TRUE เผยเรตติ้งใหม่ขึ้นเป็น A+ ช่วยลดต้นทุน-ดึงดูดนักลงทุน ลุยธุรกิจตามแผน หวังดันเรตติ้งเพิ่ม

Investment

Stocks

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

TRUE เผยเรตติ้งใหม่ขึ้นเป็น A+ ช่วยลดต้นทุน-ดึงดูดนักลงทุน ลุยธุรกิจตามแผน หวังดันเรตติ้งเพิ่ม

Date Time: 14 มิ.ย. 2566 17:59 น.

Video

ดร.พิพัฒน์ KKP กระเทาะโจทย์เศรษฐกิจไทย บุญเก่าเจอความเสี่ยง บุญใหม่มาไม่ทัน

Summary

  • หลังการควบรวมสำเร็จ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ TRUE ได้รับการจัดอันดับเครดิตองค์กรที่ระดับ A+ โดยทริสเรทติ้งช่วยให้บริษัทสามารถรีไฟแนนซ์หนี้ในอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำลง และเข้าถึงสภาพคล่องในตลาดด้วยกลุ่มนักลงทุนที่กว้างขึ้น

Latest


บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ TRUEE และบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ DTAC ได้ประสบความสำเร็จในการรวมธุรกิจในนาม บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เมื่อเดือนมีนาคม 2566 ซึ่งภายหลังการรวมธุรกิจแล้วเสร็จ โดยภายหลังการควบรวมช่วยให้บริษัทได้รับการจัดอันดับเครดิตองค์กรที่ระดับ A+ โดยทริสเรทติ้ง


นายนกุล เซห์กัล และนางสาวยุภา ลีวงศ์เจริญ หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านการเงิน (ร่วม) (Co-Chief Financial Officer) บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า จุดมุ่งหมายหลักในการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (credit rating) คือการประเมินแนวโน้มความเสี่ยงที่บริษัทจะไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนด เป็นเครื่องมือในการประเมินความน่าเชื่อถือและความมั่นคงทางการเงินของบริษัท ช่วยให้นักลงทุนและเจ้าหนี้มีข้อมูลเพียงพอในการประกอบการตัดสินใจเกี่ยวกับการให้กู้ยืมเงิน การลงทุน หรือการเข้าร่วมพันธมิตรทางธุรกิจ


ทั้งนี้ในด้านธุรกิจหากอันดับเครดิตสูง บริษัทก็จะยิ่งมีทางเลือกที่มากขึ้นในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนในอัตราดอกเบี้ยที่ดีกว่า ทำให้ในระยะยาวช่วยลดค่าใช้จ่ายจากการกู้ยืมและเพิ่มความยืดหยุ่นทางการเงิน

อันดับความน่าเชื่อถือของ ทรู คอร์ปอเรชั่น ภายหลังการควบรวม ถูกจัดให้อยู่ในระดับ A+ โดยทริสเรทติ้ง ถือเป็นข้อมูลเชิงลึกที่ช่วยให้นักลงทุนทราบถึงสุขภาพทางการเงินและความเสี่ยงของบริษัทที่ตนต้องการเข้าไปลงทุน โดยก่อนการควบกิจการ อันดับความน่าเชื่อถือของ TRUEE อยู่ที่ระดับ BBB+ และ DTAC อยู่ที่ระดับ AA


การที่ ทรู คอร์ปอเรชั่น ที่ควบรวมแล้วได้รับการปรับอันดับเครดิตเพิ่มขึ้นสามระดับ จาก BBB+ เป็น A+ นั้นช่วยให้บริษัทสามารถรีไฟแนนซ์หนี้ในอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำลง และเข้าถึงสภาพคล่องในตลาดด้วยกลุ่มนักลงทุนที่กว้างขึ้น


ขณะที่ในปี 2565 ตลาดตราสารหนี้หรือ ‘หุ้นกู้’ คิดเป็นมูลค่ารวมราว 1.3 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่า 19% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ทั้งนี้ บริษัทหลายแห่งมีการระดมทุนผ่านตลาดตราสารหนี้ และจากข้อมูลพบว่าร้อยละ 75 ของมูลค่ารวมนี้สามารถเข้าถึงได้โดยบริษัทที่มีอันดับเครดิตที่ระดับ A หรือสูงกว่า  


ด้านนางสาวยุภา กล่าวว่า การจัดอันดับเครดิตบริษัทนั้นเป็นเสมือนจุดอ้างอิงให้กับนักลงทุนในการประเมินความเสี่ยงและผลตอบแทน ยิ่งอันดับเครดิตสูง ความเสี่ยงก็ยิ่งต่ำ และในระยะยาวนั้นจะช่วยลดต้นทุนและสร้างมูลค่าเพิ่มที่มากขึ้นให้แก่ผู้ถือหุ้น


ทั้งนี้ ทริสเรทติ้ง มีการจัดอันดับเครดิตโดยพิจารณาจากมุมมองและแนวโน้มในอนาคตเป็นหลัก ซึ่งทริสเรทติ้งนั้นเชื่อว่าการรวมกิจการในครั้งนี้จะนำมาซึ่งโอกาสมากมายจากการประสานพลัง (synergy) ของสองบริษัท 


พร้อมกันนี้เพื่อรักษาอันดับเครดิตนี้ไว้ บริษัทต้องทำทุกอย่างให้ได้ตามเป้าหมายและแผนธุรกิจที่วางไว้ การทำสิ่งต่างๆ ให้เหนือความคาดหมายของลูกค้า ผู้ถือหุ้น และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จะช่วยปูทางไปสู่การจัดอันดับเครดิตที่ดียิ่งขึ้นในอนาคต ซึ่งทุกคนในบริษัทล้วนมีส่วนช่วยในการขับเคลื่อนการดำเนินงานและเป้าหมายด้านกลยุทธ์ด้วยการทำสิ่งต่างๆ ที่เหนือความคาดหมายอย่างต่อเนื่อง.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ