สรุปข่าวเครือ CP ปรับโครงสร้างกลุ่มค้าปลีกโอนกิจการโลตัส ให้ แม็คโคร ดูแล

Investment

Stocks

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

สรุปข่าวเครือ CP ปรับโครงสร้างกลุ่มค้าปลีกโอนกิจการโลตัส ให้ แม็คโคร ดูแล

Date Time: 1 ก.ย. 2564 15:59 น.

Video

ดร.พิพัฒน์ KKP กระเทาะโจทย์เศรษฐกิจไทย บุญเก่าเจอความเสี่ยง บุญใหม่มาไม่ทัน

Summary

  • สรุปข่าวธุรกิจในกลุ่มเครือ CP ปรับโครงสร้างกลุ่มค้าปลีกครั้งใหญ่โอนกิจการห้างโลตัส ให้ แม็คโคร ดูแล

สรุปข่าวธุรกิจในกลุ่มเครือ CP ปรับโครงสร้างกลุ่มค้าปลีกครั้งใหญ่โอนกิจการห้างโลตัส ให้ แม็คโคร ดูแล

เมื่อวันที่ 31 ส.ค. 64 ที่ผ่านมา ธุรกิจในเครือซีพี ได้แก่ 1. บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) หรือ CPALL 2. บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) หรือ Makro และ 3. บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ CPF ได้ทำรายงานตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่า จะมีธุรกรรมการรับโอนกิจการทั้งหมดระหว่าง Makro และบริษัท ซี.พี.รีเทล โฮลดิ้ง จำกัด หรือ CPRH (สามารถอ่านรายละเอียดทั้งหมดได้ที่นี่)

ทีมข่าวไทยรัฐออนไลน์ ขอสรุปให้เข้าใจง่ายๆ ดังนี้

- เครือ CP จะให้บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) หรือ Makro รับโอนกิจการ หรือที่เรียกว่า EBT จากบริษัท ซี.พี.รีเทล โฮลดิ้ง จำกัด หรือ CPRH โดยบริษัทดังกล่าวถือหุ้น 99% ในบริษัท ซี.พี. รีเทล ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด หรือ CPRD ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นทั้งหมดใน บริษัท เอก-ชัย ดีสทริบิวชั่น ซิสเทม จำกัด ผู้ประกอบธุรกิจค้าปลีกภายใต้ชื่อ โลตัส หรือ Lotus’s ในประเทศไทย และถือหุ้นทั้งหมดใน Lotus’s มาเลเซีย โดยการโอนกิจการครั้งนี้ คิดเป็นมูลค่า 2.18 แสนล้านบาท

- ปัจจุบันหุ้นแม็คโคร มีผู้ถือหุ้น 3 อันดับแรกดังนี้ 1. บริษัท สยามแม็คโคร โฮลดิ้ง (ประเทศไทย) จำกัด 2. บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) หรือ CPALL และ 3. กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นระยะยาว

- ส่วน ซี.พี.รีเทล โฮลดิ้ง จำกัด หรือ CPRH ที่ถือหุ้นโลตัส มีโครงสร้างผู้ถือหุ้นได้แก่ 1. CPALL 2. บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด หรือ CPH และ 3. บริษัท ซี.พี.เมอร์แชนไดซิ่ง จำกัด หรือ CPM โดยบริษัทดังกล่าวมี CPF เป็นผู้ถือหุ้นอยู่

- การรับโอนกิจการทั้งหมดนี้ Makro จะต้องเพิ่มทุน และ CPRH จะได้รับหุ้นสามัญเพิ่มทุนของ Makro จำนวนไม่เกิน 5,100 ล้านหุ้น ในราคาได้เสนอขาย 43.50 บาทต่อหุ้นเป็นค่าตอบแทน

- วันที่ 12 ต.ค. 64 นี้จะมีการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นของ Makro และ CPALL ถ้าหากผู้ถือหุ้นมีมติอนุมัติในโครงการทั้งหมด การโอนกิจการทั้งหมดจะสามารถดำเนินการต่อได้

- หากกระบวนการ EBT เสร็จสิ้นการถือหุ้นใน Makro จะมีดังนี้ 1. CPALL 65.97% 2. CPH 20.43% และ 3. CPM 10.21%

- หลังจากทํา EBT เสร็จและได้รับอนุมัติจากสำนักงาน ก.ล.ต. แล้ว MAKRO จะออกหุ้นสามัญเพิ่มทุนจํานวน 1,362 ล้านหุ้นเพื่อเสนอขายให้แก่ประชาชนทั่วไป หรือ PO

ทั้งนี้ ฝ่ายวิจัยของ บล.ไทยพาณิชย์ ได้สรุปการโอนย้ายกิจการของเครือ CP ได้น่าสนใจไว้ดังนี้  

ฝั่ง CPALL ให้เหตุผลการทำธุรกิจครั้งนี้ว่า ดีลนี้จะช่วยสนับสนุนให้ CPALL ก้าวสู่การเป็นผู้นำอุตสาหกรรมค้าปลีก ค้าส่งสินค้าอุปโภคบริโภคอันดับ 1 ในระดับภูมิภาคเอเชีย ไม่นับรวมญี่ปุ่น ทั้งในแบบ B2B และ B2C และเปิดโอกาสให้บริษัทรับรู้ประโยชน์ที่คาดว่า จะเพิ่มจากการควบรวมกิจการ

ประการที่ 2. ดีลนี้จะช่วยให้เพิ่มสภาพคล่องของเงินลงทุนของบริษัทจากเงินลงทุนในหุ้นของ CPRD (ผ่านการถือหุ้น CPRH) ที่ไม่มีสภาพคล่อง และไม่ได้เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ มาเป็นเงินลงทุนในหุ้นของ Makro ที่อยู่ในตลาดหุ้น และมีสภาพคล่องในการซื้อขาย

ประการที่ 3. บริษัทจะนำเงินที่ได้จากการเสนอขายหุ้นของ Makro มาเสริมความยืดหยุ่นในการลดภาระหนี้ โดยสามารถนำเม็ดเงินไปใช้ในการชำระคืนเงินกู้ ขยายธุรกิจ และใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน

ฝั่งของ CPF ให้เหตุผลการทำธุรกิจครั้งนี้ว่า ดีลนี้จะทำให้ CPF ได้รับประโยชน์จาการลงทุนของ Makro

ประการที่ 2. ดีลนี้จะช่วยเพิ่มสภาพคล่องของเงินลงทุนของบริษัทจากเงินลงทุนในหุ้น CPRD ที่ไม่มีสภาพคล่อง และไม่ได้เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ มาเป็นเงินลงทุนในหุ้นของ Makro ที่อยู่ในตลาดหุ้น และมีสภาพคล่องในการซื้อขาย โดยจะสร้าง upside ผ่านการลงทุนใน CPALL

ประกาศที่ 3. แนวโน้ม upside ของผลการดําเนินงานจะเกิดจากการเติบโตของธุรกิจอาหารสดใน Makro และร้านโลตัส

ประการที่ 4. บริษัทจะนำเงินที่ได้จากการเสนอขายหุ้นของ Makro มาใช้ชำระคืนเงินกู้ขยายธุรกิจ และใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน ซึ่งจะช่วยเพิ่มความแข็งแกร่งทางการเงินให้กับบริษัท

ฝั่งของ MAKRO ให้เหตุผลในการทำธุรกรรมครั้งนี้ว่า ประการแรก MAKRO จะกลายเป็นผู้นำแพลตฟอร์ม O2O ทั้งในแบบ B2B และ B2C ในธุรกิจค้าปลีก ค้าส่ง ขนาดและแพลตฟอร์มใหญ่ขึ้น แบรนด์ร้านค้า และลูกค้าที่หลากหลาย และจุดเด่นด้านสินค้าอาหารสด จะช่วยสนับสนุนการขยายธุรกิจในตลาดภูมิภาคที่เติบโตอย่างรวดเร็ว

ประการที่ 2. MAKRO สามารถใช้ความเชี่ยวชาญของ MAKRO ในการบริหารอสังหาริมทรัพย์ของบริษัท เช่น การปรับองค์ประกอบร้านค้าปลีกในศูนย์การค้า และเพิ่มมูลค่าในอนาคต

ประการที่ 3. MAKRO สามารถประสานการดำเนินงานและศักยภาพทางธุรกิจกับบริษัทต่างๆ ในกลุ่ม CPG เพื่อสร้างมูลค่าทางธุรกิจในระยะยาว ด้วยการผลักดันส่งเสริมอุปสงค์ของลูกค้า และต้นทุนโดยรวม เช่น ใช้ประโยชน์จากเครือข่ายค้าปลีกชั้นของ CPALL เพื่อขับเคลื่อนการปรับใช้กลยุทธ์ธุรกิจ O2O ของบริษัท และใช้ประโยชน์จากระบบงานห่วงโซ่คุณค่าอาหารที่ครบวงจรของ CPF ในการขับเคลื่อนธุรกิจสินค้าอาหารสด และใช้ขีดความสามารถด้านโลจิสติกส์ของกลุ่ม CPG เพื่อสนับสนุนธุรกิจ O2O ของบริษัท โดย MAKRO เล็งเห็นโอกาสสำหรับการประหยัดต้นทุน และค่าใช้จ่ายในระยะเวลาอันใกล้ โดยคาดการณ์ว่าจะสามารถประหยัดได้ถึง 2.7 พันล้านบาทในปี 2566

ประการที่ 4. ดีลนี้ (Free Float เพิ่มขึ้น) จะช่วยเพิ่มสภาพคล่องในการซื้อขาย และการเข้าถึงตลาดทุน.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ