เอสซีจี แพคเกจจิ้ง โชว์รายได้ไตรมาส 1/64 อยู่ที่ 27,253 ล้านบาท

Investment

Stocks

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

เอสซีจี แพคเกจจิ้ง โชว์รายได้ไตรมาส 1/64 อยู่ที่ 27,253 ล้านบาท

Date Time: 28 เม.ย. 2564 11:48 น.

Video

เศรษฐกิจไทย เสี่ยงวิกฤติหนักแค่ไหน เมื่อต้องเปลี่ยนนายกฯ | Money Issue

Summary

  • SCGP โชว์รายได้ไตรมาส 1/64 อยู่ที่ 27,253 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 12% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เร่งพัฒนาโซลูชันบรรจุภัณฑ์สำหรับสินค้าอุปโภคบริโภครองรับดีมานด์ในอาเซียน

Latest


SCGP โชว์รายได้ไตรมาส 1/64 อยู่ที่ 27,253 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 12% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เร่งพัฒนาโซลูชันบรรจุภัณฑ์สำหรับสินค้าอุปโภคบริโภครองรับดีมานด์ในอาเซียน

วิชาญ จิตร์ภักดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ SCGP กล่าวว่า ผลประกอบการไตรมาสที่ 1/64 บริษัทมีรายได้จากการขายทั้งสิ้น 27,253 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 12% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และมีกำไรสำหรับงวดเท่ากับ 2,135 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 23% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

ขณะที่ EBITDA (กำไรก่อนหักต้นทุนทางการเงิน ภาษีเงินได้ ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย ไม่รวมเงินปันผลรับจากบริษัทร่วม และรวมกำไรขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนของเงินกู้ยืมตั้งแต่ไตรมาสที่ 1 ของปี 2562) อยู่ที่ 5,267 ล้านบาท ถือว่าอยู่ในระดับที่แข็งแกร่ง โดยเพิ่มขึ้น 42% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

ทั้งนี้ รายได้จากการขายที่เพิ่มขึ้นมาจากการเติบโตของความต้องการซื้อสินค้าของผู้บริโภคในอาเซียน ราคากระดาษบรรจุภัณฑ์ในภูมิภาคปรับตัวสูงขึ้น ขณะที่ SCGP มีการวางโมเดลธุรกิจมุ่งขยายธุรกิจบรรจุภัณฑ์ปลายน้ำ (Downstream) ในภูมิภาคอาเซียนให้เติบโตยิ่งขึ้น การกระจายฐานลูกค้าในหลากหลายอุตสาหกรรม โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคที่มีความเกี่ยวข้องกับไลฟ์สไตล์ อาทิ กลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม สินค้าเพื่อสุขอนามัย ฯลฯ ที่ยังมีการเติบโตได้ดี เนื่องจากเป็นสินค้าที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน

โดยบรรจุภัณฑ์สำหรับสินค้าอุปโภคบริโภค ที่มีสัดส่วนประมาณ 70% ของรายได้จากสายธุรกิจ บรรจุภัณฑ์แบบครบวงจรจากการขายในไตรมาสแรกที่ผ่านมา ส่วนบรรจุภัณฑ์สำหรับอีคอมเมิร์ซยังมีการเติบโตได้ดีในช่วงที่ผ่านมา เนื่องจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภค และได้รับผลเชิงบวกในช่วงที่มีสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19

ขณะเดียวกัน SCGP ได้รุกขยายการลงทุนอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา ทั้งการขยายกำลังการผลิตและควบรวมกิจการ (Merger & Partnership หรือ M&P) โดยนับจากปลายปี 2563 ถึงปัจจุบัน ได้ลงทุนขยายธุรกิจบรรจุภัณฑ์แบบบครบวงจร ได้แก่

1.การเปิดดำเนินการโรงงานผลิตกระดาษบรรจุภัณฑ์กำลังผลิตส่วนเพิ่ม 400,000 ตันต่อปี ของ Fajar ในประเทศอินโดนีเซีย

2. การขยายกำลังการผลิตบรรจุภัณฑ์จากวัสดุสมรรถนะสูงและพอลิเมอร์อีกกว่า 347 ล้านชิ้นต่อปี ในบริษัทวีซี่ แพ็คเกจิ้ง (ประเทศไทย) จำกัด

3. การเข้าลงทุนใน Bien Hoa Packaging Joint Stock Company (SOVI) ประเทศเวียดนาม เพื่อขยายฐานลูกค้าในอุตสาหกรรมอาหาร เครื่องดื่ม สินค้าอุปโภคบริโภค 

4. การเข้าลงทุนใน Go-Pak UK Limited เพื่อขยายฐานตลาดบรรจุภัณฑ์อาหารในภูมิภาคต่างๆ รองรับเมกะเทรนด์

นอกจากนี้ บริษัทมุ่งเน้นการผนึกกำลัง (Synergy) ระหว่างฐานการผลิตต่างๆ เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ในการพัฒนาสินค้า การสร้างสรรค์นวัตกรรม การเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต การบริหารจัดการต้นทุนด้านพลังงาน รวมถึงบริหารจัดการ ความเสี่ยงด้านต้นทุนวัตถุดิบผ่านศูนย์จัดการวัสดุรีไซเคิล (Recycling Station) และพันธมิตรต่างๆ อีกทั้งสามารถบริหารจัดการภาวะขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์จัดส่งสินค้าทางเรือในช่วงที่ผ่านมาได้

ขณะเดียวกัน บริษัทอยู่ระหว่างการขยายธุรกิจเพื่อสร้างการเติบโตอีกหลายโครงการ ประกอบด้วย การขยายกำลังการผลิตกระดาษบรรจุภัณฑ์ในฟิลิปปินส์อีก 220,000 ตันต่อปี และการขยายกำลังการผลิตบรรจุภัณฑ์พอลิเมอร์แบบอ่อนตัวในประเทศไทยอีก 53 ล้านตารางเมตรต่อปี คาดว่าจะแล้วเสร็จในไตรมาสที่ 4 ของปี 2564 รวมทั้งการลงนามในสัญญาซื้อหุ้นเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาเพื่อเข้าถือหุ้นสัดส่วน 70% ใน Duy Tan Plastics Manufacturing Corporation (Duy Tan) ประเทศเวียดนาม เพื่อขยายธุรกิจบรรจุภัณฑ์พลาสติกแบบคงรูปในเวียดนาม คาดว่าจะปิดดีลแล้วเสร็จในช่วงกลางปี 2564


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ