ถอดวิธีดูหุ้นไอพีโอแบบง่ายๆ ตัวไหนน่าซื้อหรือควรหลีกเลี่ยง

Investment

Stocks

ไชยรัตน์  ศรีสุข (อาร์ม)

ไชยรัตน์ ศรีสุข (อาร์ม)

Tag

ถอดวิธีดูหุ้นไอพีโอแบบง่ายๆ ตัวไหนน่าซื้อหรือควรหลีกเลี่ยง

Date Time: 13 พ.ค. 2566 10:31 น.

Video

สาเหตุที่ทำให้ Intel อดีตยักษ์ใหญ่ชิปโลก ล้าหลังยุค AI | Digital Frontiers

หุ้นไอพีโอ เป็นสินค้าที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในตลาดหุ้นมายาวนาน ด้วยความสดใหม่ของธุรกิจที่เตรียมพร้อมจะเข้าเป็นสมาชิกใหม่ในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งการเข้าไอพีโอ นั่นคือการเติมเงินเข้าไปในบริษัท ด้วยความหวังที่บริษัทจะนำเงินนั้นเข้าไปสร้างการเติบโตและสร้างผลตอบแทนให้กับผู้หุ้นในระยะยาว และอีกหนึ่งเสน่ห์ที่ทำให้หุ้นไอพีโอ

 

แต่ในระยะหลังนักลงทุนที่เข้าไปเทรดหุ้นไอพีโอมักพบกับความผิดหวัง เพราะจากสถิติจากต้นปีถึงปัจจุบัน (12 พ.ค. 66) พบว่า มีหุ้นที่เข้าไอพีโอแล้วทั้งสิ้น 15 บริษัท มีหุ้นที่ต่ำจองถึง 9 บริษัท และเคยมีหุ้นบางตัวที่ราคาพุ่งขึ้นไปมากกว่า 100% ในช่วงเปิดการซื้อขาย ก่อนที่จะราคาจะไหลลงมาต่ำจองในวันเดียว สร้างความเสียหายให้กับนักลงทุนอย่างหนัก ทำให้เกิดคำถามในหมู่นักลงทุนว่า หุ้นไอพีโอที่ดี ควรจะเป็นอย่างไร และมีวิธีเลือกซื้อหุ้นไอพีโอแบบไหนบ้าง

 

โดยจากการพูดคุยกับบริษัท แอสเซท โปร แมเนจเม้นท์ จำกัด (APM) หนึ่งในบริษัทที่ปรึกษาทางการเงินมือทองที่นำบริษัทเข้าระดมทุนในตลาดหุ้นไทยมากกว่า 80 บริษัท โดยในหุ้นที่สร้างชื่อเสียงให้กับ APM ทั้ง บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) หรือ EA, บริษัท อาร์ แอนด์ บี ฟู้ด ซัพพลาย จำกัด (มหาชน) หรือ RBF, บริษัท ฟอร์ท สมาร์ท เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ FSMART

นายสมศักดิ์ ศิริชัยนฤมิตร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เปิดเผยมุมมองกับ ThairathMoney ว่า ในมุมมองของที่ปรึกษาทางการเงินนั้นบริษัทที่จะเข้าระดมทุน อยากให้นักลงทุนเปลี่ยนมุมมองในการดูหุ้นไอพีโอ ที่บางครั้งราคาหุ้นที่มีพี/อีต่ำ อาจไม่ใช่หุ้นที่น่าลงทุน

 

                “มุมมองต่อหุ้นไอพีโอในปัจจุบันอาจจะต้องมีการพิจารณากันใหม่ โดยเฉพาะในด้านกำหนดราคาหุ้นไอพีโอ ที่หลายครั้งนักลงทุนมักจะโฟกัสว่าหุ้นไอพีโอตัวนี้กำหนดราคาที่พี/อีเท่าไร และให้ส่วนลดเท่าไร ทั้งที่การให้ส่วนลดและค่าพี/อีไม่ได้สะท้อนว่าหุ้นไอพีโอ ตัวนั้นจะดีอย่างที่คาดหวัง”

 

 

กรรมวิธีกำหนดราคาไอพีโอ ที่ปรึกษาทางการเงินจะทำการคำนวณการเติบโตของบริษัทไปใน 5 ปีข้างหน้าว่าจะมีการเติบโตของรายได้และกำไรเท่าไร และการระดมทุนนั้นจะช่วยสร้างการเติบโตให้กับบริษัทอย่างไรบ้าง ซึ่งจะนำปัจจัยต่างๆ เข้ามาคำนวณไม่ว่าจะเป็นการนำเงินไปลงทุนอะไร สร้างโรงงานหรือไม่ หรือเอาไปใช้พัฒนาธุรกิจในส่วนไหน ก่อนที่จะมาคำนวณกับราคาไอพีโอ โดยนำมาร่วมพิจารณาว่าบริษัทต้องการเงินทุนเท่าไรในการระดมทุนเพื่อธุรกิจเติบโตตามแผน ก่อนจะนำมาคำนวณส่วนลดให้กับนักลงทุนในการเข้าระดมทุน

ทั้งนี้หากบริษัทมีทิศทางการเติบโตที่ดี แผนการลงทุนชัดเจน และอยู่ในอุตสาหกรรมที่มีอนาคต มีการทำแบบจำลองการเติบโตของกำไรในอนาคตที่สูงมาก ที่ปรึกษาทางการเงินและผู้ทำหน้าที่จัดจำหน่ายและรับประกันจัดจำหน่าย รวมถึงผู้ระดมทุน มั่นใจว่าการเติบโตจะเป็นไปตามเป้าหมาย ที่ปรึกษาทางการเงินและผู้ทำหน้าที่จัดจำหน่ายและรับประกันจัดจำหน่ายมั่นใจว่าการเติบโตจะเป็นไปตามเป้าหมาย นักวิเคราะห์มีมุมมองที่ดีกับหุ้นตัวนั้น ส่วนลดในราคาจองซื้อหุ้นไอพีโอไม่มาก

แต่หากประเมินว่า บริษัทไม่ได้อยู่ในอุตสาหกรรมที่เป็นอนาคต หรือ เป็นที่สนใจกับนักลงทุน การเติบโตไม่หวือหวามากนัก ที่ปรึกษาทางการเงินก็จะให้ส่วนลดที่เยอะกับหุ้นไอพีโอตัวนั้นเพื่อดึงดูดใจให้กับนักลงทุนที่จะเข้ามาซื้อหุ้น

 

 

ดูแผนการใช้เงินจะช่วยไขคำตอบ

              อย่างไรก็ตามอีกหนึ่งสิ่งที่นักลงทุนต้องพิจารณาในการดูหุ้นไอพีโอ คือ แผนการระดมทุนว่าพวกเขาจะนำเงินไปใช้อะไร รวมถึงที่ปรึกษาทางการเงินที่ผ่านมานั้นเป็นอย่างไรบ้าง จะช่วยทำให้นักลงทุนได้ข้อสังเกตในการจองซื้อหุ้นได้ดีมากขึ้น

 

 

ถอดสูตรทำหุ้นไอพีโอให้ปัง

 

อย่างไรก็ตามในมุมของที่ปรึกษาทางการเงินในการนำหุ้นเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์นั้น สิ่งหนึ่งที่ APM ให้ความสำคัญมาก คือ การโรดโชว์พบนักลงทุนรายย่อย และนักลงทุนสถาบัน โดยในมุมมองของที่ปรึกษาทางการเงิน การโรดโชว์นั้นการที่ผู้ระดมทุนและผู้ลงทุนได้พบกัน จะช่วยสร้างความเข้าใจในพื้นฐานของธุรกิจที่ดีขึ้น และได้รับฟังแนวโน้มการเติบโตและมุมมองจากผู้บริหารโดยตรง ช่วยสร้างความเชื่อมั่นกับผู้ลงทุนได้ ซึ่งในบางบริษัทที่เตรียมตัวเข้าตลาดหลักทรัพย์มีการโรดโชว์กับนักลงทุนรายบุคคล นักลงทุนรายใหญ่รวมถึงนักลงทุนสถาบัน ทั้งในไทยและต่างชาติ รวมกันมากกว่า 100 การประชุม ซึ่งจะช่วยให้นักลงทุนเข้าใจบริษัทและเชื่อมั่นใจการจองซื้อหุ้นไอพีโอได้