวังที่จะสะท้อนให้เกิดระบบเศรษฐกิจใหม่ ขยายอุตสาหกรรมเพลงทั้งตลาด พร้อมเน้น 7 ยุทธศาสตร์การขยาย ได้แก่


1. Double Up Production ขยายการผลิต เป็นอีกเท่าตัวจากการผลิตในปัจจุบัน 


2. Showbiz Expansion ขยาย Scale ของ Music Festival ที่ครอบคลุมสูงสุดทั่วประเทศ สู่การรองรับจำนวนผู้ชม ซึ่งจะมากกว่า 500,000 คนต่อปี


3. Local Alliance ขยายพันธมิตรทางดนตรี ร่วมจับมือกับค่ายเพลงในประเทศไทย ผ่านการ M&A (Mergers &  Acquisitions) หรือ JV (Joint Venture)


4. Global Strategic Partner ขยายการจับมือกับบริษัทชั้นนำในต่างชาติ ผ่านการ JV (Joint Venture) เพื่อการสร้างงานเพลง และส่งเสริมศิลปินไทย เดินหน้าสู่มาตรฐานใหม่ในระดับสากล


5. Media Networking ขยายวงล้อมการเข้าถึงผู้บริโภคอย่างมีประสิทธิภาพในทุกรูปแบบ และทุกช่องทางการสื่อสาร


6. Data Intelligent ขยายศักยภาพการบริหารจัดการข้อมูล Big Data ผ่านการลงทุนเพิ่มด้าน Data Scientist Machine Learning และระบบ AI พร้อมสร้าง Tools ใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์


7. New World Talent ขยายทีมงานแห่งอนาคตด้วยการลงทุนในบุคลากรรุ่นใหม่ ซึ่งเต็มไปด้วยความเชี่ยวชาญใหม่ๆ ความคิดใหม่ๆ และแรงบันดาลใจใหม่ๆ เข้ามาช่วยเติมเต็ม สืบทอด ต่อยอด รองรับการก้าวไปข้างหน้าของธุรกิจเพลง


ภาวิต จิตรกร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร จีเอ็มเอ็ม มิวสิค กล่าวว่า อุตสาหกรรมเพลงทั่วโลกได้เติบโตกลับมาถึงจุดที่เรียกว่า “Music Second Wave” ซึ่งหมายความว่า อุตสาหกรรมทั่วโลกมียอดรายรับ “ทะลุจุดสูงสุดที่เคยสร้างไว้ในอดีต” หรือเรียกง่ายๆ ว่า อุตสาหกรรมเพลงได้กลับมาสู่จุดรุ่งเรืองสูงสุดอีกครั้งหนึ่ง และกำลังเติบโตขึ้น


จากตัวเลขการคาดการรายรับ (World Business Projection) อุตสาหกรรมเพลงทั่วโลกจะเติบโตขึ้นอีกเป็นเท่าตัวภายในปี 2030 ซึ่งแน่นอนว่าเหตุผลหลักของการเติบโตนั้นมาจาก 2 ปัจจัยหลัก คือ การเติบโตของธุรกิจ Digital Streaming และการเติบโตของธุรกิจ Showbiz ที่เติบโตขึ้นเรื่อยๆ และการนำ GMM MUSIC เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ครั้งนี้ จะทำให้มูลค่าบริษัทสะท้อนมูลค่าตลาดที่แท้จริงในอุตสาหกรรมเพลง ซึ่ง GMM MUSIC มีความพร้อมที่จะขยายตัวได้อีกมาก


ภาวิต จิตรกร กล่าวอีกว่า บริษัทตั้งประมาณการที่จะสร้างรายได้ที่ 3,800 ล้านบาท ในปี 2566 นี้ และพร้อมที่จะเดินหน้าสู่การสร้างผลประกอบการแบบ New High ภายในปี 2567 ที่จะถึงนี้ ทั้งหมดนี้เป็นเพียงแค่จุดเริ่มต้นของ New Music Economy ยังมีฉากทัศน์อีกมากมายที่จะเกิดขึ้นภายใต้การสปินออฟของ GMM MUSIC ในครั้งนี้


ด้าน ฟ้าใหม่ ดำรงชัยธรรม รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร จีเอ็มเอ็ม มิวสิค กล่าวเสริมว่า การสปินออฟที่จะเกิดขึ้นนี้ บริษัทตั้งอยู่บนพื้นฐานของธุรกิจที่มีความแข็งแรง ทั้งขนาดรายได้ ขนาดกำไร คุณภาพของศิลปิน และคุณภาพของทีมงาน


ขณะเดียวกัน มั่นใจว่าหากผลักดัน New Music Economy ได้นั้น อาจหมายถึงการเติบโตการผลิตได้ถึง 2 เท่า ก็ควรที่จะสร้างรายได้เติบโตได้เป็น 2 เท่าเช่นกัน และหากสามารถสร้างความร่วมมือและพันธมิตรได้มากขึ้นเป็น 2 เท่า ตลาดก็น่าที่จะเติบโตได้เป็น 2 เท่าเช่นกัน


มุมความคิดเหล่านี้ ล้วนสอดคล้องกับการเจริญเติบโตของตลาดโลก ที่ไม่ได้เติบโตแค่ในเชิงของคุณภาพเพียงแค่นั้น หากแต่เติบโตด้วยเรื่องของขนาด (Scale) เป็นอีกนัยสำคัญหนึ่งเช่นกัน การเติบโตที่เชื่อมั่นมาจากทั้งพื้นฐานธุรกิจที่มั่นคง (Sustainable Growth) และความร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญและพันธมิตรทุกสาขา (Strategic Growth) ณ ปัจจุบัน บริษัทได้เตรียมการที่จะเดินหน้าด้าน Strategic Investment อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งปัจจุบันได้ทำการเจรจา และอยู่ในขั้นตอนการสรุปดีลกับพันธมิตรต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งคาดว่าจะสามารถประกาศความร่วมมือต่างๆ ได้ภายในไตรมาส 3 ถึงไตรมาส 4 ของปี 2566 นี้


ปัจจุบัน GMM MUSIC มีที่มาของรายได้จาก 5 แหล่งธุรกิจหลัก อ้างอิงจากรายได้ 12 เดือนย้อนหลังของธุรกิจเพลง นับตั้งแต่ไตรมาส 2 ปี 2565 ถึงไตรมาส 1 ปี 2566 ได้แก่


1. Music Digital Business มียอดรายได้ที่ 1,152 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนที่ 34% 


2. Music Artist Management Business มียอดรายได้ที่ 1,177 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนที่ 35%


3. Showbiz Business มียอดรายได้ที่ 678 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนที่ 20%


4. Right Management Business มียอดรายได้ที่ 234 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนที่ 7%


5. Physical Business มียอดรายได้ที่ 147 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนที่ 4%


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ