BGRIM ติดตั้งโซลาร์เซลล์ลอยน้ำที่เขื่อนสิรินธรเสร็จสิ้น คาดจ่ายไฟ ต.ค.64

Investment

Stocks

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

BGRIM ติดตั้งโซลาร์เซลล์ลอยน้ำที่เขื่อนสิรินธรเสร็จสิ้น คาดจ่ายไฟ ต.ค.64

Date Time: 8 ส.ค. 2564 14:15 น.

Video

วิธีเอาตัวรอดของ Wikipedia ไม่พึ่งโฆษณา ไม่มีค่าสมาชิก แต่อยู่มาได้ 23 ปี | Digital Frontiers

Summary

  • บี.กริม เพาเวอร์ ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์โครงการ โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทุ่นลอยน้ำเขื่อนสิรินธรเสร็จสิ้น กฟผ. ประกาศความพร้อมจ่ายไฟเข้าระบบเชิงพาณิชย์ ต.ค. 64 นี้

บี.กริม เพาเวอร์ ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์โครงการ โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทุ่นลอยน้ำเขื่อนสิรินธรเสร็จสิ้น กฟผ. ประกาศความพร้อมจ่ายไฟเข้าระบบเชิงพาณิชย์ ต.ค. 64 นี้

ดร.ฮาราลด์ ลิงค์ ประธาน บี.กริม และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ BGRIM กล่าวว่า สำหรับโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทุ่นลอยน้ำ เขื่อนสิรินธร ที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือ กฟผ. ได้อนุมัติให้ กิจการค้าร่วม บี.กริม เพาเวอร์-เอ็นเนอร์จี้ ไชน่า เป็นผู้ชนะการประกวดราคา และเป็นผู้รับผิดชอบส่วนงานการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ให้แก่ กฟผ. ซึ่งมีการลงนามไปเมื่อวันที่ 20 ม.ค. 64 ที่ผ่านมานั้น

ล่าสุด บริษัทได้มีการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์กับทุ่นลอยน้ำในเขื่อนสิรินธรครบทั้งหมด 7 ชุด พร้อมติดตั้งทุ่นคอนกรีตของระบบยึดโยงใต้น้ำและก่อสร้างอาคารสวิตช์เกียร์เสร็จเรียบร้อยแล้ว โดย กฟผ.ได้เริ่มทดสอบการขนานเครื่อง (First Synchronization) ชุดแรกเมื่อวันที่ 30 ก.ค. 64 และจะทำการทดสอบอย่างต่อเนื่อง โดยคาดว่าจะสามารถจ่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ได้ภายในเดือน ต.ค.64 นี้

สำหรับโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทุ่นลอยน้ำ เขื่อนสิรินธร ถือเป็นโครงการแบบไฮบริดที่ใหญ่ที่สุดในโลกในขณะนี้ มีกำลังการผลิต 45 เมกะวัตต์ มูลค่าโครงการกว่า 842 ล้านบาท ใช้แผงโซลาร์เซลล์ชนิดดับเบิลกลาสที่เหมาะสมกับการวางแผงโซลาร์เซลล์ใกล้ผิวน้ำที่มีความชื้นสูง และมีการเคลื่อนไหวของผิวน้ำอยู่ตลอดเวลา และใช้ทุ่นลอยน้ำชนิด HDPE (High Density Polyethylene) ซึ่งไม่เป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำและสิ่งแวดล้อม

โดยติดตั้งอุปกรณ์ทั้งหมดบนพื้นที่ผิวน้ำกว่า 450 ไร่ ใช้ระบบส่งไฟฟ้าเดิมร่วมกับเขื่อนของ กฟผ. เช่น หม้อแปลง สายส่ง สถานีไฟฟ้าแรงสูง ทำให้ต้นทุนค่าไฟฟ้าในอนาคตมีราคาถูกลง โดยสามารถผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดร่วมกันระหว่างพลังงานแสงอาทิตย์และพลังน้ำ เพื่อเสริมความมั่นคงพลังงานสะอาดของประเทศไทย โดยสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (CO2) ได้ประมาณ 47,000 ตันต่อปี

ดร.ฮาราลด์ ลิงค์ กล่าวว่า การพัฒนาและสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทุ่นลอยน้ำให้กับ กฟผ.ในครั้งนี้ ถือเป็นก้าวสำคัญในการพัฒนาโครงการพลังงานทดแทนของประเทศไทย รวมถึงเป็นโอกาสในการพัฒนาและดำเนินการโครงการโซลาร์ทุ่นลอยน้ำในโครงการอื่นๆ ต่อไปในอนาคต

ด้วยความพร้อมและศักยภาพของบริษัทภายใต้ความร่วมมือกับพันธมิตรระดับโลกเอ็นเนอร์ยี่ ไชน่า ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจด้านพลังงานที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของสาธารณรัฐประชาชนจีน ที่มีศักยภาพและความได้เปรียบสูงในการบริหารจัดการต้นทุน การจัดหาวัสดุอุปกรณ์และการพัฒนาเทคนิควิศวกรรมที่มีคุณภาพ มีประสิทธิภาพเพื่อรองรับการพัฒนาและก่อสร้างโครงการโรงไฟฟ้าอันเป็นที่ยอมรับในระดับสากล.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ