ไทยออยล์ใต้การบริหารของ วิรัตน์ ทรานส์ฟอร์มธุรกิจรองรับการเติบโตในอนาคต

Investment

Stocks

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

ไทยออยล์ใต้การบริหารของ วิรัตน์ ทรานส์ฟอร์มธุรกิจรองรับการเติบโตในอนาคต

Date Time: 23 ก.ย. 2565 15:46 น.

Video

สาเหตุที่ทำให้ Intel อดีตยักษ์ใหญ่ชิปโลก ล้าหลังยุค AI | Digital Frontiers

Summary

  • ไทยออยล์ใต้การบริหารของ "วิรัตน์ เอื้อนฤมิต" ยุคทรานส์ฟอร์มธุรกิจให้มากกว่าโรงกลั่นน้ำมัน ภายใต้ยุทธศาสตร์ 3V’s เพื่อรองรับการเติบโตในอนาคต

ไทยออยล์ใต้การบริหารของ "วิรัตน์ เอื้อนฤมิต" ยุคทรานส์ฟอร์มธุรกิจให้มากกว่าโรงกลั่นน้ำมัน ภายใต้ยุทธศาสตร์ 3V’s เพื่อรองรับการเติบโตในอนาคต

นายวิรัตน์ เอื้อนฤมิต ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) หรือ TOP กล่าวว่า วันที่ 30 ก.ย. 65 นี้ ผมจะเกษียนในตำแหน่ง CEO ในไทยออยล์ ตลอดระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมาในตำแหน่ง CEO ผมและทีมผู้บริหาร มองว่า ไทยออยล์ที่อยู่คู่ประเทศไทยมา 61 ปีต้อง เร่ง Transform ตัวเองให้เป็นมากกว่าธุรกิจโรงกลั่นน้ำมัน และรองรับการเติบโตในธุรกิจใหม่ๆ ผ่านยุทธศาสตร์ 3V’s ได้แก่

1. Value Maximization: Integrated Crude to Chemicals การบูรณาการต่อยอดห่วงโซ่คุณค่าจากธุรกิจโรงกลั่นสู่ธุรกิจปิโตรเคมี เช่น อะโรเมติกส์ โอเลฟิน รวมไปถึงผลิตภัณฑ์มูลค่าสูงเพื่อเพิ่มมูลค่าสูงสุดให้กับผลิตภัณฑ์ และเสริมความสามารถในการแข่งขันของไทยออยล์

- โครงการ CFP เป็นฐานการผลิตที่สำคัญของธุรกิจปิโตรเลียม ซึ่งนอกจากตอบโจทย์ด้านความสามารถในการแข่งขัน ลดต้นทุนน้ำมันดิบ และเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ ยังเป็นแพลตฟอร์มสำคัญที่ทำให้บริษัทฯ สามารถต่อยอดไปธุรกิจปิโตรเคมีและ HVP

นอกเหนือ จากการลงทุนใน PT Chandra Asri Petrochemical Tbk หรือ CAP ที่ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นการก้าวกระโดดเข้าสู่ธุรกิจโอเลฟินของไทยออยล์ สร้างโอกาสจากการขยายกำลังการผลิตเพิ่มกว่าเท่าตัว (โครงการ CAP2) และการต่อยอดไปยังธุรกิจปลายน้ำ

2. Value Enhancement: Integrated Value Chain Management การบูรณาการขยายตลาดและกระจายผลิตภัณฑ์ไปสู่ต่างประเทศในระดับภูมิภาค เน้นตลาดที่มีความต้องการสูงเพื่อเข้าถึงความต้องการของกลุ่มลูกค้าที่หลากหลายยิ่งขึ้น

เช่น เวียดนาม อินโดนีเซีย และอินเดีย ซึ่งมีการเจริญเติบโตสูง รวมถึงเพิ่มโอกาสในการลงทุนในประเทศเหล่านี้ เพื่อเข้าถึงและตอบสนองความต้องการของ End user มากขึ้น

3. Value Diversification: การกระจายการเติบโตสู่ธุรกิจที่มีความมั่นคงของผลกำไร เช่น ธุรกิจไฟฟ้า ผ่านการเจริญเติบโตในบริษัท GPSC รวมถึงแสวงหาโอกาสในธุรกิจใหม่ที่เป็น New S-Curve เพื่อให้สอดคล้องกับทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต

เช่น Biojet, Bioplastics/biochemicals, Blue/green hydrogen โดยใช้กลไกการลงทุน 2 แบบ ได้แก่ การลงทุนผ่าน Corporate Venture Capital หรือ CVC และการลงทุนในรูปแบบ Joint Venture และ Merger and Acquisition

นายวิรัตน์ กล่าวว่า ส่วนโครงการพลังงานสะอาด หรือ CFP เป็นโครงการที่เพิ่มประสิทธิภาพโรงกลั่นและขยายกำลังการกลั่นจาก 2.75 แสนบาร์เรลต่อวัน เป็น 4 แสนบาร์เรลต่อวัน และเป็นการสนับสนุนกลยุทธ์ในส่วนของ Value Maximization เพื่อสร้างเป็นพื้นฐานที่แข็งแกร่งในการต่อยอดไปสู่ธุรกิจปิโตรเคมีและผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูง

โดย ณ วันที่ 31 ส.ค. 65 การดำเนินการตามโครงการ CFP มีความคืบหน้าอยู่ที่ 87% และคาดว่าจะสามารถทยอยเริ่มดำเนินการเชิงพาณิชย์ได้ในปี 2567 และ สามารถดำเนินการเชิงพาณิชย์ได้เต็มรูปแบบในปี 2568

สำหรับในการสร้าง New S-Curve ของไทยออยล์ ซึ่งอยู่ใน Value Diversification นั้นเราได้มีการวางแนวทางไว้ 2 รูปแบบ

Step Out Business ที่จะมุ่งเน้นลงทุนในธุรกิจใหม่ผ่านการร่วมทุน หรือ Joint Venture : JV และการควบรวมกิจการ หรือ Mergers and Acquisitions : M&A ในธุรกิจที่มีศักยภาพ มีโอกาสเติบโตสูง และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งมุ่งเน้นที่ธุรกิจแห่งอนาคตที่เป็นเมกะเทรนด์ 2 ด้าน ประกอบด้วย

1. Bio Technology ธุรกิจชีวภาพ เช่น โครงการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานชีวภาพ (Bio-Jet), โครงการชีวเคมี (Biochemicals), โครงการผลิตพลาสติกชีวภาพ (Bioplastics)

2. New Energy and Mobility ธุรกิจเทคโนโลยีพลังงานรูปแบบใหม่ การเดินทางและการขนส่ง เช่น โครงการผลิต “ไฮโดรเจนสีเขียว” ความบริสุทธิ์สูง (Green Hydrogen) และ เทคโนโลยีการดักจับ และ การใช้ประโยชน์และกักเก็บคาร์บอน (Carbon Capture, Utilization and Storage : CCUS)

Corporate Venture Capital หรือ CVC โดยไทยออยล์ได้จัดตั้งบริษัท ท็อป เว็นเจอร์ส จำกัด หรือ TOP Ventures เพื่อร่วมลงทุนใน Start-ups ที่น่าสนใจทั่วโลก โดยโฟกัสใน 3 กรอบธุรกิจ ได้แก่

เทคโนโลยีเพื่อความยั่งยืน หรือ Sustainability Technology

เทคโนโลยีด้านการทดแทนการใช้น้ำมัน หรือ Hydrocarbon Disruption Technology

เทคโนโลยีสนับสนุนอุตสาหกรรมและการผลิต หรือ Manufacturing Technology

ปัจจุบัน ไทยออยล์ ได้มีการลงทุน Start-up จำนวน 5 บริษัท ได้แก่

1. บริษัท UnaBiz ผู้ออกแบบและให้บริการครบวงจรสำหรับผลิตภัณฑ์ Internet of Things หรือ IoT

2. บริษัท Versogen ผู้พัฒนาเทคโนโลยี Anion Exchange Membrane หรือ AEM สำหรับการผลิต Green Hydrogen

3. บริษัท Ground Positioning Radar หรือ GPR ผู้พัฒนาเทคโนโลยีระบุตำแหน่งสำหรับรถยนต์ไร้คนขับ

4. บริษัท Mineed ผู้พัฒนาเทคโนโลยี Detachable & Dissolvable Microneedle สำหรับการใช้งานในด้านเครื่องสำอางและยา

5. บริษัท Everactive ผู้พัฒนาเทคโนโลยีเซนเซอร์ที่ใช้พลังงานต่ำ ไร้สายและแบตเตอรี่

นอกจากนี้ ไทยออลย์ ได้เข้าลงทุนใน Venture Capital Funds ระดับโลก จำนวน 3 กองทุน ได้แก่ 1. Rhapsody Venture Partners ในสหรัฐฯ 2. Grove Ventures ที่อิสราเอล และ 3. Alibaba Entrepreneurs Fund ในฮ่องกง และจีน ส่วนปี 65 มีเป้าหมายที่จะลงทุนใน Start-up ผ่าน CVC เพิ่มเติมอีกประมาณ 3 บริษัทอีกด้วย

นายวิรัตน์ กล่าวอีกว่า ส่วนโครงการ PT Chandra Asri Petrochemical Tbk หรือ CAP ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตปิโตรเคมีชั้นนำในประเทศอินโดนีเซีย ที่ไทยออยล์ได้ร่วมลงทุนใน CAP ในปี 2564 ทำให้ไทยออยล์สามารถก้าวเข้าสู่ธุรกิจโอเลฟินได้อย่างรวดเร็ว

ทำให้โครงสร้างธุรกิจครอบคลุมธุรกิจปิโตรเลียมและปิโตรเคมีได้อย่างสมบูรณ์ สร้างโอกาสการเติบโตในอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นประเทศที่มีความต้องการผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีสูงมาก และยังถือเป็นการเปิดโอกาสให้เกิดความร่วมมือในการขยายธุรกิจต่อไปในอนาคตอีกด้วย

ส่วนการลงทุนในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ถือเป็นส่วนหนึ่งของการบรรลุเป้าหมายในเชิงกลยุทธ์ ซึ่งบริษัทสามารถต่อยอดจากธุรกิจปิโตรเลียมที่มีการลงทุนในโครงการ CFP ไปยังธุรกิจปิโตรเคมี ผ่านการลงทุนใน CAP (CAP1+CAP2)

โดยบริษัทฯ มีโอกาสที่จะสร้าง Synergy Value จากการ supply feedstock ทั้ง LPG และ naphtha ให้กับ CAP หลังจาก CFP เริ่มดำเนินการ โดยจะมุ่งเน้นการขยายตลาดในภูมิภาค โดยบริษัทฯ ได้รับสิทธิการเป็น distribution Polymer & liquid product ของ CAP ผ่านบริษัท PT. Tirta Surya Raya หรือ TSR (ซึ่งบริษัทฯ ถือหุ้นอยู่ 77.7%) ถือเป็นการขยายตลาดสู่อินโดนีเซีย

ทั้งนี้ คาดว่าโครงการขยายกำลังการผลิต CAP2 จะมี Final Investment Decision หรือ FID ภายในไตรมาส 4/65 และคาดว่าจะเริ่มดำเนินการเชิงพาณิชย์ได้ในปี 2569

นายวิรัตน์ กล่าวว่า สำหรับแนวโน้มผลการดำเนินงานปี 2565 นั้น คาดว่า ค่าการกลั่น หรือ GRM เฉลี่ยอยู่ที่ 7-8 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ปัจจุบันไทยออยล์ได้เดินเครื่องกลั่นกลับสู่ภาวะปกติเกินกว่า 100% ของกำลังการกลั่นรวม 2.75 แสนบาร์เรลต่อวัน ทำให้ผลการดำเนินงานทั้งรายได้และกำไรเติบโตขึ้นต่อเนื่อง โดยช่วงครึ่งแรกปีนี้บริษัทมีกำไรสุทธิสูงถึง 32,510 ล้านบาท

ทั้งนี้ ธุรกิจโรงกลั่นน้ำมันดีนั้นขึ้นต่อเนื่องหลังจากสถานการณ์โควิดเริ่มคลี่คลาย ทำให้ความต้องการใช้น้ำมันสำเร็จรูปเพิ่มขึ้นทั้งน้ำมันเบนซิน ดีเซล โดยเฉพาะน้ำมันอากาศยาน หรือ Jet ที่เรากลับมาผลิตได้เกือบเท่าเดิม.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ