ลุยสร้างสตาร์ตอัพไทย 5 พันราย เดินหน้าเว้นภาษีกำไรจากการขายหุ้นฉลุย

Investment

Stocks

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

ลุยสร้างสตาร์ตอัพไทย 5 พันราย เดินหน้าเว้นภาษีกำไรจากการขายหุ้นฉลุย

Date Time: 24 ม.ค. 2565 06:20 น.

Summary

  • สภาดิจิทัล นักลงทุน สตาร์ตอัพไทยลิงโลด คิกออฟยกเว้นภาษีกำไรจากการ ขายหุ้น หรือ Capital Gains Tax สำหรับการลงทุนในสตาร์ตอัพไทย คาดบังคับใช้ภายในไตรมาสแรก มั่นใจสร้างสตาร์ตอัพไทยใหม่ถึง 5,000

Latest

AOT จ่อคืนเงิน 193 ล้านบาท ให้ คิง เพาเวอร์ฯ หลังเรียกคืนพื้นที่ขยายอาคารฯ รับนักท่องเที่ยวเพิ่ม

สภาดิจิทัล นักลงทุน สตาร์ตอัพไทยลิงโลด คิกออฟยกเว้นภาษีกำไรจากการ ขายหุ้น หรือ Capital Gains Tax สำหรับการลงทุนในสตาร์ตอัพไทย คาดบังคับใช้ภายในไตรมาสแรก มั่นใจสร้างสตาร์ตอัพไทยใหม่ถึง 5,000 รายภายในปีนี้

นายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานสภาดิจิทัล เพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า หลังจากที่พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้อนุมัติตามข้อเสนอของสภาดิจิทัลฯ เมื่อปลายปี 2564 ที่ผ่านมา ในการสนับสนุนและเสริมศักยภาพให้กับผู้ประกอบการสตาร์ตอัพไทยให้สามารถแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้านได้ ด้วยการยกเว้นการเก็บภาษีกำไรจากการขายหุ้นหรือ Capital Gains Tax สำหรับการลงทุนในสตาร์ตอัพไทยนั้น ล่าสุด คาดว่าจะสามารถประกาศใช้พระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ฎ.) ยกเว้น ภาษี Capital Gains Tax นี้ ได้ในไตรมาสแรกปีนี้

นายศุภชัย กล่าวว่า ได้รายงานความคืบหน้าในการออกกฎหมายดังกล่าวต่อที่ประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบศ.)แล้ว หลังร่วมกับกรมสรรพากร และหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง จัดทำร่าง พ.ร.ฎ.ยกเว้น ภาษี Capital Gains Tax สำหรับการลงทุนในสตาร์ตอัพไทย โดยปัจจุบันกรม สรรพากรกำลังเสนอร่าง พ.ร.ฎ.ตามขั้นตอนของกฎหมายต่อไป โดยเชื่อมั่นว่ามาตรการยกเว้นภาษี Capital Gains Tax จะสร้างสตาร์ตอัพไทยรายใหม่เป็นจำนวนถึง 5,000 ราย ในปี 2565 ถือเป็นส่วนสำคัญในการช่วยพลิกฟื้นเศรษฐกิจไทยที่เกิดขึ้นได้จากความร่วมมือของทุกภาคส่วน

“จากนี้ไปคือการเร่งพัฒนากำลังคนดิจิทัลให้เทียบเท่าระดับสากลตั้ง เป้าหมายพัฒนาทักษะดิจิทัลในกลุ่มทักษะขั้นสูง 3.5 ล้านคน ภายในปี 2570 โดยจะมีการสร้างมาตรฐานและใบรับรองหลักสูตร รวมทั้งการดึงผู้เชี่ยวชาญทักษะสูงจากต่างประเทศเข้ามาในไทย เพื่อกระตุ้นการ พัฒนาและเพิ่มจำนวนแรงงานดิจิทัลขั้นสูงในอนาคต”

นายศุภชัย กล่าวอีกว่า มาตรการภาษีที่ช่วยสนับสนุนสตาร์ตอัพไทยในครั้งนี้ ถือเป็นความสำเร็จจากความร่วมมือที่ดีในการทำงานร่วมกันทั้งหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง, ภาคเอกชน พร้อมทั้งกลุ่มนักลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ เป็นก้าวแรกที่สำคัญในการดึงดูดการลงทุน สร้างมูลค่าเพิ่มให้เศรษฐกิจในประเทศไทย โดยนอกเหนือจากภาพการลงทุนแล้ว สภาดิจิทัลฯยังให้ความสำคัญ เรื่องการพัฒนาระบบนิเวศ หรือ Ecosystem ให้แข็งแกร่ง พัฒนากำลังคนดิจิทัล การพัฒนาแพลตฟอร์มและคอนเทนต์ที่ได้รับการรับรอง และจะเดินหน้าส่งเสริมการลงทุนสำหรับธุรกิจด้านเทคโนโลยีและสตาร์ตอัพในไทยต่อเนื่องต่อไป

นายศรัณย์ สุตันติวรคุณ นายกสมาคมผู้ประกอบธุรกิจเงินร่วมลงทุนไทย (Thai Venture Capital Association-TVCA) กล่าวว่า พ.ร.ฎ.การยกเว้นภาษี Capital Gains Tax ฉบับนี้ เป็นการสร้างสิทธิประโยชน์พื้นฐานที่จำเป็นต่อการส่งเสริมศักยภาพการลงทุนให้กับสตาร์ตอัพและบริษัทเทคโนโลยีไทยเป็นอย่างมาก ทั้งยังเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกับต่างประเทศ แม้อาจไม่ใช่ปัจจัยดึงดูดให้ต่างชาติย้ายฐานการลงทุนมาประเทศไทยในทันที แต่ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีเพื่อ ให้สตาร์ตอัพไทยเติบโตสู้กับประเทศอื่นได้ และจะทำให้สตาร์ตอัพไทยสามารถดึงบุคลากรที่มีศักยภาพจากทั่วโลกมาร่วมสร้างคุณค่าและมูลค่าให้กับธุรกิจเพิ่มขึ้นด้วย”

ขณะที่ นางณิชาภัทร อาร์ค Director & Thailand Coverage, Openspace Ventures ตัวแทนจากผู้ลงทุนทั้งในและต่างประเทศ กล่าวว่า การยกเว้นภาษี Capital Gains Tax จะช่วยดึงดูดเงินลงทุนเข้ามาในประเทศไทยมากขึ้น ซึ่งการตัดสินใจเลือกลงทุนในสตาร์ตอัพจะพิจารณาหลายปัจจัย ตั้งแต่แผนธุรกิจและศักยภาพของสตาร์ตอัพ ขนาดของตลาด (Market Size) การ คำนวณผลตอบแทนจากการลงทุน รวมถึงการพิจารณาเรื่องนโยบายภาษีของประเทศที่จะเข้าลงทุนด้วย ดังนั้นมองว่า เป็นเรื่องที่ดีในการทำงานแบบบูรณาการร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชนครั้งนี้ ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศมากที่สุด.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ