ประเมินทิศทาง "การเมืองไทยกับการชุมนุม" แล้วภาวะหุ้นไทยจะไปทางไหน

Investment

Stocks

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

ประเมินทิศทาง "การเมืองไทยกับการชุมนุม" แล้วภาวะหุ้นไทยจะไปทางไหน

Date Time: 20 ต.ค. 2563 07:00 น.

Video

ดร.พิพัฒน์ KKP กระเทาะโจทย์เศรษฐกิจไทย บุญเก่าเจอความเสี่ยง บุญใหม่มาไม่ทัน

Summary

  • ตลาดหุ้นมีความอ่อนแออยู่แล้วจากปัจจัยต่างๆ โดยเฉพาะการระบาดของโควิด-19 และเศรษฐกิจกำลังอยู่ในภาวะชะลอตัว
  • การชุมนุมทางการเมืองและพัฒนาการทางเศรษฐกิจไทย
  • 3 ข้อแตกต่างของการชุมนุมของนักศึกษาปี 2563 และ 4 ครั้งในอดีต
  • หุ้นที่กลับตัวเร็ว เมื่อการชุมนุมเริ่มบรรลุผล หรือจบลง มักเป็นหุ้นใหญ่ของตลาด

ช่วงนี้มีเหตุการณ์สำคัญๆ ที่ส่งผลกระทบต่อภาพรวมเศรษฐกิจพอสมควร ทั้งปัจจัยภายในประเทศ และปัจจัยภายนอกประเทศ ซึ่งไม่ใช่แค่ 2 ประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐฯ และจีนเท่านั้น แต่ยังมีการระบาดของโควิด-19 ที่ถือเป็นตัวแปรสำคัญในปี 2020 นี้ และทุกคนก็อยากเอาชนะ และหยุดการแพร่ระบาดของไวรัสดังกล่าว เพื่อฟื้นฟูสภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอยมานาน

สำหรับปัจจัยภายในประเทศ ที่ไทยกำลังเผชิญอยู่นี้ ไม่ใช่แค่ปัญหาการระบาดของโควิด-19 หรือการชะลอตัวทางเศรษฐกิจเท่านั้น แต่ปัญหาที่รัฐบาลกำลังเผชิญอยู่นั่นก็คือ การชุมนุมของประชาชนที่ต้องการให้นายกรัฐมนตรี ลาออกจากการบริหารงาน และข้อเรียกต่างๆ อีกหลายๆ ข้อ

โดยเฉพาะนักลงทุนที่ต้องการความเชื่อมั่น และอยากเห็นว่าทิศทางของตลาดหุ้นไทยจะเป็นอย่างไร โดยนักวิเคราะห์จาก บล.เคทีบี (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ KTBST อธิบายให้ "เศรษฐินีศรีราชา" ฟังว่า โดยปกติแล้วการลงทุนภาคเอกชน หรือ Private Investment และภาคการส่งออก หรือ Export มักจะเป็นตัวแปรหลักท่ีสำคัญสำหรับกลไกการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ


แต่ปัจจุบันนั้นพบว่า ภาคเอกชนในครั้งนี้ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ส่งผลให้ภาคเอกชนไม่เกิดการผลิต และการลงทุนตลอด 2 ไตรมาสที่ผ่านมา ในขณะที่การส่งออกของสินค้า และบริการนั้นก็เกิดการหดตัวอย่างรุนแรง ส่งผลให้กลไกการฟื้นตัวของเศรษฐกิจนั้นไม่ทำงานในช่วงที่ผ่านมา ประกอบกับความถดถอย เสถียรภาพทางการเมืองของประเทศยิ่งทำให้การผ่านร่างงบประมาณใหม่ ตลอดจนการกระตุ้นเศรษฐกิจหลังจากน้ีนั้นยังดูไร้ทางออก

โดย KTBST คาดว่า การเติบโตของ GDP ในปี 2020 และ 2021 จะอยู่ที่ -7% และที่ 4.89% ตามลำดับ โดยตัวแปรหลักของการฟื้นตัวจะยังคงเป็นการบริโภคในประเทศ ส่วนแนวโน้มการท่องเที่ยวที่คาดว่าจะสามารถฟื้นตัวได้ในช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2021 เป็นต้นไป เช่นเดียวกับการแพร่ระบาดของโรคเมอร์ส (MERS) และโรคซาร์ส (SARS) ในอดีต ซึ่งนักท่องเที่ยวมักจะเริ่มฟื้นตัวกลับมาในระยะ 1 ปี ให้หลังที่มีการระบาดคร้ังแรกไปแล้ว และคนจะลดความกังวลลงในระยะ 3 ปี หลังจากการแพร่ระบาดครั้งแรก

ขณะเดียวกัน KTBST ตั้งข้อสังเกตจากการชุมนุมทางการเมืองในอดีต 4 คร้ัง ดังนี้

- แบ่งระดับการชุมนุมที่มีผลต่อตลาดหุ้นออกเป็น 6 ช่วง คือ ก่อตัว กดดัน บรรลุผล จุดเปลี่ยน ชื่นชม และผิดหวัง โดยแต่ละช่วงถูกอธิบายด้วยการขึ้น-ลงของ SET Index

- SET Index มักจะผ่านจุดต่ำสุดไปก่อนที่การชุมนุมจะสิ้นสุดลง น่าจะอธิบายได้ว่า เมื่อการชุมนุมผ่านไประยะหนึ่งแล้ว ข้อเรียกร้องของผู้ชุมนุมจะเริ่มมีโอกาสสำเร็จมากขึ้น นักลงทุนในตลาดหุ้นจะมองเห็นก่อน และกลับเข้ามาซื้อหุ้นท่ีราคาปรับตัวลงมามาก (การชุมนุมการเมือง มักจะมีผลต่อกำไรของหุ้นในตลาดค่อนข้างน้อย)

- เมื่อมาถึงจุดเปลี่ยน หรือจุดสิ้นสุดของการชุมนุม เช่น รัฐประหาร ในปี 2557 หุ้นมักจะลงก่อน และปรับตัวขึ้นได้ในอีกไม่ก่ีวันถัดมา

- หุ้นที่กลับตัวเร็ว เมื่อการชุมนุมเร่ิมบรรลุผล หรือจบลง มักเป็นหุ้นใหญ่ของตลาด โดยในอดีต หุ้นกลุ่มหลักๆ จะมีไม่กี่กลุ่ม อาทิ ธนาคาร น้ำมัน ปิโตรเคมี และท่ีอยู่อาศัย

- ตลาดมักจะฟื้นตัวแรงและต่อเนื่องมากที่สุด หลังจากการยุติการชุมนุมไปแล้ว อาจหมายถึงว่าช่วงแรกของการเข้ามาบริหารประเทศของรัฐบาลชุดใหม่เป็นบวกก็ว่าได้



อย่างไรก็ตาม KTBST มองเห็นถึงความแตกต่างของการชุมนุมของนักศึกษาปี 2563 และ 4 ครั้งในอดีต ดังนี้

1. เป้าหมายของการชุมนุมมีความแตกต่าง ไม่ได้เจาะจงที่ตัวรัฐบาลเพียงเรื่องเดียว แต่มีเป้าหมายอื่นๆ ด้วย

2. ตลาดหุ้นมีความอ่อนแออยู่แล้วจากปัจจัยต่างๆ โดยเฉพาะการระบาดของโควิด-19 และเศรษฐกิจกำลังอยู่ในภาวะชะลอตัว แต่เมื่อเทียบกับ 4 ครั้งก่อนหน้านี้เศรษฐกิจไทยมีความแข็งแรง (มีภูมิต้านทาน) ผลประกอบการจึงไม่ค่อยเห็นว่า ในอดีตกำไรของบริษัทในตลาดปรับตัวลดลง ยกเว้นหุ้นที่ถูกกระทบโดยตรงจากการชุมนุมหรือสถานการณ์นั้นๆ

3. ธุรกิจในหลายๆ Sector โดยเฉพาะหุ้นขนาดใหญ่ในตลาดได้รับผลกระทบจาก Disruption, Trade War และ Covid-19 เช่น หุ้นธนาคาร หุ้นที่อิงรายได้จากการท่องเที่ยว หุ้นน้ำมัน ปิโตรเคมี ซึ่งผลการดำเนินงานของหุ้นเหล่านี้ค่อนข้างช้าจึงกลายเป็นเงื่อนไขที่ทำให้นักลงทุนมองหาหุ้นกลุ่มอื่นๆ หรือตัวอื่นๆ ที่ดูแข็งแรงกว่าสะท้อนไปที่ SET Index หลังการชุมนุมจบลงจะไม่ได้ขึ้นรุนแรงเหมือนเช่นที่เกิดขึ้นในอดีต

นอกจากนี้ KTBST ยังได้แบ่งระดับการชุมนุมท่ีมีผลต่อตลาดหุ้น หรือ SET INDEX ออกเป็น 6 ช่วงโดยแต่ละช่วงถูกอธิบายด้วยการขึ้น-ลงของ SET Index ดังนี้

ก่อตัว : กลุ่มผู้ชุมนุมเร่ิมก่อตัว และสร้างแนวร่วมก่อนที่จะมีการเคลื่อนไหวไปตามจุดต่างๆ

กดดัน : เมื่อผู้ชุมนุมมีจำนวนมากข้ึน จะเริ่มสร้างแรงกดดันให้รัฐบาล เช่น ปิดสถานที่ หรือสร้างสถานการณ์

บรรลุผล : การชุมนุมผ่านไประยะหนึ่ง อาจเป็นไปได้ที่นักลงทุนเริ่มเห็นว่า มีโอกาสที่จะยุติการชุมนุมในอีกไม่นาน จึงทยอยเข้ามาซื้อหุ้นกลับเข้าพอร์ต

จุดเปลี่ยน : มักจะเป็นจุดที่ทำให้การชุมนุมยุติลงอย่าง เช่น การชุมนุมของพันธมิตร (2006) และ กปปส.(2013) นั้นจบลงด้วยการทำรัฐประหาร

ชื่นชม : เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลง หรือยุติการชุมนุม นักลงทุนอาจมองว่าน่าจะเป็นบวกหลังจากนี้ทำให้ SET Index ปรับตัวขึ้นได้ค่อนข้างมาก

ผิดหวัง : ไม่มีเหตุผลที่ชัดเจนถึงการขาย แต่อาจเป็นไปได้ที่เกิดการขายทำกำไรหลังราคาหุ้นขึ้นมามาก

ทั้งนี้ KTBST ได้จัดเรียงอันดับ Sector ที่ราคาลงมากท่ีสุดตั้งแต่ช่วงที่มีการชุมนุมจนถึงจุดต่ำสุดของ SET Index (ช่วงก่อตัว-ช่วงกดดัน) และวัดว่า Sector เหล่านี้ มีการฟื้นตัวในแต่ละช่วง คือ Recover#1 และ Recover#2 จากจุดที่ลงไปต่ำสุดกี่ %

- หุ้นที่กลับตัวเร็ว เมื่อการชุมนุมเริ่มบรรลุผล หรือจบลง มักเป็นหุ้นใหญ่ของตลาด โดยในอดีต หุ้นกลุ่มหลักๆ จะมีไม่ก่ีกลุ่ม อาทิ ธนาคาร น้ำมัน ปิโตรเคมี และที่อยู่อาศัย

- ตลาดมักจะฟื้นตัวแรงและต่อเนื่องมากที่สุด หลังจากการยุติการชุมนุมไปแล้ว อาจหมายถึงว่าช่วงแรกของการเข้ามาบริหารประเทศของรัฐบาลชุดใหม่เป็นบวกก็ว่าได้

ผู้เขียน : เศรษฐินีศรีราชา 
กราฟิก :  Supassara Traiyansuwan


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ