คนไทยอยากสูงวัยแบบคุณภาพ แต่ทำไมถึงลงทุนเพื่อการเกษียณน้อยมาก

Investment

Stocks

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

คนไทยอยากสูงวัยแบบคุณภาพ แต่ทำไมถึงลงทุนเพื่อการเกษียณน้อยมาก

Date Time: 3 พ.ย. 2563 07:30 น.

Video

โมเดลธุรกิจ Onlyfans ทำไมถึงมีแต่ได้กับได้ ? บริษัทมั่งคั่ง คนทำก็รวย | Digital Frontiers

Summary

  • แรงจูงใจภาษีสำคัญมากสำหรับการตัดสินใจลงทุนของผู้ที่มีรายได้ปานกลาง โดยการเปลี่ยนแปลงแรงจูงใจภาษีนี้ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อการตัดสินใจลงทุนระยะยาวของคนไทย

Latest


  • ตั้งแต่ปี 2007-2018 พบผู้เสียภาษีมีการใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีเพิ่มขึ้น 11%
  • ผู้มีรายได้ปานกลางและรายได้น้อย มีการลงทุนระยะยาวน้อยมาก 
  • กลุ่มรายได้ปานกลาง 20-30% ซื้อประกันชีวิตเพื่อลดหย่อนภาษีเพียงอย่างเดียว

เศรษฐินีศรีราชา มีโอกาสได้อ่านข้อมูลจากสถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์ หรือ PIER Research ที่ศึกษาเรื่อง "ภาษีกับการลงทุนระยะยาวของคนไทย" บอกได้คำเดียวว่า เป็นข้อมูลที่น่าสนใจจริงๆ เพราะประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มรูปแบบ

ทุกวันนี้ก็ถามตัวเองทุกวัน ถ้าเกษียณแล้ว ไม่ได้ทำงานแล้ว จะเอาเงินที่ไหนมาดูแลตัวเอง โดยเฉพาะสาวโสดแบบเศรษฐินีศรีราชา ที่พึ่งสุดท้ายอย่างบ้านพักคนชราก็ยังต้องใช้เงิน ฉะนั้นลองมาอ่านบทความนี้ก็พอจะกระตุ้นให้อยากลงทุนแบบยาวๆ ดูบ้าง ได้ทั้งลดหย่อนภาษี และมีเงินเก็บไว้ใช้ช่วงสุดท้ายของชีวิต 

ทั้งนี้ ผศ.ดร.อธิภัทร มุทิตาเจริญ จากคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ คุณทรงวุฒิ บุรงค์ จากกรมสรรพากร วิเคราะห์ข้อมูลภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ฉายภาพการออมและการลงทุนของคนไทยผ่านระบบภาษี เปรียบเทียบนโยบายภาษีในด้านการออมเพื่อการเกษียณของไทยและต่างประเทศ

โดยมีข้อค้นพบสำคัญว่า ภาพรวมผู้เสียภาษีมีการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีเพื่อการออม และการลงทุนค่อนข้างมาก และเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา

ทั้งนี้ สัดส่วนผู้เสียภาษีมีการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีเพิ่มจาก 52% ในปี 2007 เป็น 63% ในปี 2018 และอัตราการออมผ่านระบบภาษีอยู่ที่ประมาณ 10% ของรายได้ในปี 2018 เพิ่มขึ้น 32% ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา

ประเด็นที่น่ากังวลคือ คนไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้มีรายได้ปานกลางและรายได้น้อย มีการลงทุนระยะยาวน้อยมาก โดยสัดส่วนของผู้มีการลงทุนระยะยาวผ่านระบบภาษี เช่น LTF RMF และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ อยู่ที่ประมาณ 20%-30% ของผู้เสียภาษีรายได้น้อยและปานกลางเท่านั้น สัดส่วนดังกล่าวต่างจากของผู้มีรายได้สูงราว 70% อย่างชัดเจน

มีข้อสังเกตที่น่าสนใจ คือ ในกลุ่มรายได้ปานกลาง ประมาณ 20-30% ของผู้เสียภาษีเลือกที่จะมีการลดหย่อนภาษีเพื่อการประกันชีวิตเพียงอย่างเดียว ซึ่งสะท้อนว่าคนรายได้ปานกลางมีการออมเงิน แต่อาจจะให้ความสำคัญต่อการลงทุนเพื่อการเกษียณไม่มากนัก

อย่างไรก็ตาม แรงจูงใจภาษีสำคัญมากสำหรับการตัดสินใจลงทุนของผู้ที่มีรายได้ปานกลาง โดยการเปลี่ยนแปลงแรงจูงใจภาษีนี้ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อการตัดสินใจลงทุนระยะยาวของคนไทย แต่ความสำคัญสำหรับผู้มีรายได้ปานกลางมีขนาดใหญ่กว่าของผู้ที่มีรายได้สูงอย่างชัดเจน

แรงจูงใจภาษีมีอิทธิพลสูงต่อการตัดสินใจลงทุนในกลุ่มผู้มีความรู้ทางการเงินต่ำ ทั้งในมิติของความซับซ้อนทางการเงิน และวินัยทางการเงิน ผลการศึกษานี้ชี้ถึงศักยภาพของเครื่องมือภาษีในการกระตุ้นการตัดสินใจลงทุนของกลุ่มคนที่มีแนวโน้มที่จะเป็นกลุ่มเสี่ยงในแง่ของการเตรียมความพร้อมทางการเงินหลังเกษียณ

สำหรับแนวทางพัฒนาคือ การส่งเสริมความรู้ทางการเงินต้องครอบคลุมถึงความเข้าใจทางเลือกการออมและการลงทุนในสินทรัพย์แต่ละประเภท ควรจะทำให้คนไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มรายได้น้อยและรายได้ปานกลาง สามารถเปรียบเทียบผลตอบแทนและความเสี่ยงจากการออมและการลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ ที่จะสอดคล้องต่อเป้าหมายทางการเงินหลังเกษียณของตนเองได้

รวมถึงสนับสนุนนโยบายการปรับปรุงสิทธิประโยชน์ภาษีเพื่อส่งเสริมการลงทุนระยะยาว ที่รัฐจำเป็นต้องติดตามพฤติกรรมการลงทุนและประสิทธิผลของมาตรการต่อไป โดยเฉพาะเรื่องแรงจูงใจภาษีในกลุ่มคนรายได้ปานกลาง ที่ส่งผลให้มีการสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงนโยบายในปี 2563

ยกตัวอย่างเช่น การขยายโอกาสในการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษี สำหรับคนรายได้ปานกลางและรายได้น้อย จำกัดวงเงินการใช้สิทธิประโยชน์สำหรับคนรายได้สูง และผ่อนคลายเงื่อนไขเกณฑ์ลงทุนขั้นต่ำสำหรับ RMF เพื่อให้นโยบายภาษีตอบโจทย์ทั้งการเข้าสู่สังคมสูงวัยและความยั่งยืนทางการคลัง.


ผู้เขียน : เศรษฐินีศรีราชา
กราฟิก : Supassara Traiyansuwan


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ